ข่าวพยากรณ์อากาศ พยากรณ์อากาศ พายุโซนร้อน สภาพอากาศวันนี้

พยากรณ์อากาศ – 13 มิ.ย.

ภาคเหนือ-อีสาน ระวังฝนตกหนัก-หนักมากในบางพื้นที่ จากอิทธิพลของร่องมรสุม, พายุไต้โซนร้อน

Home / NEWS / พยากรณ์อากาศ – 13 มิ.ย.

ประเด็นน่าสนใจ

  • ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่
  • โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
  • จากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่พายุโซนร้อน โคะงุมะ บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ร่วมกับมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุม
  • คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

พายุโซนร้อน “โคะงุมะ” บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประเทศเวียดนาม คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ในเช้าวันนี้ (13 มิ.ย. 64) ลักษณะเช่นนี้ส่งผลทำให้ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน ทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

….

พยากรณ์อากาศ
ตั้งแต่เวลา 06.00 วันนี้ – 06.00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี

  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี
นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส

  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1- 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

  • อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนร้อยละ 40 ของพื้นที่

  • อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ผ่านปีใหม่ 2565 มาแล้ว สถานการณ์สภาพอากาศในประเทศไทย ยังคงได้รับอิทธิพลจากมวลอากาศเย็น หรือความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาเป็นระลอก ๆ ทำให้สภาพอากาศยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว บริเวณประเทศไทยตอนบน แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่จะพัดเอาความชื้นจากอ่าวไทย เข้าไปยังบริเวณภาคใต้ ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง, ฝนตกหนักบางแห่งได้

ส่วนในช่วงวันที่ 17 – 19 ม.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นระลอกใหม่อีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส

ดังนั้นการติดตามข่าวการพยากรณ์อากาศ สภาพอากาศวันนี้ จึงเป็นประโยชน์ในการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพดินฟ้าอากาศ