ภาษี สรรพากร

‘สรรพากร’ แจงอีกครั้ง ‘ภาษีแบบใหม่’ เผยแพร่ในโซเชียลฯ เป็นแค่ข้อเสนอ ยังไม่มีผลบังคับใช้ในปี 2562

นายปิ่นสาย สุรัสวดี โฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ข้อความตามที่เผยแพร่ดังกล่าว เป็นข้อเสนอของคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากรที่ได้มีการนำเสนอในการจัดสัมมนา เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา โดยต่อมาทางคณะอนุกรรมการฯ ได้ส่งข้อเสนอดังกล่าวให้กรมสรรพากรเพื่อพิจารณา…

Home / NEWS / ‘สรรพากร’ แจงอีกครั้ง ‘ภาษีแบบใหม่’ เผยแพร่ในโซเชียลฯ เป็นแค่ข้อเสนอ ยังไม่มีผลบังคับใช้ในปี 2562

ประเด็นน่าสนใจ

  • มีข่าวเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์มาตั้งแต่เมื่อปลายปี 2561 เรื่องการปฏิรูปภาษีสรรพากรแบบใหม่ทั้งระบบ พร้อมระบุว่าจะนำมาปรับใช้ภายในปี 2562
  • สรรพากรชี้แจงว่า การปฏิรูปภาษีสรรพากรเป็นเพียงข้อเสนอของคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากร ยังไม่เป็นกฎหมาย และไม่มีผลบังคับใช้ในปี 2562

นายปิ่นสาย สุรัสวดี โฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ข้อความตามที่เผยแพร่ดังกล่าว เป็นข้อเสนอของคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขประมวลรัษฎากรที่ได้มีการนำเสนอในการจัดสัมมนา เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา

โดยต่อมาทางคณะอนุกรรมการฯ ได้ส่งข้อเสนอดังกล่าวให้กรมสรรพากรเพื่อพิจารณา ซึ่งปัจจุบันกรมสรรพากรอยู่ระหว่างการศึกษาและนำข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อเสนอแนะของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) มาประกอบการพิจารณาเพื่อปรับปรุงประมวลรัษฎากรในประเด็นต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน พร้อมทั้งเป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดเก็บภาษี การยกระดับความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ ข้อความตามที่เผยแพร่ดังกล่าว เป็นการสรุปภาษีสรรพากรแบบใหม่ โดยระบุว่าเตรียมปรับใช้ภายในปี 2562 เช่น

  • อายุ 18 ปี ทุกคนต้องยื่นแบบภาษีไม่ว่ารายได้เท่าไหร่ จากเดิมที่รายได้ไม่เกิน 120,000 บาทต่อปี ไม่ต้องยื่นภาษี
  • ลดเพดานภาษีบุคคลจาก 35% เหลือ 25% เพื่อส่งเสริมรายย่อยให้ทำธุรกิจ ปรับเงินได้ใหม่เหลือ 3 ประเภท และให้หักค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
  • ปรับลดเงินได้นิติบุคคลเป็นรวมไม่เกิน 25% จาก 28%
  • ปรับภาษีมูลค่าเพิ่มของกิจการ เดิมรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ปรับเป็นรายได้เกิน 10 ล้านบาท (ถ้าไม่ถึงเสีย 2% แทน)