ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เรียนออนไลน์

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ รายงานผลสำรวจปัญหาการเรียนออนไลน์

ให้เกิดความไม่พร้อมด้านอุปกรณ์ อีกทั้งค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ปกครองรายได้น้อย

Home / NEWS / ศูนย์วิจัยกสิกรฯ รายงานผลสำรวจปัญหาการเรียนออนไลน์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยถึง ปัญหาการเรียนออนไลน์ การระบาดของโรคโควิดทำให้เกิดความไม่พร้อมด้านอุปกรณ์ อีกทั้งค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ปกครองรายได้น้อย

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้เเจงถึงประเด็นการเรียนออนไลน์ ว่า เนื่องจากพบว่านักเรียนส่วนใหญ่เรียนออนไลน์ตามสัดส่วนต่าง ๆ อาทิเช่น เรียนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน คิดเป็น 50.9% เรียนผ่านแท็บเล็ต คิดเป็น 34.2% และเรียนผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อีกประมาณ 32.6% ของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งจากการสรุปผลในทางทฤษฎีชี้ให้เห็นว่าการเรียนออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนหรือเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เป็นระยะเวลานานก็อาจจะส่งผลต่อสุขภาพของนักเรียน

ปรากฏว่าข้อมูลของ Hootsuite ระบุว่า ประชากรไทยส่วนใหญ่ครอบครองโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 98.9% และแท็บเล็ตคิดเป็น 48.5% และ 34.7% ของกลุ่มประชากรที่มีช่วงอายุ 16-64 ปี ตามลำดับ นอกจากนี้ จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผู้ปกครองยังเผชิญปัญหาเรื่อง ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์การเรียน หรืออินเทอร์เน็ต เเละมีข้อจำกัดเรื่องความรู้ทางเทคโนโลยี ส่งผลให้บางทีเมื่อเกิดปัญหาระหว่างการเรียนออนไลน์ต้องใช้เวลาในการแก้ไขเป็นอย่างมาก เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ยังใช้ระบบเเบบเติมเงิน ขณะที่การใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงมีเพียง 9-10 ล้านคน

ผลกระทบจากการเรียนออนไลน์

  • ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อย เผชิญความไม่พร้อมต่อการเรียนออนไลน์ ทั้งอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอินเทอร์เน็ตที่มีราคาสูง
  • ผู้ปกครองไม่มีเวลาในการดูแลบุตรหลานระหว่างการเรียนออนไลน์
  • รูปแบบการสอนที่ไม่ดึงดูด ไม่มีเเรงจูงใจ ทำให้นักเรียนมีขาดสมาธิส่งผลให้เกิดปัญหาไม่เข้าใจบทเรียน
  • ความไม่เสถียรของระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้การเรียนไม่ต่อเนื่อง
  • ปัญหาสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมกับการเรียนออนไลน์

มุมมองของผู้ปกครองด้านการเรียนออนไลน์

จากผลสำรวจ พบว่า
  • 56.4% ยังมีความกังวลต่อรูปแบบการเรียนออนไลน์โดยเฉพาะ “คุณภาพการศึกษา”
  • 48.2% มองว่า การเรียนออนไลน์ระยะยาวจะส่งผลในเรื่องของสุขภาพและคุณภาพชีวิตของบุตรหลาน
  • 37.8% มองว่า มีเรื่องข้อจำกัดและความไม่ปลอดภัยของเทคโนโลยี

ดังนั้น ผู้ปกครองจึงเล็งเห็นว่าเมื่อสถานการณ์โควิดดีขึ้นและนักเรียนสามารถกลับไปเรียนได้ ทางโรงเรียนอาจจะมีการจัดเรียนเพิ่มเติมในวันหยุดเเต่ละสัปดาห์ หรือเพิ่มเวลาเรียนในวันธรรมดาและปรับลดเวลากิจกรรมบางประเภทลง เพื่อไม่ให้กระทบการเรียนของนักเรียน

เเนวทางการพัฒนา

  • สำหรับนักเรียนที่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ สามารถใช้คลิปวิดีโอประกอบการสอน อีกทั้งเปิดช่องทางสื่อสารระหว่างครูและนักเรียนแบบเรียลไทม์ (Real Time) รวมถึงการจัดทำคลิปบันทึกการสอนเพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าไปดูและทบทวนความรู้ได้ตลอดเวลา
  • สำหรับนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ เบื้องต้นทางการอาจจะแจกบทเรียนพร้อมสรุปและแบบฝึกหัด เพื่อให้นักเรียนสามารถทำความเข้าใจก่อนเปิดภาคเรียนใหม่

ด้วยเหตุนี้ อาจจะมีการพัฒนาคอนเทนต์การศึกษาตามหลักสูตรของแต่ละระดับชั้นในช่องทางออนไลน์ เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าไปเรียนรู้เพิ่มเติมและทบทวนความรู้ได้ตลอดเวลา และเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผู้ปกครองบางกลุ่มที่เผชิญกับปัญหาด้านการเงิน โดยเฉพาะ การพัฒนาการศึกษาในระบบให้มีคุณภาพและพยายามลดข้อจำกัด เพื่อเติมเต็มช่องว่างในทุก ๆ ด้าน เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันดำเนินการ