ข่าวสดวันนี้ ปลอมปนยา อย. อาหารเสริม ไซบูทรามีน

พบอาหารเสริมจากประเทศแคนาดา ฉลากภาษาไทย มีการปลอมปนยา

อย. พบการปลอมปนยาในอาหารเสริมที่มีฉลากภาษาไทย จากประเทศแคนาดา เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อซื้อมาบริโภค อาจได้รับอันตราย นพ. ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ติดตามข้อมูลจากเว็บไซต์ของหน่วยงานที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพจากประเทศแคนาดา (Health Canada)…

Home / NEWS / พบอาหารเสริมจากประเทศแคนาดา ฉลากภาษาไทย มีการปลอมปนยา

อย. พบการปลอมปนยาในอาหารเสริมที่มีฉลากภาษาไทย จากประเทศแคนาดา เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อซื้อมาบริโภค อาจได้รับอันตราย

นพ. ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ติดตามข้อมูลจากเว็บไซต์ของหน่วยงานที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพจากประเทศแคนาดา (Health Canada) ซึ่งแจ้งพบผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาไทย และพบการปลอมปนยาในผลิตภัณฑ์ 10 รายการ ได้แก่

1. Adriana Balance S

2. Asunsa

3. C.U. Plus

4. Grakcu Capsule

5. Nuvitra

6. PAYA Dietary Supplement Product

7. Liangzern Dietary Supplements

8. Baschi Quick Slimming Capsule

9. Lyn DTOX FS3

10. Chapter Plus+

โดยทั้ง 10 รายการ พบการปลอมปนยาไซบูทรามีน ซิลเดนาฟิล ทาดาลาฟิล ฟีนอล์ฟทาลีน ฟลูออกซิทีน และไดโคลฟีแนค เป็นต้น แต่จากการตรวจสอบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพของ อย. พบเลขที่ใบอนุญาตผลิตภัณฑ์เฉพาะ 7 รายการแรก ซึ่งจำนวนนี้มี 3 รายการ คือ ผลิตภัณฑ์ลำดับที่ 2. Asunsa ลำดับที่ 5. Nuvitra และลำดับที่ 7. Liangzern Dietary Supplements ที่ถูกยกเลิกเลขที่ใบอนุญาตไปแล้ว

ส่วนผลิตภัณฑ์ลำดับที่ 8. Baschi Quick Slimming Capsule ลำดับที่ 9. Lyn DTOX FS3 และลำดับที่ 10. Chapter Plus+ พบการแสดงฉลากภาษาไทย แต่ไม่พบข้อมูลการขึ้นทะเบียน ในประเทศไทยแต่อย่างใด

ทั้งนี้ อย. ได้ยกเลิกเลขสารบบอาหารบางรายการเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการยกเลิกเลขสถานที่ผลิตอาหารและเลขสารบบอาหารในผลิตภัณฑ์อีกบางรายการ พร้อมทั้งได้มีการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนอันตรายจากผลิตภัณฑ์แก่ประชาชนผ่านทางสื่อต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม ขอเตือนผู้บริโภคทั้งในประเทศและผู้ที่ เดินทางไปต่างประเทศอย่าซื้อผลิตภัณฑ์ตามรายชื่อดังกล่าวมารับประทาน เพราะเสี่ยงได้รับอันตรายจาก สารที่ปลอมปนมากับผลิตภัณฑ์ เช่น ฟลูออกซิทีน อาจทำให้ง่วงซึม มึนงง นอนไม่หลับ อาเจียน ใจสั่น ตาพร่ามัว สมรรถภาพทางเพศลดลง ซิลเดนาฟิล

อาจทำให้เกิดอาการตัวแดง ท้องเสีย ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ สูญเสียการมองเห็น ไซบูทรามีน ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว อาจถึงขั้นเสียชีวิต เป็นต้น และอย่าหลงเชื่อโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ให้ระมัดระวังการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ เนื่องจากมักจะตรวจพบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน หรือผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมาย ปนเปื้อนสารที่ไม่ได้รับอนุญาต ไม่ผ่านการรับรองจาก อย.

ทั้งนี้ก่อนการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพใด ๆ ขอให้ผู้บริโภคตรวจสอบสถานะเลข อย. โดยสามารถตรวจได้ด้วยตัวเองผ่าน 4 ช่องทาง คือ Line : FDAthai, ORYOR Smart Application, เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th และเว็บไซต์ www.oryor.com

หากพบเลขผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับฐานข้อมูลของ อย. หรือพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ E-mail:1556@fda.moph.go.th หรือตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11000 หรือผ่านทาง Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ