ประเด็นน่าสนใจ
- รัฐบาลอินเดียผลักดันร่างกฎหมายยกเลิก “สถานะพิเศษ” ของรัฐชัมมูร์และกัศมีร์ให้ผ่านสภาได้อย่างเป็นทางการแล้ว
- หลังจากนี้จะเข้าสู่ขั้นตอนการแบ่งรัฐเป็น 2 รัฐ
- ปากีสถานกระท้วง แสดงความไม่เห็นด้วยต่อเรื่องนี้อย่างหนัก
วันที่ 6 สิงหาคม 2562 สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน การเสนอร่างกฎหมาย ในการแบ่งรัฐชัมมูร์ ซึ่งจะมีพรมแดนติดกับแนวเส้นควบคุม ( แอลโอซี ) ซึ่งเป็นเขตปลอดทหารในแคชเมียร์ระหว่างอินเดียกับปากีสถาน และกัศมีร์ออกเป็น 2 รัฐ คือรัฐชัมมูร์และรัฐลาดักห์ โดยพื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่พิพาทระหว่างอินเดีย และปากีสถานซึ่งต่างอ้างสิทธิเหนือดินแดนทั้งสองฝ่าย ซึ่งร่างกฎหมายนี้ได้รับความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ ด้วยปัจจัยที่พรรคบีเจพีครองเสียงข้างมากในสภาอยู่แล้ว โดยสมาชิกสภาฝ่ายค้านพากันเดินออกจากห้องประชุมสภาหลังจากนั้น
ส่วนทางด้านปากีสถาน นายกรัฐมนตรีอิมราน ข่าน ผู้นำปากีสถาน กล่าวว่าปากีสถานจะยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ( ยูเอ็นเอสซี ) โดยระบุว่า อินเดียกระทำการละเมิดกฎหมายอย่างร้ายแรง ขณะที่ปากีสถานที่ได้รับการสนับสนุนจากจีนซึ่งเป็น 1 ใน 5 สมาชิกถาวรของยูเอ็นเอสซี
กระทรวงการต่างประเทศ ของจีน ออกแถลงการณ์ไม่มีทางยอมรับสถานะของ “2 รัฐใหม่” ก่อนที่อินเดียจะตอบโต้ว่าเรื่องนี้เป็นกิจการภายใน
ทว่ารัฐบาลนิวเดลีตัดการสื่อสารทุกประเภทในแคชเมียร์ เดินหน้าเสริมกำลังทหารและอพยพนักท่องเที่ยวออกจากพื้นที่ ส่วนกองทัพปากีสถานเสริมกำลังตามแนวแอลโอซีเช่นกัน จึงทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าอาจจะเกิดความรุนแรงขึ้นได้
ย้อนไปความขัดแย้งระหว่าง“อินเดีย-ปากีสถาน” เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1947 ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่อังกฤษมอบเอกราชให้กับทั้งสองประเทศ ซึ่งปากีสถานเป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ในขณะที่ชาวอินเดียส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู
ชนวนสำคัญเกิดขึ้นที่แคว้นจัมมูร์แคชเมียร์หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า ‘แคชเมียร์’ ซึ่งเป็นแคว้นที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม แต่ผู้ปกครองแคว้นนี้ในขณะนั้นเป็นฮินดู ทำให้ผู้ปกครองลงนามที่จะไปรวมกับอินเดีย สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนและปากีสถานเพราะเป็นชาวมุสลิมเหมือนกัน ในขณะที่อินเดียก็ถือว่าตนสิทธิ์ในแคชเมียร์แล้วตามที่ผู้ปกครองลงนาม โดยปัญหาเกิดจากการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนระหว่างรัฐกับรัฐด้วยกันความขัดแย้งได้ขยายวงกว้างจนนำไปสู่การเกิด ‘สงคราม’ หลายครั้ง