ท้องผูก ท้องผูกเรื้อรัง ลำไส้อุดตัน

แพทย์เตือนท้องผูกเรื้อรัง กินยาระบายบ่อย เสี่ยงลำไส้อุดตัน

นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เรื่องราวผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “Arak Wongworachat” ถึงกรณีคนไข้อายุ 68 ปี มีอาการท้องผูก 3-4 วัน จึงถ่ายสักครั้ง พบว่าอุจจาระแข็ง…

Home / NEWS / แพทย์เตือนท้องผูกเรื้อรัง กินยาระบายบ่อย เสี่ยงลำไส้อุดตัน

ประเด็นน่าสนใจ

  • นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล เตือนท้องผูกเรื้อรัง กินยาระบาย เสี่ยงลำไส้อุดตัน
  • ชี้ควรปรับพฤติกรรม ทั้งการขับถ่ายในท่านั่งที่เหมาะสม รับประทานผักผลไม้ที่มีกากใย การออกกำลังกาย การดื่มน้ำในปริมาณที่มากเพียงพอ

นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เรื่องราวผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “Arak Wongworachat” ถึงกรณีคนไข้อายุ 68 ปี มีอาการท้องผูก 3-4 วัน จึงถ่ายสักครั้ง พบว่าอุจจาระแข็ง ต้องออกแรงเบ่ง จึงทานยาระบาย สวนสบู่เป็นประจำ จนในที่สุดเกิดลำไส้อุดตัน ปวดท้อง ท้องอืดมาก ต้องผ่าตัดฉุกเฉิน ตัดลำไส้บางส่วนที่โป่งพองอย่างมากทิ้งไป แล้วต่อลำไส้ใหม่ ท้องผูกเรื้อรัง จึงไม่ใช่ภาวะปกติที่จะปล่อยวางได้

นายแพทย์ อารักษ์ เผยว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างหรือปัจจัยบางประการอาจเอื้อต่อการเกิดอาการท้องผูกได้ง่ายมากขึ้น เช่น การอั้นอุจจาระ รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย น้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป ดื่มน้ำน้อย ความเครียดหรือความกดดัน โรคทางจิตเวช ปัญหาทางด้านจิตใจ มีภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ อยู่ในวัยผู้สูงอายุ

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออก มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยท้องผูกจากภาวะที่ลำไส้เคลื่อนไหวช้า หรือโป่งพองจนไม่สามารถบีบรัดตัวได้แล้ว ที่รักษาโดยการรับประทานยาแล้วไม่ได้ผลและมีความผิดปกติชัดเจนของกล้ามเนื้อและระบบประสาทของลำไส้ที่ได้รับการตรวจยืนยันชัดเจนแล้ว โดยวิธีนี้ต้องผ่านการพิจารณาจากแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการเท่านั้น

ด้าน การฝึกการขับถ่าย (Biofeedback Training) สอนให้ผู้ป่วยขับถ่ายอย่างถูกวิธีด้วยเครื่องมือที่แสดงการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่าย ซึ่งสามารถแสดงผลกล้ามเนื้อเชิงกรานและกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารหนักทั้งหมดของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงวิธีการขับถ่ายที่ถูกต้อง ทั้งท่าทาง การหายใจ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อหูรูด และการรับรู้ความรู้สึก โดยจะทำการฝึกทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 – 40 นาที วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลในระยะยาว เมื่อทำอย่างต่อเนื่องจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องรับประทานยา รวมถึงการจัดท่านั่งที่เหมาะสมต่อการขับถ่าย

โดย สามารถปรับพฤติกรรม ได้แก่ ขับถ่ายอุจจาระเมื่อรู้สึกครั้งแรก อย่ารอจนสัญญาณการขับถ่ายอ่อนลง นั่งขับถ่ายในท่านั่งที่เหมาะสม รับประทานผักผลไม้ที่มีกากใย ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ดื่มน้ำในปริมาณที่มากเพียงพอ

ขอบคุณ : Arak Wongworachat