กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขายเด็ก ขายเด็กออนไลน์ อุปการะเด็ก

พม.ชี้โพสต์ซื้อ-ขายเด็กออนไลน์ ผิดพ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก

นางสุภัชชา สุทธิพล รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระบุว่า การโพสต์ภาพเด็กทารก และประกาศรับซื้อขายเด็กทารกจากแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 26 (4) ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน…

Home / NEWS / พม.ชี้โพสต์ซื้อ-ขายเด็กออนไลน์ ผิดพ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก

ประเด็นน่าสนใจ

  • โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ออกมายืนยัน ว่าคนโพสต์ข้อความซื้อขายทารกในโซเชียล มีความผิดตามกฏหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กแน่นอน
  • แต่ยังหมิ่นเหม่ว่าจะเข้าข่ายค้ามนุษย์หรือไม่
  • พ่อแม่ที่มีบุตรโดยไม่พร้อม สามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือ จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสามารถแจ้งขอความช่วยเหลือ ได้ที่ สายด่วน 1300

นางสุภัชชา สุทธิพล รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระบุว่า การโพสต์ภาพเด็กทารก และประกาศรับซื้อขายเด็กทารกจากแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 26 (4) ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกินสามหมื่นหรือทั้งจำทั้งปรับ

ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง และติดตามเจ้าของโพสต์ หากพบว่าการซื้อขายเกิดขึ้นจริง ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์

ทางศูนย์ช่วยเหลือสังคม ได้พยายามติดต่อหนึ่งในผู้อุปการะเด็ก ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่ามีดาบตำรวจนายหนึ่งรับเด็กไป แต่ยังอยู่ระหว่างหาข้อมูลเพิ่มเติมว่ารับเด็กไปเพื่ออุปการะหรือกระทำการอื่นใด และอยู่ระหว่างตรวจสอบแฟนเพจและกลุ่มอื่นๆ ที่มีพฤติการณ์คล้ายกัน

แต่หากตรวจสอบพบว่าเข้าข่ายการค้ามนุษย์ ในเด็กอายุไม่เกิน15ปี จำคุก8-15ปี ปรับ 160,000-300,000บาท แต่หากเด็กอายุเกิน15ปี – 18ปี โทษจำคุก6-12ปี ปรับตั้งแต่120,000-140,000บาท

ส่วนกรณี พ่อแม่ที่มีบุตรโดยไม่พร้อม สามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือ จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสามารถแจ้งขอความช่วยเหลือ ได้ที่ สายด่วน 1300 สำหรับบุคคลที่ต้องการรับอุปการะบุตรบุญธรรม สามารถติดต่อขอรับเลี้ยงดูบุตรได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายที่บ้านพักเด็ก หรือ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แต่ละจังหวัด โดยผู้ที่มีคุณสมบัติรับอุปการะบุตรได้ ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี บริบูรณ์ และอายุห่างจากเด็ก 15 ปีขึ้นไป