ฝ้าเพดานถล่ม โรงเรียนโยธินบูรณะ

ผอ.โยธินบูรณะ​ แจงแท็งก์น้ำขัดข้อง​ ทำให้ฝ้าเพดานถล่ม

คณะกรรมการการศึกษา มัธยมศึกษาเขต 1 พร้อมด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน คณะผู้บริหาร และ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ชี้แจงกรณีที่เกิดขึ้น​ จากกรณีที่มีการเผยแพร่คลิปเหตุการณ์นักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะต้องอพยพลงมาอยู่ที่สนาม เนื่องจากน้ำจากแท็งก์รั่วบนชั้น 13 ทำให้น้ำไหลตามทางลงมายังฝ้าเพดานของชั้น 12 จนทำให้ฝ้าต้องรับมวลน้ำจำนวนมาก จนเกิดการหลุดลงมา…

Home / NEWS / ผอ.โยธินบูรณะ​ แจงแท็งก์น้ำขัดข้อง​ ทำให้ฝ้าเพดานถล่ม

ประเด็นน่าสนใจ

  • มีการแชร์ภาพฝ้าเพดานถล่มลงมา ภายในอาคารเรียนของโรงเรียนโยธินบูรณะ จนเกิดแฮชแท็ก #โยธินมรณะ
  • ทางโรงเรียนชี้แจง น้ำจากแท็งก์รั่วบนชั้น 13 ทำให้น้ำไหลตามทางลงมายังฝ้าเพดานของชั้น 12 จึงเป็นเหตุทำให้ฝ้าเพดานถล่ม

คณะกรรมการการศึกษา มัธยมศึกษาเขต 1 พร้อมด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน คณะผู้บริหาร และ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ชี้แจงกรณีที่เกิดขึ้น​ จากกรณีที่มีการเผยแพร่คลิปเหตุการณ์นักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะต้องอพยพลงมาอยู่ที่สนาม เนื่องจากน้ำจากแท็งก์รั่วบนชั้น 13 ทำให้น้ำไหลตามทางลงมายังฝ้าเพดานของชั้น 12 จนทำให้ฝ้าต้องรับมวลน้ำจำนวนมาก จนเกิดการหลุดลงมา นอกจากนี้ น้ำยังได้ไหลเข้าใน Smoke Detector ซึ่งเป็นระบบตรวจจับควันไฟ ส่งผลให้เกิดการช็อตจนระบบเตือนภัยดังขึ้น

โดยทาง นายอดิศักดิ์ วิไลลักษณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนโยธินบูรณะ เปิดเผยว่า เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดจากการที่ระบบแทงก์น้ำ 12 ตัว ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น 13 ของอาคาร ขัดข้องทำให้น้ำล้น ประกอบกับปริมาณน้ำมีจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถระบายได้ทัน จนเกิดรั่วซึมไปที่ฝ้าเพดานของชั้น 12 จนฝ้ารับน้ำไม่ไหวและร่วงลงมาดังภาพที่ปรากฎในโซเชียล

แต่ยืนยันว่าเหตุการณ์ไม่ได้รุนแรงอย่างที่มีการนำเสนอข่าวออกไปว่าอาคารจะพังถล่ม ซึ่งขณะนี้กำลังเร่งซ่อมแซมให้เสร็จภายในวันจันทร์นี้ และขอให้ผู้ปกครอง รวมถึงนักเรียนมั่นใจในระบบความปลอดภัยของโรงเรียน

ที่ปรึกษาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ยืนยันไม่กระทบต่อโครงสร้างอาคาร

ขณะที่ รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ ที่ปรึกษาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้เข้ามาตรวจสอบโครงสร้างอาคาร ยืนยันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอาคาร มีเพียงฝ้าที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งหลังจากนี้จะมีการจัดงบประมาณ เข้ามาแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้น และ ระยะยาว ต่อไป ยืนยันว่า โรงเรียนมีการตรวจสอบโครงสร้างอาคาร และระบบต่าง ๆ เช่น ลิฟต์, บันไดเลื่อน และ ระบบไฟ ฯลฯ ทุก ๆ 3  – 5 ปี อยู่แล้ว

ส่วนที่มีการแชร์ข้อมูลว่า ฝ้าเพดานของอาคารเรียนมีสภาพบวม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 ยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากปัญหาระบบน้ำ แต่เกิดจากระบบท่อน้ำทิ้ง

อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวระบุว่า อาคารที่เกิดเหตุ เป็นอาคารเรียนที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากมีความสูงถึง 13 ชั้น โดยการก่อสร้างจะมีการรับประกันในส่วนของฐานราก เป็นระยะเวลา 5 ปี ส่วนตัวอาคาร ระยะประกัน 2 ปี ซึ่งปัจจุบันหมดช่วงระยะประกันแล้ว