การบินไทย ขาดทุน ผลประกอบการ

การบินไทยขาดทุน สั่งลดเงินเดือน-เบี้ยประชุม

มีรายงานว่านายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ออกมาเปิดเผย ได้ขอความร่วมมือตามความสมัครใจเฉพาะในกลุ่มผู้บริหารระดับสูงให้แสดงสปิริตช่วยองค์กรผ่านวิกฤตขาดทุนด้วยการลดค่าตอบแทนและเบี้ยประชุม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการการลดค่าใช้จ่าย เพื่อให้การบินไทยกลับมาสู่สถานะที่แข่งขันได้ในธุรกิจการบินในปัจจุบัน โดยระบุด้วยว่า ขอให้พนักงานในระดับปฎิบัติการทุกคนไม่ต้องกังวลว่าการลดค่าตอบแทนครั้งนี้ จะถูกบังคับใช้ เพราะฝ่ายบริหารจะพยายามจัดการทุกอย่างไม่ให้กระทบถึงความเป็นอยู่ของพนักงาน…

Home / NEWS / การบินไทยขาดทุน สั่งลดเงินเดือน-เบี้ยประชุม

ประเด็นน่าสนใจ

  • การบินไทย หลังประสบภาวะขาดทุน อย่างหนัก
  • ล่าสุดมีรายงานว่าทาง DD การบินไทยได้ออกมาขอความร่วมมือ ผู้บริหารในการลดเงินเดือนและเบี้ยประชุม
  • ผลประกอบการไตรมาส 2 พบขาดทุนกว่า 6,878 ล้านบาท

มีรายงานว่านายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ออกมาเปิดเผย ได้ขอความร่วมมือตามความสมัครใจเฉพาะในกลุ่มผู้บริหารระดับสูงให้แสดงสปิริตช่วยองค์กรผ่านวิกฤตขาดทุนด้วยการลดค่าตอบแทนและเบี้ยประชุม

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการการลดค่าใช้จ่าย เพื่อให้การบินไทยกลับมาสู่สถานะที่แข่งขันได้ในธุรกิจการบินในปัจจุบัน

โดยระบุด้วยว่า ขอให้พนักงานในระดับปฎิบัติการทุกคนไม่ต้องกังวลว่าการลดค่าตอบแทนครั้งนี้ จะถูกบังคับใช้ เพราะฝ่ายบริหารจะพยายามจัดการทุกอย่างไม่ให้กระทบถึงความเป็นอยู่ของพนักงาน และสิ่งนี้ทำให้ถูกตั้งคำถามว่าการบินไทย ขณะนี้อยู่ในภาวะวิกฤตหรือเปล่า

ข้อมูลจากกระทรวงคมนาคมระบุ ในปัจจุบันพบว่าการบินไทยขาดทุนขั้นวิกฤตเสี่ยงต่อการล้มละลาย ขณะนี้การบินไทยหนี้สินรวม 245,133 ล้าน ทำให้อัตราหนี้สินต่อทุน (debt to equity) สูงถึง 14.55 เท่า หนี้สินต่อกระแสเงินสด (debt to EBITDA) 86.43 เท่าตัว

ในขณะที่อัตราส่วนความสามารถชำระภาระผูกพัน (debt service coverage ratio) ลดต่ำลงเหลือแค่ 0.62 เท่า ตรงนี้เองก็ทำให้การบินไทยถูกวิจารณ์ถึงการการลงทุนจัดซื้อเครื่องบินใหม่ 156,000 ล้านบาท ว่าอาจจะทำให้การบินไทยเป็นสายการบินที่มีหนี้มากที่สุดในโลก

ส่วนข้อมูลบริษัท การบินไทย (THAI) แจ้งผลประกอบการต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ไตรมาส 2 ปี 2562 ที่ผานมา พบว่า ขาดทุนสุทธิ 6,878 ล้านบาท ขาดทุนสูงกว่าปีก่อน 3,792 ล้านบาท หรือขาดทุนเพิ่มขึ้น 122.9 %

ขณะที่มีรายได้รวม 4.2 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 4,730 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10 % สาเหตุที่รายได้ลดลงมาจากปริมาณการผลิตลดลงจากปัญหาเครื่องยนต์ที่ส่งผลต่อการใช้งานของเครื่องบิน ประกอบกับปัจจัยลบที่ส่งผลต่อการเดินทางและการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้รายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าลดลง 3,270 ล้านบาท (7.7%)