กรมการขนส่งทางบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใบสั่ง

“ตร.-ขนส่ง” เชื่อมข้อมูลชำระใบสั่ง ดีเดย์ 19 ธ.ค.นี้

พลตำรวจโท ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และนางจันทิรา บุรุษพัฒน์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกร่วมกัน โดย พ.ร.บ.จราจรทางบก แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจรับชำระค่าปรับที่ค้างชำระตามใบสั่ง มีผลบังคับใช้ในวันที่ 20…

Home / NEWS / “ตร.-ขนส่ง” เชื่อมข้อมูลชำระใบสั่ง ดีเดย์ 19 ธ.ค.นี้

ประเด็นน่าสนใจ

  • กระทรวงคมนาคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เชื่อมระบบถึงกันแล้ว
  • โดยหากใครไม่จ่ายค่าปรับ จะชำระภาษีต่อทะเบียนไม่ได้
  • กำหนดให้วันที่ 19 ธันวาคมนี้ เป็นวันแรกที่กรมการขนส่งทางบกจะรับชำระค่าปรับตามใบสั่งที่ค้างชำระแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

พลตำรวจโท ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และนางจันทิรา บุรุษพัฒน์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกร่วมกัน

โดย พ.ร.บ.จราจรทางบก แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจรับชำระค่าปรับที่ค้างชำระตามใบสั่ง มีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ได้กำหนดให้วันที่ 19 ธันวาคมนี้ เป็นวันแรกที่กรมการขนส่งทางบกจะรับชำระค่าปรับตามใบสั่งที่ค้างชำระแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยผู้ชำระ ได้ที่สำนักงานขนส่งทุกแห่งทั่วประเทศ หากยังไม่พร้อมชำระค่าปรับที่ค้างชำระตามใบสั่ง กรมการขนส่งทางบกจะออกใบแทนแสดงการเสียภาษีฉบับชั่วคราวให้ซึ่งจะใช้ได้เพียง 30 วัน และผู้ขับขี่หรือจะต้องไปชำระ ไม่เช่นนั้นไม่สามารถต่อภาษีรถได้

ขณะที่กระทรวงคมนาคม เดินหน้าแก้ไขปัญหาและออกมาตรการความปลอดภัย เพื่อลดสถิติอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิต เนื่องจากประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก สำหรับเริ่มมาตรการบังคับใช้กฎหมาย เข้มงวดและเพิ่มโทษของผู้ขับขี่จักรยานยนต์ เริ่มจากการนำระบบตัดแต้มมาใช้ พร้อม ใช้กล้องจับผิดพฤติกรรมการขับขี่รถขนาดเล็กและเชื่อมระบบใบสั่งกับใบขับขี่ ใครไม่จ่ายห้ามต่อภาษีประจำปี

ส่วน รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ (บิ๊กไบค์) จะมีการออกกฎหมายห้ามวิ่งแทรกในช่องจราจร หรือช่อง จยย.ขนาดเล็ก แต่ต้องจอดรอรถติดเข้าแถวเหมือนรถยนต์ โดยจะมีระบบกล้องจับผิดพฤติกรรมเพื่อลงโทษ นอกจากนี้จะพิจารณาควบคุมความเร็วบิ๊กไบค์ ห้ามขับเกิน 80 กม./ชม. ในเขตเมืองและชุมชน นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการ พิจารณาแยกประเภทใบขับขี่ เช่น รถขนาดเล็กไม่เกิน 100 cc และรถบิ๊กไบค์ตั้งแต่ 300-400 cc ขึ้นไป