ชลประทาน ปริมาณน้ำ ภัยแล้ง สถานการณ์แล้ง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

‘เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์’ เข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ง หลังปริมาณน้ำลดต่อเนื่อง

ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่ปัจจุบันอยู่ที่ 354.71 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ ร้อยละ 36.95 จากความจุ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเขื่อนต้องวางแผนในการบริหารจัดการน้ำ ทั้งด้านอุปโภคบริโภค ตลอดจนการบริหารจัดการน้ำในการรักษาระบบนิเวศ ทั้งพื้นที่เหนือเขื่อน และพื้นที่ใต้เขื่อน ไปถึงเดือนเมษายนปีหน้า…

Home / NEWS / ‘เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์’ เข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ง หลังปริมาณน้ำลดต่อเนื่อง

ประเด็นน่าสนใจ

  • เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาณน้ำน้อยที่สุดนับตั้งแต่สร้างเขื่อน
  • อาจส่งผลกระทบหนัก หากไม่มีฝนหลงฤดูเข้ามาช่วย
  • ที่อ่างทอง แจ้งให้เกษตรกรที่เกี่ยวข้าวนาปีรอบแรกให้งดทำนา หลังระดับน้ำในเขื่อนหลายแห่งลดลงต่อเนื่อง

ปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่ปัจจุบันอยู่ที่ 354.71 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ ร้อยละ 36.95 จากความจุ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเขื่อนต้องวางแผนในการบริหารจัดการน้ำ ทั้งด้านอุปโภคบริโภค ตลอดจนการบริหารจัดการน้ำในการรักษาระบบนิเวศ ทั้งพื้นที่เหนือเขื่อน และพื้นที่ใต้เขื่อน ไปถึงเดือนเมษายนปีหน้า

ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ เปิดเผยถึงสาเหตุที่ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนน้อยกว่าทุกปี นับตั้งแต่สร้างเขื่อน เนื่องจากปริมาณฝนตกลงมาน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยตลอดหน้าฝนมีน้ำเก็บกักในปีนี้ได้เพียงแค่ 370 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัญหาน้ำน้อยจะส่งผลกระทบกับเกษตรกรไม่มีน้ำทำนาปรังและนาปี หากไม่มีฝนหลงฤดูลงมาช่วย จะทำให้สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ได้รับผลกระทบหนักกว่าทุกปีที่ผ่านมา

ส่วนที่จังหวัดอ่างทอง สำนักงานชลประทานจังหวัด ขึ้นป้ายประกาศขนาดใหญ่ ขอความร่วมมือเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปีรอบแรกไปแล้วให้งดทำนาต่อเนื่อง มาติดตั้งตามจุดต่างๆ พร้อมป้ายบอกระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีชลมาตร สำนักชลประทานที่ 12 เพื่อเตือนชาวนาในพื้นที่ หลังระดับน้ำในเขื่อนสำคัญหลายแห่ง ซึ่งเป็นน้ำต้นทุนมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง

แต่ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นผล เนื่องจากชาวนาในหลายพื้นที่ยังคงเดินหน้าหว่านข้าวทำนาต่อเนื่อง ขณะที่บางส่วนได้เตรียมรับมือ ด้วยการเก็บกักน้ำไว้หลังฝนตก และเตรียมหาแหล่งน้ำธรรมชาติไว้สำรองแล้วหากเกิดภัยแล้งที่รุนแรง

ซึ่งส่วนใหญ่ก็ให้เหตุผลเดียวกัน คือหากไม่ทำนาไม่รู้จะทำอาชีพอะไร จึงยอมที่จะเสี่ยง ขณะที่ทางจังหวัดอ่างทองได้ประสานทุกหน่วย ให้เตรียมรับมือปัญหาภัยแล้งที่กำลังจะมาถึง