SinoVac วัคซีนโควิด-19 องค์การอนามัยโลก

WHO รับรองวัคซีน Sinovac อนุญาตใช้งานแบบฉุกเฉินแล้ว

ระบุประสิทธิภาพในการป้องกันโรคตามอาการได้ 51% และป้องกันอาการรุนแรงได้ 100%

Home / NEWS / WHO รับรองวัคซีน Sinovac อนุญาตใช้งานแบบฉุกเฉินแล้ว

ประเด็นน่าสนใจ

  • องค์การอนามัยโลก รับรองวัคซีน Sinovac ในการใช้งานแบบฉุกเฉินแล้ว
  • โดยรายงานประสิทธิภาพของวัคซีนว่า มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ 51% และป้องกันอาการรุนแรงได้ 100%
  • นับเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตัวที่ 2 จากจีนที่ได้รับการรับรอง

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้รับรองวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ Sinovac ให้สามารถใช้งานได้แบบฉุกเฉินแล้ว โดยระบุว่า วัคซีน CoronaVac ของ Sinovac นั้นมีประสิทธิภาพและการผลิตเป็นไปตามมาตรฐาน และความปลอดภัยในการใช้งาน

ซึ่งในการอนุมัติฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก เป็นข้อกำหนดเบื้องต้นในการจัดหาวัคซีนเข้าสู่โครงการ COVAX Facility และการจัดซื้อจัดหาวัคซีนระหว่างประเทศ โดยวัคซีนของ Sinovac นั้นเป็นวัคซีนที่สามารถจัดเก็บได้ง่าย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค 51% และป้องกันอาการรุนแรงได้ 100%

สามารถใช้ได้กับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยการฉีดจำนวน 2 เข็มห่างกัน 2-4 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม สำหรับวัคซีนของ Sinovac นี้ ยังมีผลการศึกษาในกลุ่มของผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่มากนัก จึงไม่แนะนำให้มีการใช้วัคซีนกับกลุ่มผู้ที่มีอายุสูงเกินกว่า 60 ปี จนกว่าจะมีผลการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลข้างเคียงและประสิทธิภาพในกลุ่มนี้

รายงานประสิทธิภาพในการทดลองทางคลินิกระยะ 3

  • ในบราซิล มีประสิทธิภาพการป้องกันโรคได้ มีประสิทธิภาพ 51% ป้องกันอาการรุนแรงได้ 100% และไม่มีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน
  • การทดลองระยะที่ 3 ในอินโดนีเซีย พบว่ามีประสิทธิภาพ 65.3% ในการป้องกันโรค
  • ตุรกี พบว่ามีประสิทธิภาพ 83.5%
  • ชิลี รายงานประสิทธิภาพอยู่ที่ 67% ในการป้องกัน , ป้องกันอาการรุนแรงได้ 85% และป้องกันการเสียชีวิตได้ 80%

ส่วนการทดลองทางคลินิกในบราซิล ในพื้นที่ที่มีรายงานการระบาดของเชื้อสายพันธุ์ Gamma ( P.1 หรือชื่อเดิม – สายพันธุ์บราซิล) โดยพบว่า ผลการทดลองในเมือง Manaus ประสิทธิภาพ 49.6% ในขณะที่ในเมือง Sao Paulo อยู่ที่ 50.7%

WHO รับรอง วัคซีนซิโนแวคแล้ว

วัคซีน

สำหรับวัคซีนที่องค์การอนามัยโลกได้รับการรับรองให้มีการใช้งานแบบฉุกเฉินได้แล้ว ประกอบไปด้วย

  • Pfizer/BioNTech
  • Astrazeneca (จากของทั้ง AstraZeneca-SKBio, Serum Institute of India, Astra Zeneca EU)
  • Janssen ของ Johnson & Jonhson
  • Moderna
  • Sinopharm
  • Sinovac


ที่มา องค์การอนามัยโลก