รถ 1669 รถพยาบาล

ไขข้อสงสัย!! กับกรณีการส่งต่อผู้ป่วย จากสนามบินไปโรงพยาบาล

จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก วันดี สันติวุฒิเมธี โพสต์ข้อความเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยจากสนามบินดอนเมืองไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยคุณพ่อของผู้โพสต์ได้เดินทางกลับจาก จ.อุดรธานี มายังสนามบินดอนเมืองเวลา 21.15 น. ด้วยอาการปวดท้องอย่างหนักจนหายใจสั้นมาก โดยก่อนขึ้นเครื่องจากอุดรฯ คุณพ่อโทรมาให้ลูกๆ…

Home / NEWS / ไขข้อสงสัย!! กับกรณีการส่งต่อผู้ป่วย จากสนามบินไปโรงพยาบาล

ประเด็นน่าสนใจ

  • มีผู้ใช้เฟซบุ๊กแชร์เรื่องราว คุณพ่อป่วยหนักระหว่างเดินทางมาถึงสนามบิน ทางครองครัวจึงเรียกรถ 1669 แต่ทางเจ้าหน้าที่แจ้งว่าไม่สามารถขับเข้าไปรับในสนามบินได้
  • หลังเข้ารับการรักษา ทางครอบครัวได้โทรสอบถามถึงการใช้สิทธิฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง ของ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน
  • ปรากฏว่าไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ เนื่องจากไม่ได้เรียกรถ 1669 มายังโรงพยาบาลโดยตรง

จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก วันดี สันติวุฒิเมธี โพสต์ข้อความเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยจากสนามบินดอนเมืองไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยคุณพ่อของผู้โพสต์ได้เดินทางกลับจาก จ.อุดรธานี มายังสนามบินดอนเมืองเวลา 21.15 น. ด้วยอาการปวดท้องอย่างหนักจนหายใจสั้นมาก

โดยก่อนขึ้นเครื่องจากอุดรฯ คุณพ่อโทรมาให้ลูกๆ มารอรับเพื่อพาไปหาหมอ แต่เมื่อถึงสนามบินทางสายการบินกลับใช้รถเข็นพาพ่อไปที่คลินิคของโรงพยาบาลเอกชนที่สนามบินดอนเมือง ซึ่งในเวลานั้นคุณพ่อเริ่มมีอาการปวดท้องมากจนทางคลินิคต้องให้น้ำเกลือ

ต่อมาทางครอบครัวได้โทรเรียก 1669 เพื่อให้มารับคุณพ่อที่สนามบิน แต่ทาง 1669 ได้แจ้งว่าไม่สามารถเข้าไปรับที่สนามบินได้ เนื่องจากเป็นเขตต้องห้ามม่ให้รถพยาบาลอื่นเข้าไป จึงแจ้งว่าให้นำผู้ป่วยออกมานอกเขตสนามบินเพื่อที่จะรับไปส่งที่โรงพยาบาล

ทางครอบครัวประเมินแล้วไม่กล้าพาคุณพ่อขึ้นรถส่วนตัว

ทางครอบครัวจึงไม่กล้าเสี่ยงที่จะพาคุณพ่อขึ้นรถยนต์ส่วนตัว เพื่อพาออกนอกเขตสนามบินและส่งตัวขึ้นรถกับทาง 1669 จึงตัดสินใจใช้บริการรถพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนให้ไปส่งโรงพยาบาลอื่นแทน แต่รถพยาบาลที่เรียกสามารถส่งโรงพยาบาลในรัศมีแค่ 8 กม. เท่านั้น สุดท้ายจึงติดต่อไปยังโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โดยมีรถฉุกเฉินของโรงพยาบาลมารับ ช่วงประมาณตี 5 ของวันที่ 7 ส.ค.62

โดยแพทย์ได้ประเมินว่าคุณพ่อต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เพราะลำไส้เสี่ยงต่อการปริแตก และอาจเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จนได้เข้าห้องผ่าตัดช่วงเวลาประมาณ 10.30 น. วันที่ 7 ส.ค.62 ต่อมาคุณพ่อต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกครั้งที่ 2 อีกสัปดาห์ถัดมาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยพักรักษาตัวถึง 1 เดือน และออกจากโรงพยาบาลมาเมื่อวันที่ 7 ก.ย. ที่ผ่าน

ต่อมาทางครอบครัวได้ติดต่อไปยังสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน หรือ UCEP เพื่อสอบถามถึงการใช้สิทธิฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง ทาง Call Center แจ้งว่า อาการของคุณพ่อเข้าข่ายผู้ป่วยฉุกเฉินจริง แต่ไม่สามารถใช้สิทธินี้ได้ เพราะคุณพ่อไม่ได้มาถึงโรงพยาบาลวิชัยยุทธด้วยรถ 1669 หรือ รถยนต์ส่วนตัวของครอบครัว แต่เถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่น ไม่ใช่เคสที่ป่วยแล้วมาโรงพยาบาลเลย

ทาง UCEP จึงให้ทำจดหมายร้องเรียนขอความเป็นธรรม เพราะทาง UCEP ไม่สามารถให้เราใช้สิทธินี้ได้ ยกเว้นจะขับรถพาคุณพ่อไปส่งโรงพยาบาลด้วยตนเองหรือเรียกรถ 1669

คำชี้แจงจากทาง ‘ท่าอากาศยานดอนเมือง’

ทาง ท่าอากาศยานดอนเมือง ได้ชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าวว่า กรณีข้อสงสัยเกี่ยวกับรถพยาบาล 1669 หรือรถพยาบาลของโรงพยาบาลภายนอกที่ต้องการเข้ามารับผู้ป่วยภายในท่าอากาศยานและภายในเขตพื้นที่เขตการบิน สามารถกระทำได้มิได้มีข้อห้ามแต่อย่างใด

แต่ทั้งนี้ ตามมาตรการรักษาความปลอดภัยพื้นที่ในเขตการบิน (airside) นั้น เป็นพื้นที่ควบคุม ต้องผ่านกระบวนการตรวจค้นและจำเป็นต้องมีรถนำของสนามบินนำเข้าไปยังพื้นที่เกิดเหตุ ตามระเบียบของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในกระบวนการดังกล่าวพอสมควร ในการที่จะเข้าไปถึงพื้นที่เกิดเหตุ

เหตุการณ์วันนั้น ทางคลินิกได้ประสานโรงพยาบาลตามที่ผู้ป่วยและญาติร้องขอ ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้รับการปฏิเสธในการมารับผู้ป่วย จึงได้ประสานและนำส่งโรงพยาบาลภูมิพลทันที) รวมทั้งในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงวันนั้น ทีมแพทย์สนามบินได้ไปรอรับผู้ป่วยทันทีที่ได้รับการประสานจากสายการบินและถึงจุดจอดก่อนเครื่องบินลงจอด และดำเนินการส่งต่อตามมาตรการและขั้นตอนดังกล่าว

ท่าอากาศยานดอนเมืองจะประสาน 1669 เพื่อปรับกระบวนการในการส่งต่อผู้ป่วยภายใต้มาตรฐานการบริการการแพทย์ฉุกเฉินและมาตรฐานความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัยด้านการบินพลเรือนให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

ถ้าหากเกิดป่วยฉุกเฉินในสนามบินต้องทำไง?

เขตพื้นที่ airside มีทีมแพทย์ของสนามบิน ซึ่งเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วและสามารถเข้าให้การดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉิน ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการแทนและส่งตัวผู้ป่วยให้กับรถพยาบาลของ 1669 ในพื้นที่นอกเขตการบินต่อไป

เนื่องด้วยฝ่ายการแพทย์และโรงพยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่แทนฝ่ายการแพทย์นอกเวลา มีภาระกิจในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นในสนามบินดอนเมือง ทั้งในพื้นที่เขตลานจอด บริเวณพื้นที่อาคารผู้โดยสาร และพื้นที่อื่นในเขตสนามบิน

โดยทีมแพทย์จะทำการประเมิน ให้การช่วยเหลือและนำส่งโรงพยาบาลที่มีศักยภาพระดับตติยภูมิที่ใกล้ที่สุด คือโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช หรือโรงพยาบาลใกล้เคียงหากได้รับการร้องขอจากผู้ป่วยหรือญาติ

ข้อมูลจาก : วันดี สันติวุฒิเมธี , AOT Official