พะยูน พะยูนน้อยมาเรียม พะยูนมาเรียม พะยูนเกยตื้น มาเรียม มาเรียมตาย

สุดยื้อ “มาเรียม” พะยูนกำพร้า ช็อก ตายลงแล้ว

วานนี้ (16 สิงหาคม 2562) ตลอดทั้งวันตั้งแต่เวลา 08:00 – 19:00น. จนท.เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงร่วมกับทีมสัตวแพทย์ จิตอาสา ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ทำการเฝ้าระวังลูกพะยูน(น้องมาเรียม) ในบ่อผ้าใบ โดยทำการสูบน้ำจากทะเลลงบ่อผ้าใบถ่ายน้ำออกจากบ่อพร้อมกันเป็นทำการวนน้ำ และต้มน้ำร้อนใส่ในบ่อ…

Home / NEWS / สุดยื้อ “มาเรียม” พะยูนกำพร้า ช็อก ตายลงแล้ว

ประเด็นน่าสนใจ

  • หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จังหวัดตรัง เผยพะยูนมาเรียมช็อก เสียชีวิตแล้ว
  • ทางทีมสัตวแพทย์เร่งเข้าทำการช่วยเหลือหลังพะยูนมาเรียมช็อก โดยการปั๊มหัวใจ อยู่ประมาณครึ่งชั่วโมง สุดท้ายก็เสียชีวิตลง

วานนี้ (16 สิงหาคม 2562) ตลอดทั้งวันตั้งแต่เวลา 08:00 – 19:00น. จนท.เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงร่วมกับทีมสัตวแพทย์ จิตอาสา ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ทำการเฝ้าระวังลูกพะยูน(น้องมาเรียม) ในบ่อผ้าใบ โดยทำการสูบน้ำจากทะเลลงบ่อผ้าใบถ่ายน้ำออกจากบ่อพร้อมกันเป็นทำการวนน้ำ และต้มน้ำร้อนใส่ในบ่อ เพื่อปรับอุณหภูมิในบ่อให้เหมาะสมกับการดำรงอยู่ของมาเรียม และเอาทรายใส่กระสอบทำทางเดินบริเวณขอบบ่อผ้าใบ เก็บหญ้าทะเลให้น้องมาเรียม และเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้ทำการเฝ้าระวังตลอดเวลา

ต่อมานายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ได้แจ้งว่า เมื่อวันที่ 16 ส.ค.2562 เวลาประมาณ 23.00 น. “น้องมาเรียม” ได้เกิดอาการช็อก ทางทีมสัตวแพทย์ จึงเร่งเข้าทำการช่วยเหลือ โดยการปั๊มหัวใจ อยู่ประมาณครึ่งชั่วโมง กระทั่งเวลา 00.09 น. ของวันที่ 17ส.ค.2562 “มาเรียม” พะยูนกำพร้า ก็เสียชีวิตลง

เมื่อวันที่ 17ส.ค.2562 เวลา 05.52.น. ทีมสัตวแพทย์ 10 คนจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจุฬาฯ กองทัพเรือ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัยตรัง) ร่วมรายงานผลการชันสูตร ผ่าพิสูจน์สาเหตุการเสียชีวิตของน้องมาเรียม สาเหตุมาจากการช็อค

นอกจากนี้ยังพบเศษพลาสติกเล็กๆ หลายชิ้นขวางลำไส้ จนมีอาการอุดตันบางส่วนและอักเสบ ทำให้มีแก๊สสะสมอยู่เต็มทางเดินอาหาร มีการติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดเป็นหนอง ตามมา ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรายงานดังนี้

  • ช่วงแรกของการรักษา สามารถลดการติดเชื้อในระบบหายใจลงได้บางส่วน แต่ในทางเดินอาหารที่มีขยะพลาสติกนั้น ไม่สามารถรักษาได้ จึงลุกลามไปจนช็อก และทำให้เสียชีวิตในที่สุด
  • รอยโรคอีกส่วนหนึ่งที่พบคือ มีรอยช้ำเลือดในกล้ามเนื้อและผนังช่องท้องด้านใน ซึ่งอาจเกิดจากการกระแทกกับของแข็ง เช่น ถูกพะยูนตัวใหญ่พุ่งชน หรือชนหินขณะที่เกยที่ตื้น

จากรายงาน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่  5 (นครศรีธรรมราช) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2562 ระบุว่า

  • เวลา 01.00 – 07.00 น. จนท.เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น จิตอาสา ทีมสัตวแพทย์ ทำการเฝ้าระวังอาการป่วยของลูกพะยูน(น้องมาเรียม) ในบ่อผ้าใบ โดยทำการสูบน้ำจากทะเลลงบ่อผ้าใบ ถ่ายน้ำออกจากบ่อพร้อมกันเป็นทำการวนน้ำ และต้มน้ำร้อนใส่ในบ่อ เพื่อปรับอุณหภูมิในบ่อให้เหมาะสมกับการดำรงอยู่ของมาเรียม ทีมสัตวแพย์ และเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้ทำการเฝ้าระวังตลอดเวลา
  • หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง และเจ้าหน้าที่เขตฯ ลิบง ได้ออกตรวจลาดตระเวนและร่วมปรึกษาหารือกับทีมสัตวแพทย์เพื่อรับทราบความคืบหน้าการรักษาอาการป่วยของมาเรียม
  • เวลา 06.00น.- 20.00น. เจ้าหน้าที่เขตฯลิบง ร่วมกับสัตวแพทย์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์ุพืช สัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สัตวแพทย์กองทัพเรือ จิตอาสา และกลุ่มพิทักษ์ดุหยง เฝ้าติดตามอาการของลูกพะยูน(มาเรียม) วันนี้อาการมาเรียมทรงตัวทีมแพทย์ต้องเฝ้าดูอาการตลอด 24 ชม. และเจ้าหน้าที่ได้ซ่อมท่อน้ำไว้สูบเข้าบ่อที่โดนคลื่นซัดจนแตกเมื่อคืนจนเสร็จใช้งานได้ตามปกติ
  • สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานและประเมินผลการรักษามาเรียม ดังนี้

* สุขภาพทั่วไป น้ำหนัก 31 กิโลกรัม ความยาวลำตัว 121 เซนติเมตร ความยาวรอบอก 75.5 เซนติเมตร พฤติกรรมและการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมมีอาการซึม และการตอบสนองเล็กน้อย

* การตรวจร่างกาย มีภาวะการแห้งน้ำมาก มีอาการเรอและผายลมเป็นระยะ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ พบภาวะติดเชื้อเนื่องจากค่าเม็ดเลือดขาวรวมสูงขึ้น ค่าเคมีเลือดอยู่ในระดับปกติ

* การตรวจร่างกาย อัตราการหายใจเฉลี่ย 4 ครั้ง ต่อนาที อัตราการเต้นของหัวใจ 80 ครั้งต่อนาที การเต้นของหัวใจขณะพักผ่อน 104 ครั้งต่อนาที