ช้างป่า ช้างป่าเขาใหญ่ พี่ดื้อ

เจ้าหน้าที่ฯ เผย “พี่ดื้อ” ไม่ดุร้าย แค่ชอบรถเก๋งเป็นพิเศษ

จากกรณีที่ “เจ้าดื้อ” ช้างป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ใช้ตัวเบียดข้างรถนักท่องเที่ยว ก่อนจะขึ้นไปยืนคร่อมรถ และทับจนหลังคาด้านหลังยุบ แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ ทางด้านแพทย์หญิงชนัญญา กาญจนสาขา สัตวแพทย์ประจำอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กล่าวถึงพฤติกรรมของพี่ดื้อ ช้างป่าเขาใหญ่ว่าเป็นช้างตัวผู้อายุ 35 ปี เทียบกับช้างวัยกลางคนแล้ว…

Home / NEWS / เจ้าหน้าที่ฯ เผย “พี่ดื้อ” ไม่ดุร้าย แค่ชอบรถเก๋งเป็นพิเศษ

ประเด็นน่าสนใจ

  • จากกรณีที่ช้างป่าชื่อดื้อ ช้างป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ใช้ตัวเบียดข้างรถนักท่องเที่ยว ก่อนจะขึ้นไปยืนคร่อมรถ เรื่องที่เกิดขึ้นชาวสังคมออนไลน์ให้ความสนใจ บ้างก็หวาดกลัว
  • สัตวแพทย์เผย พี่ดื้อ มีนิสัยไม่ก้าวร้าว แค่ชอบเล่นกับรถเก๋ง
  • เตือนนักท่องเที่ยวเจอช้างห้ามดับเครื่องยนต์เด็ดขาด

จากกรณีที่ “เจ้าดื้อ” ช้างป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ใช้ตัวเบียดข้างรถนักท่องเที่ยว ก่อนจะขึ้นไปยืนคร่อมรถ และทับจนหลังคาด้านหลังยุบ แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ

ทางด้านแพทย์หญิงชนัญญา กาญจนสาขา สัตวแพทย์ประจำอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กล่าวถึงพฤติกรรมของพี่ดื้อ ช้างป่าเขาใหญ่ว่าเป็นช้างตัวผู้อายุ 35 ปี เทียบกับช้างวัยกลางคนแล้ว พี่ดื้อ มีนิสัยไม่ก้าวร้าวกับนักท่องเที่ยว

โดยประวัติของพี่ดื้อ เขาชอบเล่นกับรถเก๋งมาตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น แต่ไม่ได้ทำร้าย ซึ่งเหตุการณ์ ล่าสุดก็จะเห็นว่าเขาชอบรถเก๋งเป็นพิเศษ คลอเคลีย

ไม่ได้ก้าวร้าว หางกวัดแกว่งไปมาหรือมีทีท่าจะกระทืบรถ หรือจะเอางาแทง เป็นลักษณะของการเล่นมากกว่า

สัตวแพทย์ชนัญญา ระบุว่า เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงหน้าหนาวสัตว์ป่าหลายชนิดอยู่ในช่วงการหาคู่ รวมทั้งช้างป่า ดังนั้นจึงฝากนักท่องเที่ยวว่าการเดินทางขึ้นเขาใหญ่ ขอให้อ่านแนวปฏิบัติ 10 ข้ออย่างเคร่งครัด เพราะการเข้าพื้นที่อุทยานบ้านของสัตว์ป่าก็มีโอกาสจะเจอช้างได้ตลอดเวลา แล้วแต่จังหวะและโอกาส

ซึ่งช้างบางตัวอาจจะวิ่งเข้าหารถ เพราะรู้สึกถูกรบกวน โดยให้ดูลักษณะช้างอารมณ์ดีจะโบกหู แกว่งหาง แต่มีช้างหลายตัวอาจจะอารมณ์ไม่ดี เช่น ขู่ ด้วยการเอางวงตบพื้น หรือกางหู หูตั้ง หางชี้ เป็นการขู่ว่าอย่าเข้ามาใกล้

สัตวแพทย์ประจำเขาใหญ่ กล่าวอีกว่า สิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องปฏิบัติเมื่ออยู่บนถนนและเจอช้างคือ ห้ามหยุดเพื่อถ่ายรูปอย่างเด็ดขาด ซึ่งเข้าใจว่าบางคนอาจจะไม่เคยเห็นช้างในระยะประชิด แต่ขอให้เก็บแค่ความทรงจำ เพราะถ้าจอดรถอาจจะกลายเป็นความทรงจำที่เลวร้ายสำหรับเจ้าของรถ

นอกจากนี้ ห้ามบีบแตรเด็ดขาด เพราะแตรเลียนเสียงช้าง ให้ติดเครื่องยนต์เสมอ ห้ามดับ ถ้าตกในวงล้อมของโขลงช้างให้พยายามหาช่องขยับจากช้างที่มีจำนวนน้อยที่สุด และรถแต่ละคันให้เว้นระยะแต่ละคันให้ถอยหลังกันได้ จะได้มีพื้นที่ในการถอย ปกติ ถ้าเราขับรถ เจอช้างป่าในอุทยาน พยายามอย่าจอดรถ และระยะห่าง 50-100เมตร แต่ถ้าแค่ 1-5 เมตรไม่ควรเด็ดขาด นอกจากนี้ถ้าตัดสินใจว่าจะผ่านตัวช้างแล้ว ให้ไปทันที เพราะถ้าจอดรถช้างจะขยับรถมาหาทันที

โดยเหตุการณ์ที่พี่ดื้อคร่อมรถครั้งนี้ มีการเรียกให้เจ้าของรถออกมาแล้ว แต่เพราะเขาน่าจะตกใจ พอจังหวะที่หยุดรถนิ่ง ก็เลยถูกพี่ดื้อเข้าไปเล่น

ขอบคุณ – ภาพ จนท. จุดกางเต็นท์