ทิม พิธา พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สินค้าเกษตร

ถูกใจแฟนคลับ! ทิม พิธา ลุกอภิปราย หนุนแปรรูปผลผลิตเกษตร

เมื่อวานนี้ ( 3 ก.ค. 62 ) ที่ หอประชุมทีโอที ถนนแจ้งวัฒนะ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ได้อภิปรายหารือกับที่ประชุมสภาฯเรื่องปัญหาด้านการเกษตร โดยเสนอแก้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ 3…

Home / NEWS / ถูกใจแฟนคลับ! ทิม พิธา ลุกอภิปราย หนุนแปรรูปผลผลิตเกษตร

ประเด็นน่าสนใจ

  • พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ลุกอภิปรายในญัตติด่วน ขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งกรรมาธิการวิสามัญแก้ปัญหาราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ
  • เสนอแก้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ 3 ระยะ สั้น กลาง ยาว
  • ซึ่งในการอภิปรายนี้ เขาต้องการสนับสนุน ให้แปรรูปผลิตผลเกษตรเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าในระยะยาว

เมื่อวานนี้ ( 3 ก.ค. 62 ) ที่ หอประชุมทีโอที ถนนแจ้งวัฒนะ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ได้อภิปรายหารือกับที่ประชุมสภาฯเรื่องปัญหาด้านการเกษตร โดยเสนอแก้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ 3 ระยะ “สั้น – กลาง- ยาว”

โดยนายพิธา กล่าวว่า ในระยะสั้นนั้นเป็นเรื่องของฤดูกาล เรื่องการลักลอบ การนำเครื่องจากต่างประเทศ การเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการกดดันราคาเกษตรอย่างต่อเนื่อง ผลไม้ไทยถือได้ว่าเป็นสินค้าเกษตรที่ส่งออกหลักของประเทศ ซึ่งปัญหาสำคัญคือล้งต่างประเทศ

อาทิเช่น ลำไย เป็นสินค้าเกษตรที่มีการผลักดันให้ปลูกนอกฤดูกาล ซึ่งจะแบ่งเกรดของผลผลิตตั้งแต่ดีที่สุดจนคัดเกรดต่ำสุด โดยลำไยที่ส่งออกต่างประเทศจเป็นต้องพึ่งล้งต่างประเทศ ทั้งนี้ล้งต่างประเทศนั้นมีวิธีการในการเอารัดเอาเปรียบกดดันสินค้าให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เพื่อให้ได้ซึ่งที่มาของราคาลำไยถูกลง

ในส่วนปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรในปัจจุบัน ยกตัวอย่างมะพร้าวที่ตอนราคาอยู่ที่ลูกละ 5 บาท ย้อนหลัง 5 ปี ราคามะพร้าวจะอยู่ที่ประมาณ 17-20 บาทต่อลูก ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคามะพร้าวตกนั้นคือ การลักลอบมะพร้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาสู่ประเทศไทย รวมถึงการนำเข้าตามโควต้าการนำเข้ามะพร้าว เข้ามาในช่วงที่มะพร้าวกำลังออกดอกและผล ทำให้เกิดการตกสำรวจไป เช่นเดียวกับสินค้าด้านการประมงมีการลักลอบนำเข้ามาถึง 30-40%

นายพิธา กล่าวต่ออีกว่า ส่วนในระยะกลางนั้น เกษตรของประเทศไทยนั้นมีการพัฒนาแบบพืชเชิงเดียวมาโดยตลอด พืชเศรษฐกิจของไทย 5 ชนิดคือ ข้าว ยาง มัน ปาล์ม และอ้อย รวมกันมีพื้นที่เพาะปลูกกว่า 80% ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการกระจุกตัวของพื้นที่ และเป็นการทำการเกษตรแบบความเสี่ยงสูงแต่ผลตอบแทนต่ำ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการส่งออกสินค้าเกษตรที่กระจุกอยู่แค่ประเทศจีน ซึ่งส่วนนี้ทางพาณิชย์ต้องเร่งเปิดตลาดใหม่ให้กับสินค้าการเกษตรไทย

สำหรับการแก้ปัญหาใน ระยะยาว เรื่องการแปรรูป โดยมองว่าพืชผลทางการเกษตรที่เด่นของแต่ละจังหวัด ควรมีการแปรรูปจากในพื้นที่จังหวัดตัวเอง เพื่อลดค่าส่งในการนำสินค้าเกษตรไปแปรรูปอีกจังหวัด ส่วนการแปรรูปข้ามอุตสาหกรรมนั้น ยกตัวอย่างว่าจริงๆ ข้าว 1 เม็ดแปรรูปเป็นข้าวได้แค่ 40% ยังมีแกลบ รำข้าว จมูกข้าว ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำไปแปรรูปทั้งด้านวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าได้อีกมากมาย

เช่นเดียววัฒนธรรมการดื่มของคนไทย ซึ่งปัจจุบันเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการที่เราไปซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากร้านค้า นั้นคือเราสนับสนุนสินค้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น หากมองย้อนกลับมาที่สินค้าเกษตรของไทยไม่สามารถแปรรูปไปเป็นเครื่องดื่มแอลกดฮอล์ได้ เนื่องจากกฎหมายบางประการ

“ซึ่งต้องย้ำว่าการการสนับสนุนให้มีการแปรรูปสินค้าเกษตรให้เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เท่ากับการสนับสนุนให้ดื่มแอลกอฮอล์ ในขณะที่มีกฎหมายควบคุมและการสร้างความรับผิดชอบในการดื่มแอลกอฮอล์ เราบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากต่างประเทศ แต่กฎหมายมีการควบคุมไม่ให้เกษตรกรสามารถแปรรูปสินค้าเกษตรของตัวเอง เค้าไม่มีสิทธิ์ที่จะเพิ่มมูลค้าให้กับสินค้าเกษตรได้เลยหรือ?” นายพิธา กล่าว