ประเด็นน่าสนใจ
- รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อย
- สาเหตุอาจเกิดจากการใช้งานข้อมือที่มากเกินไป เช่น ซักผ้า บิดผ้า อุบัติเหตุ หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร รวมถึงผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- สำหรับการรักษา มี 2 วิธี คือ การรักษาโดยไม่ผ่าตัด และการผ่าตัด
นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อยเกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบวมที่ข้อมือบริเวณโคนนิ้วโป้งและจะปวดมากขึ้นถ้ามีการใช้หรือขยับข้อมือและนิ้วโป้ง
นอกจากนี้จะขยับนิ้วโป้งหรือข้อมือลำบากโดยเฉพาะเวลากำมือหรือหยิบสิ่งของ สาเหตุอาจเกิดจากการใช้งานข้อมือที่มากเกินไป เช่น ซักผ้า บิดผ้า อุบัติเหตุ หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร รวมถึงผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น ซึ่งการตรวจแพทย์จะวินิจฉัยจากตำแหน่งที่ปวดและตรวจโดยการบิดข้อมือของผู้ป่วยไปทางฝั่งนิ้วก้อย ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการปวดข้อมือฝั่งนิ้วโป้งมากขึ้น
ภาวะนี้พบได้บ่อยในผู้ป่วยอายุประมาณ 30-50 ปี โดยผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย ประมาณ 8-10 เท่า สำหรับการรักษา มี 2 วิธี คือ การรักษาโดยไม่ผ่าตัด และการผ่าตัด โดยวิธีการไม่ผ่าตัดแพทย์จะให้หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมือในท่าซ้ำๆ ใส่อุปกรณ์ดามข้อมือและนิ้วโป้งเพื่อลดการเคลื่อนไหว พร้อมให้รับประทานยาแก้อักเสบ
AJ เครื่องอบผ้า รุ่น CD-001
เครื่องอบผ้า แบรนด์ AJ ช่วยให้เสื้อผ้าแห้งเร็วทันใจ หมดปัญหาผ้าเปียกชื้น มีกลิ่นอับ ตากผ้าได้ทุกที่ทุกเวลา แม้วันไร้แดด
ราคา 3,780 บาท
หากผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีดังกล่าวอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาฉีดยาสเตียรอยด์เข้าในปลอกหุ้มเส้นเอ็นเพื่อลดการอักเสบ ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น การฝ่อของไขมันใต้ผิวหนังบริเวณที่ฉีดยา หรือสีผิวหนังเปลี่ยนไป ส่วนวิธีการผ่าตัดแพทย์จะพิจารณาในกรณีที่ผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ดีขึ้น หรือผู้ป่วยที่มีกระดูกข้อมือผิดรูป ซึ่งจะเปิดปลอกหุ้มเอ็นออก เพื่อลดการเบียดรัดเส้นเอ็นภายในปลอกหุ้มเอ็น หลังการผ่าตัดผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ แต่ต้องระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ และควรมาตรวจตามแพทย์นัด เพื่อติดตามอาการและตัดไหม