มหิดล ชวนปลูกต้นไม้ 5 ชนิด ดักฝุ่น PM2.5 อีกหนึ่งทางเลือกป้องกัน

จากกรณีสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในที่โล่งแจ้ง และส่วนมากเริ่มสวมหน้ากาก N95 ที่สามารถป้องกันฝุ่นละลองระดับ PM 2.5 ได้ แต่ก็เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะยาวนั้นคงต้องเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน ทั้งนี้…

Home / NEWS / มหิดล ชวนปลูกต้นไม้ 5 ชนิด ดักฝุ่น PM2.5 อีกหนึ่งทางเลือกป้องกัน

จากกรณีสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในที่โล่งแจ้ง และส่วนมากเริ่มสวมหน้ากาก N95 ที่สามารถป้องกันฝุ่นละลองระดับ PM 2.5 ได้ แต่ก็เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะยาวนั้นคงต้องเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดแถลงข่าว “มาตรการการดูแลสุขภาพและการจัดการทีป่ระชาชนสามารถดำเนินการได้เกี่ยวกับฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5” โดยจากงานวิจัยในหลายๆ ประเทศ พบว่า ต้นไม้ใหญ่ในเมืองโดยทั่วไป สามารถดักจับฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนได้ประมาณ 100 กรัม ซึ่งปริมาณการดักจับฝุ่นละอองจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของฝุ่นละอองด้วย

โดยการคัดเลือกพืชเพื่อดักจับฝุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องยึดเกณฑ์ ไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มที่มีใบที่ใบมีผิวหยาบหรือมีขนจะมีประสิทธิภาพมากกว่าผิวเรียบมัน ต้นไม้ที่ไม่ผลัดใบจะมีประสิทธิภาพดีกว่าไม้ผลัดใบ และพืชที่มีผิวใบโดยรวมมากกว่าจะสามารถดักจับฝุ่นละอองได้มากกว่าพืชที่มีผิวใบน้อย ดังนั้น ต้นไม้ใหญ่และไม้พุ่มที่มีขนาดเล็กจำนวนมากจึงมีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นละอองสูงกว่าต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพรรณพืช 35 ชนิด เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่น โดยแบ่งเป็น ระดับ 1 ถึง ระดับ 5 จากประสิทธิภาพต่ำที่สุดถึงมากที่สุด พบว่า พืชที่อยู่ในระดับ 4 มี 5 ชนิด ได้แก่ ทองอุไร ตะขบฝรั่ง เสลา จามจุรี และ แคแสด

ส่วนพืชที่อยู่ในระดับ 3 ได้แก่ สร้อยอินทนิล เล็บมือนาง กะทกรก ไผ่รวก แก้ว หางนกยูงไทย กรรณิการ์ คริสตินา ข่อย โมกมัน สกุลชงโค ตะแบก อินทนิล

พืชที่อยู่ในระดับ 2 ได้แก่ พวงชมพู อัญชัน พวงคราม วงศ์ส้มกุ้ง ฉัตรพระอินทร์ วาสนา โมกบ้าน สั่งทำ โพทะเล พฤกษ์ ขี้เหล็กเลือด ปอกระสา ตะลิงปลิง ขี้เหล็กบ้าน ชมพูพันธ์ทิพย์

พืชที่อยู่ในระดับ 1 ได้แก่ โมกหลวง ส่วนพืชที่อยู่ในระดับ 5 ในพืชที่ศึกษาไม่มี

 

ขอบคุณข้อมูล bangkokbiznews / ภาพ travel.mthai