งดใช้ถุงพลาสติด พลาสติก

เตรียมเจรจาห้าง-ร้านค้าทั่วไทยหยุดแจก-ขายถุงพลาสติกเริ่ม 1 ม.ค.ปีหน้า

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงความคืบหน้าแผนการจัดการขยะของประเทศไทย ว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะเดินหน้าให้หยุดจ่ายและจำหน่ายถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และร้านค้าสะดวกซื้อ โดยได้หารือกับกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และภาคเอกชนรายใหญ่ของประเทศไทยกว่า 43 บริษัท ทั้งห้างสรรพสินค้าและร้านค้าสะดวกซื้อรายใหญ่ เพื่อขอความร่วมมือหยุดจ่ายและจำหน่ายถุงพลาสติกในประเทศ คาดว่า…

Home / NEWS / เตรียมเจรจาห้าง-ร้านค้าทั่วไทยหยุดแจก-ขายถุงพลาสติกเริ่ม 1 ม.ค.ปีหน้า

ประเด็นน่าสนใจ

  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมเจรจาห้างสรรพสินค้าและร้านค้าสะดวกซื้อขนาดใหญ่กว่า 40 บริษัท หยุดจ่ายและจำหน่ายถุงพลาสติกในประเทศ
  • วางขอบเขตเริ่มเดินหน้าในวันที่ 1 มกราคม 2563
  • ในปี 2561 พบผลิตพลาสติกบรรจุภัณฑ์ ประมาณ 2 ล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นผลิตถุงพลาสติกทุกชนิด

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงความคืบหน้าแผนการจัดการขยะของประเทศไทย ว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะเดินหน้าให้หยุดจ่ายและจำหน่ายถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และร้านค้าสะดวกซื้อ

โดยได้หารือกับกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และภาคเอกชนรายใหญ่ของประเทศไทยกว่า 43 บริษัท ทั้งห้างสรรพสินค้าและร้านค้าสะดวกซื้อรายใหญ่ เพื่อขอความร่วมมือหยุดจ่ายและจำหน่ายถุงพลาสติกในประเทศ คาดว่า จะเริ่มได้ทันทีในวันที่ 1 มกราคม 2563 แต่ยกเว้นถุงใส่ของร้อนที่ยังผ่อนผันให้อยู่ คาดว่า จะสามารถลดปริมาณขยะพลาสติกในประเทศลงได้จำนวนมาก

พร้อมทั้ง ตั้งเป้าให้ประเทศไทยปลอดถุงพลาสติกทั้งหมดภายในปี 2564 เนื่องจากปัจจุบันนี้ภาคอุตสาหกรรมหันมาทำเศรษฐกิจหมุนเวียนในภาคบรรจุภัณฑ์มากขึ้น เริ่มตั้งแต่การออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งส่งเสริมให้รีไซเคิลอย่างครบวงจร ใช้สินค้าจากการรีไซเคิล ให้คัดแยกและรวบรวมวัสดุรีไซเคิล

จากการสำรวจของสถาบันพลาสติกพบภาคอุตสาหกรรมไทยผลิตเม็ดพลาสติก 5.5 ล้านตันต่อปี เพื่อนำไปผลิตพลาสติกบรรจุภัณฑ์ (packaging) โดยปี 2561 พบผลิตพลาสติกบรรจุภัณฑ์ (packaging) ประมาณ 2 ล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นผลิตถุงพลาสติกทุกชนิดประมาณ 1.1 ล้านตันต่อปี แล้วนำมารีไซเคิลได้เพียงร้อยละ 5 เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังแยกขยะไม่ถูกวิธี โดยเฉพาะถุงพลาสติก