ภาวะโลกร้อน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกรต้า ธันเบิร์ก

‘ยิ่งลักษณ์’ หนุนแนวคิด ‘เกรตา ธันเบิร์ก’ ถามรัฐบาลคำนึงถึงปัญหาหรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจแฟนบุ๊ก Yingluck Shinawatra กล่าวถึงกรณีหญิงสาวชาวสวีเดน ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลสวีเดนลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ พร้อมทั้งตั้งคำถามถึงรัฐบาลมีมาตรการจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างไร โดยมีข้อความระบุว่า “ดิฉันได้มีโอกาสติดตามข่าวของ น้องเกรตา ธันเบิร์ก ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้กับเกรตา…

Home / NEWS / ‘ยิ่งลักษณ์’ หนุนแนวคิด ‘เกรตา ธันเบิร์ก’ ถามรัฐบาลคำนึงถึงปัญหาหรือไม่

ประเด็นน่าสนใจ

  • ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หนุนแนวคิดของ เกรตา ธันเบิร์ก หยุดเรียนประท้วงรัฐบาลสวีเดน เพื่อเรียกร้องให้ลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ
  • ชี้ควรรับฟังความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ เพราะนี่คืออนาคตของพวกเขา
  • พร้อมตั้งคำถามถึงรัฐบาล คำนึงถึงปัญหาหรือไม่ มีแผนการบริหารจัดการ หรือมาตรการป้องกันภัยพิบัติที่นับวันจะรุนแรงขึ้นอย่างไร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจแฟนบุ๊ก Yingluck Shinawatra กล่าวถึงกรณีหญิงสาวชาวสวีเดน ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลสวีเดนลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ พร้อมทั้งตั้งคำถามถึงรัฐบาลมีมาตรการจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างไร โดยมีข้อความระบุว่า

“ดิฉันได้มีโอกาสติดตามข่าวของ น้องเกรตา ธันเบิร์ก ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้กับเกรตา ธันเบิร์ก สาวน้อยวัยเพียง 16 ปี ชาวสวีเดน ที่มีทั้งความมุ่งมั่นในการสร้างการรับรู้ของสังคมให้ตระหนักถึงผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน โดยเธอหยุดเรียนเพื่อประท้วงทุกวันศุกร์ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ตามความตกลงปารีส (Paris Climate Agreement)

เกรตาได้จุดประกายให้เยาวชนทั่วโลกเข้าร่วมรณรงค์ปลุกกระแสสภาวะโลกร้อนให้เป็นวาระของโลก
เธอได้รับเชิญร่วมกับเยาวชนกลุ่มหนึ่งให้เข้าร่วมประชุมกับ the Senate climate crisis task force เธอเดินทางข้ามจากทวีปยุโรปมายังสหรัฐอเมริกาด้วยเรือที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แทนการเดินทางด้วยเครื่องบินที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาล โดยเธอได้เรียกร้องให้สภาคองเกรสหันมาสนับสนุนการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง

ภาวะโลกร้อนซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ กำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาวะแวดล้อมโลก เป็นเหตุให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น อุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้เกิดการละลายของน้ำแข็งที่อาร์คติก ไฟป่าแอมะซอน คลื่นความร้อนในยุโรปและอินเดีย
ประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ภัยแล้งเมื่อหลายเดือนก่อน รวมไปถึงภาวะน้ำท่วมใหญ่ในบ้านเราเอง สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงให้กับเศรษฐกิจ ชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน

เกรตาเชิญชวนให้เยาวชนทั่วโลกร่วมรณรงค์ในโครงการ Fridays for Future ในวันศุกร์ที่ 20 และ 27 กันยายนนี้ และดีใจที่ได้ทราบว่าที่ประเทศไทย โดยกลุ่ม Global Climate Strike ก็ได้จัดกิจกรรมนี้เช่นกันค่ะ

ดิฉันจึงขอร่วมเป็นหนึ่งแรงสนับสนุนในความคิดและวิสัยทัศน์ของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ถึงเวลาแล้วที่เราต้องรับฟังและให้โอกาสคนรุ่นใหม่ ๆ ได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ เพราะนี่คืออนาคตของพวกเขา และขอตั้งคำถามไปยังผู้บริหารประเทศในขณะนี้ว่าท่านได้คำนึงถึงปัญหาหรือไม่ มีแผนการบริหารจัดการ หรือมาตรการป้องกันภัยพิบัติที่นับวันจะรุนแรงขึ้นอย่างไร เพราะทุกคนคงไม่อยากเห็นปัญหาและผลกระทบจากอุทกภัย หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติแบบที่เป็นเหมือนวันนี้ทุกปี ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว เพราะคนที่ทุกข์คือพี่น้องประชาชนค่ะ”