กองทัพบก ข่าวสดวันนี้ รถถัง รถเกาะ Stryker M1126

เผยโฉม รถเกราะสไตรเกอร์ หลังเดินทางถึงไทยแล้วเมื่อวานนี้

เพจ Smart Soldiers String Army ได้มีการเผยแพร่ภาพ ขณะรถเกราะ Stryker M1126 ได้เดินทางถึงประเทศไทยแล้ว หลังจากที่กองทัพบกได้จัดสรรงบประมาณกว่า 2,960 ล้านบาท ในการจัดซื้อรถรุ่นดังกล่าวจากกองทัพสหรัฐ เข้ามาเสริมศักยภาพทางการทหารให้กับหน่วยทหารราบของไทย…

Home / NEWS / เผยโฉม รถเกราะสไตรเกอร์ หลังเดินทางถึงไทยแล้วเมื่อวานนี้

ประเด็นน่าสนใจ

  • กองทัพบก สั่งซื้อรถเกราะสไตรเกอร์ จำนวน 37 คัน จากสหรัฐ
  • การจัดซื้อครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยทหารราบของกองทัพไทย

เพจ Smart Soldiers String Army ได้มีการเผยแพร่ภาพ ขณะรถเกราะ Stryker M1126 ได้เดินทางถึงประเทศไทยแล้ว หลังจากที่กองทัพบกได้จัดสรรงบประมาณกว่า 2,960 ล้านบาท ในการจัดซื้อรถรุ่นดังกล่าวจากกองทัพสหรัฐ เข้ามาเสริมศักยภาพทางการทหารให้กับหน่วยทหารราบของไทย

โดยการรับมอบรถเหราะใหม่ดังกล่าว พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบกได้เดินทางไปรับมอบด้วยตนเอง ณ สนามบินดอนเมืองด้วย

ขณะที่เพจดังกล่าวระบุว่า เผยโฉม รถเกราะ Stryker ที่มาถึง ดอนเมือง โดยเครื่องบินลำเลียงC-17 ที่ลำเลียง มาลำละ2 คัน รวม4 คันแรก ที่บินมาจาก Hawaii

โดยมี บิ๊กแดง พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. พร้อมด้วย Admiral Phil Davidson, Commander of United States Indo-Pacific Command- ผบ.USINDOPACOM ต้อนรับ

โดยจะนำส่ง ทบ. ล็อตแรก 10 คัน และทำพิธี ส่ง 12 กย.นี้ ที่ บก.ทบ. ก่อนนำเข้าประจำการ ร.112 พล.ร.11 รวม 2 กองพัน ราว 120 คัน โดย 70 คันแรก ส่งมอบหมดภายใน ปีนี้ และอีก 50 คัน ส่งมอบหมดภายในปีหน้า ในจำนวนนี้ เป็นรถ ที่สหรัฐให้เพิ่มพิเศษ รวม 40 คัน

ยืนยัน การจัดซื้อรถเกราะเป็นไปตามแผน

สำหรับการจัดซื้อ รถเกราะ Stryker M1126 เป็นไปตามแผนเสริมสร้างความสมบูรณ์ของกองพลทหารราบที่ 11 (พล.ร.11) จ.ฉะเชิงเทรา ตามร่างแผนแม่บทการปฏิรูปการบริหารจัดการและการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2560-2569 ในส่วนของการปรับปรุงโครงสร้างส่วนกำลังรบของกองทัพบก

โดยได้กำหนดแผนงานเสริมสร้างความสมบูรณ์ให้กับ พล.ร.11 จากเดิมจัดหน่วยแบบกองพลทหารราบมาตรฐาน เป็นการจัดหน่วยแบบกองพลทหารราบเบา โดยมีระยะการดำเนินการตั้งแต่ปี 2560-2571 เพื่อให้กองทัพบกมีหน่วยกำลังรบที่เหมาะสมเพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย

ซึ่ง รถเกาะ Stryker M1126 ถือเป็นยานเกราะล้อยางแบบที่ 3 ของกองทัพบกไทยที่เตรียมนำเข้าประจำการ ต่อจากยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 และยานเกราะล้อยาง VN-1 โดยแต่ละรุ่นก็จะมีลักษณะการใช้งานในหลากหลายภารกิจ แตกต่างกันไปตามสมรรถนะและขีดความสามารถใช้ในภารกิจลำเลียงทหารราบเข้าสู่พื้นที่การรบ ผลิตโดยบริษัท General Dynamics Land Systems ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 350 เเรงม้า น้ำหนักรถอยู่ที่ 16.47 ตัน ตัวรถยาว 6.95 เมตร กว้าง 2.72 เมตร สูง 2.64 เมตร หุ้มด้วยเกราะกันกระสุนขนาด 14.5 มม.

สามารถบรรทุกทหารราบได้ 9 นาย พลประจำรถ 2 นาย อาวุธหลัก (ที่คาดว่าน่าจะติดตั้งมาให้ด้วย) เบื้องต้นคือป้อมปืนรีโมทขนาด 12.7 มม., เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม. พร้อมด้วยท่อยิงระเบิดควัน ระยะทำการ 530 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 100 กม./ชม.

และเมื่อนำมาใช้ในภารกิจลำเลียงทหารราบเข้าสู่พื้นที่การรบ Stryker จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บและสูญเสียต่อทหาร จากอาวุธยิงชนิดต่างๆ ได้ และยังเป็นการออมกำลัง

ลดความเหนื่อยล้าของทหารแทนการเคลื่อนกำลังด้วยการเดินเท้า เมื่อเข้าสู่พื้นที่สู้รบ พื้นที่ฝึกซ้อมหรือปฏิบัติภารกิจแล้ว ทหารราบจะมีสมรรถนะในการรบและปฏิบัติภารกิจได้อย่างเต็ม

ราคาไม่แพงแต่คุ้ม

สำหรับรถเกราะสไตรเกอร์ ที่กองทัพจัดซื้อมานั้น จากแหล่งข่าวรายงานว่า ถือเป็นราคาที่ไม่แพง เนื่องจากรถเกราะสไตรเกอร์ นี้ปรกติแล้วมีเพียงสหรัฐฯ ชาติเดียวที่มีรถเกราะ M1126 Stryker นี้เข้าประจำการ ซึ่งสมรรถนะของรถรุ่นนี้สามารถใช้งานได้ดี ทำให้กองทัพสหรัฐฯ มีประจำการอยู่มากกว่า 4 พันคัน

ส่วนสาเหตุของการที่ทางสหรัฐฯ เลือกที่จะขายรถให้กับทางประเทศไทยนั้น คาดว่ามาจากการลดภารกิจนอกประเทศ จึงทำให้มีส่วนที่จำเป็นต้องระบายรถสำรองออกมา นอกจากนี้ สหรัฐฯ เองยังต้องการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชาติในอาเซียน

นอกจากนี้คาดว่า จะมีการฝึกอบรมการใช้งานรถเกราะสไตรเกอร์นี้หลังจากมีการส่งมอบเรียบร้อย ไปจนถึงช่วงเดือน พ.ย. 2562 นี้ โดยกองทัพสหรัฐฯ อีกด้วย

ข้อแตกต่างระหว่าง “รถเกราะ” หรือ “ยานเกราะ” กับ “รถหุ้มเกราะ”

สำหรับข้อแตกต่างของสองประเภทนี้ หากเทียบง่ายๆคือ ยานเกราะ นั้นคือเอาโครงสร้างที่เป็นเกราะอยู่แล้ว นำมาทำให้เป็นรถที่เคลื่อนที่ได้ (โครงตัวถังที่ขึ้นรูปเป็นเกราะ ทำให้วิ่งได้)

ส่วน รถหุ้มเกราะนั้น คือการนำโครงพื้นฐานที่เป็นรถเดิม มาเสริมเกราะให้มีความปลอดภัยมากขึ้นในภายหลัง (โครงรถที่วิ่งได้ มาเสริมเกราะ)