เลือกตั้ง เลือกตั้ง2562

เปิดหลักเกณฑ์-วิธีการแบ่งเขตเลือกตั้ง ปี 2562 พร้อมจำนวน ส.ส.ของแต่ละจังหวัด

เริ่มต้นศักราชใหม่ เรื่องราวร้อนๆ เหตุการณ์บ้านเมืองที่ถูกจับตาหนีไม่พ้นการเลือกตั้งที่ถูกเลื่อนแล้วเลื่อนอีกจนกระทั่งปีนี้ที่ยืนยันว่าได้เข้าสู่การเลือกตั้งแน่นอน ซึ่งล่าสุดได้เคาะวันเลือกตั้งเรียบร้อยแล้วเป็นวันที่ 24 มีนาคม หรือไม่เกิน 31 มีนาคมนี้ ทำให้ประชาชนต่างจับตามองและให้ความสนใจอย่างมาก วันนี้ทีมข่าว MThai ได้รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้สำหรับประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยการเลือกตั้งครั้งนี้มี จำนวน ส.ส.…

Home / NEWS / เปิดหลักเกณฑ์-วิธีการแบ่งเขตเลือกตั้ง ปี 2562 พร้อมจำนวน ส.ส.ของแต่ละจังหวัด

เริ่มต้นศักราชใหม่ เรื่องราวร้อนๆ เหตุการณ์บ้านเมืองที่ถูกจับตาหนีไม่พ้นการเลือกตั้งที่ถูกเลื่อนแล้วเลื่อนอีกจนกระทั่งปีนี้ที่ยืนยันว่าได้เข้าสู่การเลือกตั้งแน่นอน

ซึ่งล่าสุดได้เคาะวันเลือกตั้งเรียบร้อยแล้วเป็นวันที่ 24 มีนาคม หรือไม่เกิน 31 มีนาคมนี้ ทำให้ประชาชนต่างจับตามองและให้ความสนใจอย่างมาก วันนี้ทีมข่าว MThai ได้รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้สำหรับประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง หลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยการเลือกตั้งครั้งนี้มี จำนวน ส.ส. 350 เขต

ทั้งนี้ มี ส.ส. ลดลงหากเทียบกับการเลือกตั้งปี 2554 ที่มี ส.ส.แบบแบ่งเขต 375 คน โดย 23 จังหวัดที่มี ส.ส.น้อยลง เกือบทั้งหมดลดจังหวัดละ 1 คน ส่วนจังหวัดกรุงเทพมหานครลดลง 3 คน จังหวัดที่มี ส.ส.น้อยที่สุด 1 คน มี 8 จังหวัด จังหวัดที่มี ส.ส. ตั้งแต่ 10 คน ได้แก่ ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา และกรุงเทพมหานคร

ภาคเหนือ จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตมากที่สุดคือ เชียงใหม่  น้อยที่สุดคือ แม่ฮ่องสอน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่มีจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตมากที่สุดคือ นครราชสีมา น้อยที่สุดคือ มุกดาหาร

ภาคกลาง จังหวัดที่มีจำนวนจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตมากที่สุดคือ กทม.  น้อยที่สุดคือ สมุทรสงคราม สิงห์บุรี อ่างทอง นครนายก

ภาคตะวันออก จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตมากที่สุดคือ ชลบุรี  น้อยที่สุดคือ ตราด

ภาคตะวันตก จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตมากที่สุดคือ กาญจนบุรี น้อยที่สุดคือ ตาก เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์

ภาคใต้ จังหวัดที่มีจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตมากที่สุดคือ นครศรีธรรมราช และสงขลา น้อยที่สุดคือ พังงา และระนอง

จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด มีดังนี้

โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 (พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.) ซึ่งกำหนดหลักการเรื่องจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขต และการแบ่งเขตการเลือกตั้ง  ดังนี้

การกำหนดจำนวน ส.ส. ที่แต่ละจังหวัดควรมี ตามมาตรา 26

1. ให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง หารด้วยจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตทั้งหมดคือ 350 คน จะได้เป็นจำนวนราษฎรต่อ ส.ส.แบบแบ่งเขตหนึ่งคน โดยในการเลือกตั้งปี 2562 กกต. ได้ใช้จำนวนราษฎรตามฐานทะเบียนราษฎรปี 2560 จำนวน 66,188,503 คน มาคำนวณ และเมื่อนำจำนวนดังกล่าวมาหารกับจำนวน ส.ส. 350 เขต ก็จะได้ผลลัพธ์เป็นราษฎรเฉลี่ย 189,110 คน ต่อ ส.ส. หนึ่งคน

2. จังหวัดใดที่มีจำนวนราษฎรไม่ถึง 189,110 คน ให้จังหวัดนั้นมี ส.ส. แบบแบ่งเขตได้หนึ่งคน โดยการเลือกตั้งครั้งนี้มีแปดจังหวัดจาก 77 จังหวัดที่มี ส.ส. แบบแบ่งเขตจังหวัดละหนึ่งคน คือ ตราด นครนายก พังงา แม่ฮ่องสอน ระนอง สมุทรสงคราม สิงห์บุรี และอ่างทอง โดยจังหวัดจำนวนราษฎรน้อยที่สุดคือจังหวัดระนอง 190,399 คน ส่วนจังหวัดที่เหลือส่วนใหญ่มีราษฎเกิน 200,000 คน

3. หากจังหวัดไหนมีจำนวนราษฎรเกินจำนวนราษฎรต่อ ส.ส.แบบแบ่งเขตหนึ่งคน ให้เพิ่มที่นั่ง ส.ส.ไปตามสัดส่วนจำนวนราษฎร และแบ่งเขตเท่าจำนวนของ ส.ส.แบบแบ่งเขต โดยการแบ่งเขตจะต้องคำนึงถึงพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ติดต่อกันและจำนวนราษฎรที่ใกล้เคียงกัน

เกณฑ์การแบ่งเขตเลือกตั้ง ตามมาตรา 27

1. ให้รวมอำเภอเป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง
2. คำนึงถึงลักษณะพื้นที่ที่ใกล้เคียงกัน
3. ความสะดวกในการเดินทาง
4. การเคยอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน

หากรวมอำเภอตามที่ระบุแล้วได้จำนวนราษฎรมากหรือน้อยเกินไปสามารถแบ่งตำบลออกมาได้ แต่จะแยกหมู่บ้านออกจากตำบลไม่ได้ โดยให้แบ่งตามสภาพของชุมชนที่ราษฎรมีการติดต่อกันเป็นประจำมีลักษณะเป็นชุมชนเดียวกันและสามารถเดินทางติดต่อกันได้สะดวก แต่ต้องมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกันมากที่สุด