HappyMoneyHappyRetirement SET มนุษย์เงินเดือน ลงทุน หุ้น ออมเงิน

ไขข้อข้องใจ LTF & RMF มือใหม่ต้องรู้ วางแผนภาษีให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ชีวิตคนวัยทำงานกับภาษีเป็นของคู่กัน… จะดีกว่ามั้ยถ้าเรารู้จัก วางแผนภาษีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่วันนี้ ด้วย การลงทุนใน LTF & RMF ซึ่งมีสิทธิประโยชน์ดีๆ จากการลงทุนถึง 2 ต่อด้วยกัน ดังนี้ *…

Home / NEWS / ไขข้อข้องใจ LTF & RMF มือใหม่ต้องรู้ วางแผนภาษีให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ชีวิตคนวัยทำงานกับภาษีเป็นของคู่กัน… จะดีกว่ามั้ยถ้าเรารู้จัก วางแผนภาษีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่วันนี้ ด้วย การลงทุนใน LTF & RMF ซึ่งมีสิทธิประโยชน์ดีๆ จากการลงทุนถึง 2 ต่อด้วยกัน ดังนี้

* ต่อที่ 1: เงินที่ลงทุน สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
* ต่อที่ 2: กำไรที่ได้จากการขายหน่วยลงทุน ไม่ต้องเสียภาษี
* แต้มต่อ: เงินที่ประหยัดได้จากภาษีที่ลดหย่อน สามารถนำไปต่อยอดลงทุนเพื่อเพิ่มเงินออมได้อีกด้วย

แต่ก่อนอื่น… เรามาลองไขข้อข้องใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการลงทุนใน LTF & RMF ที่มือใหม่ต้องรู้กันดีกว่า

การลงทุนใน LTF & RMF คืออะไร

LTF” ย่อมาจาก Long Term Equity Fund หรือภาษาไทยคือ “กองทุนรวมหุ้นระยะยาว” เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนใน “หุ้น” ไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่ากองทุน เหตุผลในการจัดตั้งกอง LTF ขึ้นมา ก็เพื่อช่วยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นระยะยาว ทำให้ตลาดหุ้นมีสภาพคล่อง มีเสถียรภาพมากขึ้น โดยให้สิทธิลดหย่อนภาษีเป็นแรงจูงใจกับนักลงทุน

ส่วน “RMF” จะย่อมาจาก Retirement Mutual Fund หรือ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนที่ส่งเสริมให้เราออมเงินในระยะยาวเพื่อเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ โดยการให้สิทธิลดหย่อนภาษีเป็นแรงจูงใจกับนักลงทุนเช่นเดียวกับ LTF ซึ่งสองแบบนี้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถดูจากตารางสรุปด้านล่างนี้ได้เลย

LTF & RMF แตกต่างกันอย่างไร?

เห็นมั้ยว่าความจริงแล้ววัตถุประสงค์ การลงทุนแบบ LTF & RMF นั้นแตกต่างกันอย่างชัดเจน ถ้าเราไม่ได้ต้องการแค่จะลงทุนในระยะปานกลางเพื่อลดหย่อนภาษี การลงทุนใน RMF ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่จะช่วยต่อยอดให้เงินของเรางอกเงยในระยะยาวพร้อมรับกับการเกษียณได้ในอนาคต

LTF & RMF ซื้อได้ต่ำสุด – สูงสุดเท่าไหร่?

จากภาพจะเห็นได้ว่า LTF ไม่มีกำหนดขั้นต่ำในการซื้อ เพราะจะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่แต่ละ บลจ. เป็นผู้กำหนด ทั้งนี้นักลงทุนสามารถซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท

ส่วน RMF ต้องซื้อขั้นต่ำอย่างน้อย 3% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี หรือ 5,000 บาท โดยเราสามารถเลือกจำนวณใดจำนวนหนึ่งที่ต่ำกว่าได้ และนักลงทุนจะสามารถซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ / กองทุนการออมแห่งชาติ / กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน และประกันชีวิตแบบบำนาญแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

LTF & RMF เหมาะกับใครบ้าง?

เราจะเห็นได้ว่าการลงทุนแบบ LTF & RMF เหมือนกันตรงที่เหมาะสำหรับคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี และต้องการลดหย่อนภาษี แต่จะแตกต่างกันในเรื่องของระยะเวลาและความเสี่ยงในการลงทุน โดยส่วนมากผู้ที่ต้องการลงทุนในระยะปานกลางเพื่อเป้าหมายต่างๆ และสามารถรับความเสี่ยงได้สูง เพื่อคาดหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการลงทุนในหุ้น ก็มักจะเลือกลงทุนใน LTF แต่ถ้าหากใครต้องการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์การลงทุนที่หลากหลาย โดยต้องการลงทุนในระยะยาวเพื่อเป้าหมายเกษียณ ก็มักจะเลือกลงทุนใน RMF มากกว่า

ดังนั้นแล้ว ก่อนที่เราจะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ใด เราควรตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนว่า เราต้องการลงทุนไปเพื่ออะไร เพื่อลดหย่อนภาษีใช่หรือไม่ เพื่อเป้าหมายเกษียณใช่รึเปล่า หรือแค่ต้องการสร้างเงินออมให้งอกเงยเพียงอย่างเดียว เมื่อเราตอบคำถามตัวเองได้แล้ว เราก็จะสามารถเลือกสินทรัพย์ลงทุนได้อย่างเหมาะสม ตามความเสี่ยงที่เรายอมรับได้  และบรรลุเป้าหมายของเราได้ในที่สุด

ลงทุนเรื่องใหญ่ แต่ไม่ใช่เรื่องยาก สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ >> https://www.set.or.th/happymoney  


ติดตามความรู้เพิ่มเติม

คู่มือ LTF & RMF มือใหม่ต้องรู้

คู่มือผู้ลงทุน ฉบับลงทุนในกองทุนรวม

Happy Money Guide ตอน วางแผนการออมสม่ำเสมอ

e-Learning หลักสูตร “รอบรู้ลงทุน LTF & RMF”


Happy Money, Happy Retirement เกษียณสุขเป็นจริงได้ www.set.or.th/happymoney