ข่าวสดวันนี้ ดาวพฤหัสบดี อุกกาบาต อุกกาบาตชนโลก

เปิดคลิปนาที อุกกาบาตพุ่งชนดาวพฤหัสบดี แบบเต็มๆ

เฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page ได้มีการเผยแพร่นาทีอุกกาบาตพุ่งชนดาวพฤหัสบดี จนเกิดเป็นแสงสว่างวาบบริเวณแถบด้านใต้เส้นศูนย์สูตร (South Equatorial Belt) หรือซีกใต้ของดาวพฤหัสบดี หลังจากการพุ่งชน ซึ่งเหตุอุกกาบาตชนดาวพฤหัสฯ ครั้งนี้ถูกบันทึกโดยนักดาราศาตร์สมัครเล่นที่ชื่อว่า Ethan Chappe…

Home / NEWS / เปิดคลิปนาที อุกกาบาตพุ่งชนดาวพฤหัสบดี แบบเต็มๆ

ประเด็นน่าสนใจ

  • นาทีอุกกาบาตพุ่งชนดาวพฤหัสบดี
  • เหตุการณ์นี้ไม่ส่งผลกระทบต่อโลก
  • การที่ดาวพฤหัสฯชนครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 7 แล้วที่ถูกบันทึกได้

เฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page ได้มีการเผยแพร่นาทีอุกกาบาตพุ่งชนดาวพฤหัสบดี จนเกิดเป็นแสงสว่างวาบบริเวณแถบด้านใต้เส้นศูนย์สูตร (South Equatorial Belt) หรือซีกใต้ของดาวพฤหัสบดี หลังจากการพุ่งชน

ซึ่งเหตุอุกกาบาตชนดาวพฤหัสฯ ครั้งนี้ถูกบันทึกโดยนักดาราศาตร์สมัครเล่นที่ชื่อว่า Ethan Chappe หลังจากเขาส่องกล้องขึ้นบนฟ้า ดูดาวอยู่ที่รัฐเทกซัส และสามารถบันทึกคลิปวิดีโอเอาไว้ได้

โดยเหตุการณ์น่าทึ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562 เวลา 04.07 น. ตามเวลาสากลเชิงพิกัด หรือ UTC (Coordinated Universal Time) ตรงกับเวลาประมาณ 11.07 น. ตามเวลาประเทศไทย แต่ไม่มีรายงานว่าจากเหตุที่เกิดขึ้น ไม่มีร่องรอยการระเบิดที่ทิ้งไว้ในชั้นบรรยากาศแต่อย่างใด

สำหรับการบันทึกภาพอุกกาบาตพุ่งชนดาวพฤหัสฯ ของ Ethan Chappe ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 7 แล้วที่นักดาราศาสตร์บันทึกภาพไว้พอดี โดยก่อนหน้านี้ มีการบันทึกข้อมูลอุกกาบาตพุ่งชนดาวพฤหัสบดีไว้แล้ว 6 ครั้ง ในปี 1994 2009 2010 (2 ครั้ง), 2016 และ 2017

ซึ่งครั้งเห็นชัดและถูกพูดถึงมากที่สุด คือในปี 1994 ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 (Shoemaker-Levy 9) ถูกแรงไทดัลของดาวพฤหัสบดีฉีกดาวหางออกเป็นชิ้น ๆ ก่อนจะตกลงสู่ชั้นบรรยากาศ เกิดเป็นร่องรอยแผลเป็นสีดำขนาดใหญ่เด่นชัดในช่วงเวลานั้น

ดาวพฤหัสบดี ถือได้ว่าเป็นดาวในกาแลคซี่ทางช้างเผือก ที่ถูกอุกกาบาตพุ่งชนบ่อยครั้ง เพราะด้วยขนาดที่ใหญ่โตของมันทำให้มีแรงโน้มถ่วงอันมหาศาล ที่พร้อมจะดึงดูดวัตถุที่อยู่ใกล้เคียงให้พุ่งชนตลอดเวลา ซึ่งจากการศึกษาในอดีต ประเมินว่าดาวพฤหัสบดีมีโอกาสสูงมากในการดึงดูดวัตถุต่าง ๆ ให้เข้ามาพุ่งชน นับว่ามีโอกาสสูงกว่าโลก 2,000 – 8,000 เท่า