อ้วนลงพุง โรคซึมเศร้า โรคในวัยทำงาน

แพทย์เตือนคนวัยทำงาน เสี่ยงอ้วนลงพุง-โรคซึมเศร้า

นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในปัจจุบันมีคนวัยทำงานราว 15 ล้านคนที่อยู่ในระบบประกันสังคม ส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทำให้หลายคนเกิดภาวะความเครียดสะสมจนทำให้กระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคอ้วนเพราะขาดการออกกำลังกาย และกินอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไปจนเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยพบว่ามีโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน…

Home / NEWS / แพทย์เตือนคนวัยทำงาน เสี่ยงอ้วนลงพุง-โรคซึมเศร้า

ประเด็นน่าสนใจ

  • คนวัยทำงานส่วนใหญ่อยู่ในที่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนวัยทำงานส่วนใหญ่ เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคต่าง ๆ เพราะขาดการออกกำลังการ และบริโภคน้ำตาลมากเกินไป
  • กรมอนามัยแนะนำให้องค์กรต่าง ๆ ร่วมส่งเสริมให้พนักงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และส่งเสริมให้พนักงานออกกำลังกาย

นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในปัจจุบันมีคนวัยทำงานราว 15 ล้านคนที่อยู่ในระบบประกันสังคม ส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทำให้หลายคนเกิดภาวะความเครียดสะสมจนทำให้กระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคอ้วนเพราะขาดการออกกำลังกาย และกินอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไปจนเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยพบว่ามีโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็งระบบสืบพันธุ์ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม โดยเฉพาะในผู้หญิง และโรคที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ เช่น มะเร็งกล่องเสียง หลอดเลือดสมองตีบ และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

สำหรับการอ้วนลงพุง พบในคนทำงานซึ่งมีแนวโน้มเป็นโรคดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ส่วนโรคเครียดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด “โรคซึมเศร้า”และวัยทำงานเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมากที่สุด ส่งผลต่อการทำให้เกิดภาระ และสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวนมาก

ขณะที่ นพ.สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ผลกระทบพฤติกรรมสุขภาพของวัยทำงานเป็นปัญหาที่ไม่ควรละเลย เพราะเป็นรุ่นที่จะช่วยในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งมีการพบในคนทั่วโลกตั้งแต่อายุ 20 กว่าปีขึ้นไป นอกจากจะเสี่ยงในการเป็นโรคแล้วยังเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน ทำให้เกิดภาวะหดหู่ วิตกกังวล ไปจนถึงการเกิดโรคซึมเศร้าได้

ฉะนั้น บริษัท หรือองค์กร และหน่วยงานต่างๆ ควรส่งเสริมให้พนักงานหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสร้างแรงจูงใจด้วยการส่งเสริมให้ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีการจัดการบริหารทางด้านอารมณ์ ควบคู่กับการลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ จะช่วยในเรื่องลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคได้ ทั้งนี้ ถ้าสุขภาพกายดี สุขภาพใจก็จะดีตามไปด้วย ส่วนภาวะโรคซึมเศร้าที่มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การฆ่าตัวตายนั้นก็ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมด้วย