กทม.ฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน ค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน

ศธ. ให้โรงเรียนพิจารณาทำกิจกรรมกลางแจ้ง หลังเผชิญภาวะฝุ่นละอองเป็นพิษ

กระทรวงศึกษาธิการ ให้โรงเรียนพิจารณาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ตามความเหมาะสม ของแต่ละพื้นที่ หลังกรุงเทพฯและปริมาณฑล เผชิญกับภาวะฝุ่นละอองเป็นพิษ นายชลำ อรรถธรรม เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หรือ กช. และโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ หรือ ศธ. กล่าวว่า…

Home / NEWS / ศธ. ให้โรงเรียนพิจารณาทำกิจกรรมกลางแจ้ง หลังเผชิญภาวะฝุ่นละอองเป็นพิษ

กระทรวงศึกษาธิการ ให้โรงเรียนพิจารณาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ตามความเหมาะสม ของแต่ละพื้นที่ หลังกรุงเทพฯและปริมาณฑล เผชิญกับภาวะฝุ่นละอองเป็นพิษ

นายชลำ อรรถธรรม เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หรือ กช. และโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ หรือ ศธ. กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น และอยู่ระหว่างดูรายละเอียด ศึกษาผลกระทบปัญหาฝุ่นละออง ว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพนักเรียนอย่างไร พร้อมหามาตรการป้องกัน เพื่อไม่ให้นักเรียนได้รับผลกระทบ

ในส่วนของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กำลังหามาตรการป้องกันให้กับนักเรียนในสังกัดเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนอายุน้อย ที่อยู่ในระดับชั้นเตรียมอนุบาล ระดับชั้นอนุบาล ซึ่งหากโรงเรียนใด อยู่ในจุดเสี่ยง ก็ให้ปรับกิจกรรมตอนเช้าตามความเหมาะสม แต่ยืนยันว่ายังไม่ได้มีมาตรการสั่งโรงเรียนงดกิจกรรมหน้าเสาธงในตอนเช้า

ด้าน นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. กำชับให้ผู้บริหารและสถานศึกษาในสังกัด ป้องกันสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อดูแลนักเรียนอย่างทั่วถึง โดยให้พิจารณาว่าหากกิจกรรมใดที่ทำให้เด็กได้รับฝุ่น หรือโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองมาก ก็ขอให้เลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง

ด้านนายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 หากผู้ประกันตนเกิดเจ็บป่วยสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลตามสิทธิ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และหากเจ็บป่วยฉุกเฉินไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิได้ สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดก่อน หลังจากนั้นญาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องรีบแจ้งให้โรงพยาบาลตามสิทธิทราบโดยด่วน เพื่อรับตัวไปรักษาต่อและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล โดยจะนับตั้งแต่เวลาที่โรงพยาบาลได้รับแจ้งไปจนกว่าจะสิ้นสุดการรักษา

ส่วนค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนการแจ้งให้โรงพยาบาลตามสิทธิทราบ สปส.จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใน 3 วันแรก หรือ 72 ชั่วโมง ตามหลักเกณฑ์ และอัตราที่กำหนด ผู้ประกันตนที่สำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อนสามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมได้ โดยนำหลักฐานมายื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน คือ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01),ใบรับรองแพทย์,ใบเสร็จรับเงิน และสำเนาสมุดบัญชี เงินฝากธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อผู้ประกันตน – เลขที่บัญชี