ประเด็นน่าสนใจ
- นักวิจัยค้นพบและคืนชีพ แพลงก์ตอนสัตว์ เดลลอยด์โรติเฟอร์ อายุกว่า 24,000 ปี
- โดยพบถูกแช่แข็งอยู่ในชั้นดินเยือกแข็งในแถบไซบีเรีย
- ยังคงต้องศึกษาค้นคว้าต่อไปว่า เดลลอยด์โรติเฟอร์นี้ สามารถคงสภาพเซลล์ในการถูกแช่แข็งนานนับพันปีนี้ได้อย่างไร
นักวิจัยได้ค้นพบเดลลอยด์โรติเฟอร์ ซึ่งเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก ในชั้นดินเยือกแข็งในแถบไซบีเรีย ได้ฟื้นกลับมามีชีวิตอีกครั้ง หลังถูกแช่แข็งมานานกว่า 24,000 ปี ท่ามกลางสภาพอากาศที่เลวร้ายในไซบีเรีย
โดยรายงานในครั้งนี้ระบุว่า ตัวอย่างเดลลอยด์โรติเฟอร์ แพลงก์ตอนสัตว์นี้ ถูกค้นพบในช่วงตอนกลางของแม่น้ำ Alazeya ทางตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย ที่ระดับความลึก 3.5 ม. จากผิวดิน
นักวิทยาศาสตร์ได้เก็บตัวอย่าง และนำมาสกัดสารปนเปื้อนต่าง ๆ ก่อนนำไปตรวจสอบค้นหาสิ่งมีชีวิตด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งได้มีการนำตัวอย่างดังกล่าวไปเข้าสู่กระบวนการแช่แข็งและฟื้นคืนชีพ โดยที่ผ่านมาได้มีรายงานการทำการคืนชีพให้กับ โรติเฟอร์ อายุ 10 ปีที่ถูกแช่แข็งมาก่อน จึงได้มีการนำวิธีนั้นมาใช้ในการคืนชีพ โรติเฟอร์อายุกว่า 24,000 ปีนี้
ในการวิเคราะห์ตัวอย่างหาอายุจากคาร์บอน หรือ Radiocarbon dating พบว่า ตัวอย่างที่เก็บได้นั้น มีอายุอยู่ในช่วง 23,960–24,485 ปีก่อน ทำให้พบว่า โรติเฟอร์เหล่านี้ สามารถทนต่อการถูกแช่แข็งอยู่ได้หลายพันปี และกลับมามีชีวิตได้อีกครั้ง และยังไม่ชัดเจนว่า ปัจจัยใด ทำให้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กนี้ สามารถอยู่รอดในสภาพถูกแช่แข็งและสามารถคืนชีพกลับมาได้อีกครั้ง
ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า เป็นเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์ การศึกษาค้นคว้ามเพิ่มจะเป็นแนวทางทำให้เข้าใจกระบวนการหรือกลไกทางชีวภาพได้มากขึ้น สำหรับเบาะแสในการคงสภาพเซลล์ เนื้อเยื่อต่าง ๆ ไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ในสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนมากขึ้น อย่างเช่นสัตว์เลี้ยงลุกด้วยนม ยังคงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำแบบเดียวกันนี้ได้ในปัจจุบัน และยังไม่สามารถระบุว่า จะต้องใช้ระยเวลาอีกกี่ปีในการหาคำตอบดังกล่าวเพื่อนำมาใช้กับสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนกว่า โรติเฟอร์เหล่านี้
ที่มา :