กระทรวงพาณิชย์ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประชาธิปัตย์ สรรเสริญ สมะลาภา

ส่อง 10 นโยบายเร่งด่วน ก.พาณิชย์ ดัน ดร.สรรเสริญ สมะลาภา เป็นผู้ช่วย ‘จุรินทร์’

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีการประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตั้ง ดร.สรรเสริญ สมะลาภา รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ซึ่ง ดร.สรรเสริญ มีประวัติจบการศึกษาระดับปริญญาเอก…

Home / NEWS / ส่อง 10 นโยบายเร่งด่วน ก.พาณิชย์ ดัน ดร.สรรเสริญ สมะลาภา เป็นผู้ช่วย ‘จุรินทร์’

ประเด็นน่าสนใจ

  • ครม.ดัน ดร.สรรเสริญ สมะลาภา เป็นผู้ช่วย รมว. พาณิชย์
  • ส่องนโยบายพาณิชย์ 10 เรื่อง ที่ จุรินทร์ ได้ประกาศไว้
  • โฟกัส โครงการประกันรายได้เกษตร 
  • เร่งเจรจาข้อตกลงการค้าอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีการประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตั้ง ดร.สรรเสริญ สมะลาภา รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ซึ่ง ดร.สรรเสริญ มีประวัติจบการศึกษาระดับปริญญาเอก เศรษฐศาสตร์ สาขานโยบายการเงินและการพัฒนาเศรษฐกิจเอเชีย จากมหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของธนาคารโลก ประจำกระทรวงการคลัง 

ดร.สรรเสริญ สมะลาภา รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)

เส้นทางการเมืองของ ดร.สรรเสริญ

ดร.สรรเสริญ สมะลาภา เข้าสู่สังกัด ปชป. ในปี 2544 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 3 สมัย งานด้านการเมืองเคยเป็นรองโฆษกพรรค / รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (เงา) / รองหัวหน้าพรรค / รองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ / รองประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน และปัจจุบัน ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ดำรงตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) 

10 นโยบายเร่งด่วน ก.พาณิชย์

โดยงานหลักของ ดร.สรรเสริญ ในคณะทำงานชุดนี้ คือเตรียมช่วยผลักดันงานต่างๆ ตามนโยบาย 10 เรื่อง ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ได้แก่…

  • เรื่องที่ 1 ผลักดันโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกสินค้า 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร 
  • เรื่องที่ 2 จะเน้นการดูแลราคาสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการและผู้บริโภค 
  • เรื่องที่ 3 จะเร่งรัดการส่งออกสินค้าและบริการ 
  • เรื่องที่ 4 เร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่ยังค้างท่อ 
  • เรื่องที่ 5 เดินหน้าระบบ e-filing เพื่อให้การจดทะเบียนและการให้บริการของกระทรวงพาณิชย์ ง่าย สะดวก รวดเร็ว
  • เรื่องที่ 6 เร่งรัดการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า
  • เรื่องที่ 7 ผลักดันเศรษฐกิจสมัยใหม่ เช่น ดิจิทัล, ไบโอ อีโคโนมี, กรีน อีโคโนมี, แชร์ริ่ง อีโคโนมี, ครีเอทีฟ อีโคโนมี และการค้าออนไลน์ 
  • เรื่องที่ 8 ผลักดันร้านค้าปลีกรายย่อย (โชห่วย) ให้เป็นสมาร์ทโชห่วย 
  • เรื่องที่ 9 มุ่งเน้นการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจภาคบริการ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน เช่น ร้านอาหาร สปา ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ภาพยนตร์ เพื่อผลักดันออกสู่ตลาดต่างประเทศ 
  • เรื่องที่ 10 จะใช้กลไกการประชุมต่างๆ เช่น การประชุมผู้บริหารกระทรวง การประชุมร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.พาณิชย์) เป็นต้น ขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ให้เดินหน้า

ซึ่งการทำงานจะโฟกัสที่โครงการประกันรายได้เกษตรกร การดูแลราคาสินค้าและบริการให้เป็นธรรมกับผู้บริโภค พร้อมทั้งเร่งรัดการส่งออกสินค้าและบริการผ่านกลไกต่างๆ โดยเฉพาะการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนหรือ กรอ.พาณิชย์ ที่จะมีระบบการติดตามสถานการณ์การค้าไทย รวมถึงวิกฤติจากสงครามการค้าโลก และสงครามการเงินโลก รวมถึงการเร่งรัดการเจรจาข้อตกลงการค้าอยู่ ซึ่งเริ่มขับเคลื่อนแล้ว โดย เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา นายจุรินทร์ ในฐานะประธานที่ประชุม สามารถผลักดันให้ที่ประชุมตัดสินใจระดับนโยบายได้ 3-4 เรื่อง ในการประชุมรัฐมนตรี ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซป) ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศคือ จีน, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ที่กรุงปักกิ่งประเทศจีน

ดร.สรรเสริญ สมะลาภา กับ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นอกจากนี้ การช่วยงานเรื่องเศรษฐกิจสมัยใหม่และการค้าออนไลน์ คือนโยบาย ที่กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญเช่นกัน จึงจะเตรียมผลักดันเศรษฐกิจสมัยใหม่ เช่น ดิจิทัล, ไบโอ อีโคโนมี, กรีน อีโคโนมี, แชร์ริ่ง อีโคโนมี, ครีเอทีฟ อีโคโนมี และ การค้าออนไลน์ อีกด้วย