ยาเสียสาว

ทำความรู้จัก ยาเสียสาว ใช้มอมให้คนไม่รู้สึกตัว

จากกรณีการเสียชีวิตของ น.ส.ธิติมา นรพันธ์พิพัฒน์ หรือ “ลันลาเบล” พริตตี้สาว หลังไปรับจ้างดูแลเครื่องดื่มในงานเลี้ยง โดยมีนายรัชเดช วงศ์ทะบุตร หรือ น้ำอุ่น พริตตี้บอย เป็นผู้ต้องสงสัย และมีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า อาจมีการใช้ยาเสียสาวหรือไม่…

Home / NEWS / ทำความรู้จัก ยาเสียสาว ใช้มอมให้คนไม่รู้สึกตัว

ประเด็นน่าสนใจ

  • ยาเสียสาว จะทำให้มึนงง และกดให้รู้สึกง่วง
  • หากใช้ยาประเภทนี้ร่วมกับเครื่องดื่มมึนเมา ฤทธิ์ไม่ได้แรงขึ้น แต่อาจเสริมกัน ทำให้หลับเร็วขึ้น
  • ผู้เสียหายที่ไปโดนยา ตื่นขึ้นมาบ้างก็จำอะไรไม่ได้

จากกรณีการเสียชีวิตของ น.ส.ธิติมา นรพันธ์พิพัฒน์ หรือ “ลันลาเบล” พริตตี้สาว หลังไปรับจ้างดูแลเครื่องดื่มในงานเลี้ยง โดยมีนายรัชเดช วงศ์ทะบุตร หรือ น้ำอุ่น พริตตี้บอย เป็นผู้ต้องสงสัย และมีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า อาจมีการใช้ยาเสียสาวหรือไม่

ภก.วชิระ อำพนธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า ปกติแล้วยาเสียสาวที่มักพบว่า นำมาใช้มอมให้คนไม่รู้สึกตัว จะพบอยู่ 2 ตัว คือ อัลปราโซแลม และ GHB (gamma-Hydroxybutyric)

ซึ่งอาการส่วนใหญ่ จะทำให้มึนงง และกดให้รู้สึกง่วงทั้งคู่ ที่สำคัญ คือ พวกนี้ออกฤทธิ์เร็ว หลักวิชาการของยาออกฤทธิ์เร็วใน 30 นาที ทำให้สะลึมสะลือแล้วหลับไป เมื่อตื่นขึ้นมาก็จำอะไรไม่ได้ จึงมักเห็นว่าผู้เสียหายที่ไปโดนยามา บางครั้งตื่นมาให้การตำรวจไม่ได้ ไม่รู้เรื่อง เพราะความจำช่วงก่อนหน้าที่กินมาหายไป คล้ายคนเมาเหล้าที่บางทีจะจำไม่ได้

ภก.วชิระ กล่าวว่า กรณีนี้ต้องพิสูจน์ว่า ใช้ยาตัวไหน เพราะจริงๆ แล้ว GHB ค่อนข้างหายาก แต่ที่ว่าหาง่ายใช้กันในงานปาร์ตี้ คิดว่าอาจสั่งซื้อมาจากนอกหรือไม่ ส่วนเมื่อก่อนยังมียาดอมิคุมแต่หายไป เพราะหายาก จึงมีการหันมาใช้อัลปราโซแลมแทน เพราะก่อนหน้านี้หาง่าย แต่พอใช้กันมากๆ อย.จึงปรับมาเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 แต่ก็ยังมีของลอบนำเข้ามา

ภก.วชิระ กล่าวอีกว่า ส่วนการใช้รวมกับเครื่องดื่มมึนเมาทำให้แรงขึ้นหรือไม่ ภก.วชิระ กล่าวว่า ฤทธิ์ไม่ได้แรงขึ้น แต่อาจเสริมกัน เพราะแอลกอฮอล์กินแล้วกดประสาท

ถ้ากินยาพวกนี้เข้าไป ก็อาจทำให้หลับเร็วขึ้น ก็คล้ายเสริมฤทธิ์กัน ซึ่งยาที่เอามาใส่แอลกอฮอล์รสชาติจะไม่ทราบ เพราะกลบเกลื่อนกันได้ และส่วนใหญ่อยู่ในสถานที่ที่จะแอบใส่ได้ง่าย

ทั้งนี้ GHB จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 1 ตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 แต่เนื่องจากว่ามีผลข้างเคียงจากการใช้จำนวนมาก และมีการนำมาใช้ในทางที่ผิดมากขึ้น ทำให้ตัวยาดังกล่าวถูกเพิกถอนไปตั้งแต่ พ.ศ. 2533 แต่ปัจจุบันยังพบมีการใช้ในสถานบันเทิง มักถูกนำมาใช้ทดแทนยาอีเพราะมีฤทธิ์ใกล้เคียงกัน