เรียกร้องค่าเสียหาย แพทย์ตรวจผิดพลาด

นักกฏหมายแนะนำประชาชน เรียกค่าเสียหาย หากแพทย์ตรวจผิดพลาด

ไม่ใช่ครั้งแรกที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการวินิจฉัยที่ผิดพลาดของแพทย์ ซึ่งหลายๆ ครั้งไม่ได้เกิดการเรียกร้องค่าเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งกรณีนี้นักกฏหมายแนะนำว่า สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ทั้งทางร่างกาย และ จิตใจ หากตรวจแล้วพบว่าเป็นการวินิจฉัยที่ผิดพลาดจริง ติดตามได้จากรายงานของ คุณ สานนท์ เจริญพันธุ์ ใบหน้าของนางมณีรัตน์ คงหอม หลังทราบผลตรวจเชื้อHIVจากสภากาชาดไทย…

Home / NEWS / นักกฏหมายแนะนำประชาชน เรียกค่าเสียหาย หากแพทย์ตรวจผิดพลาด

ไม่ใช่ครั้งแรกที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการวินิจฉัยที่ผิดพลาดของแพทย์ ซึ่งหลายๆ ครั้งไม่ได้เกิดการเรียกร้องค่าเสียหายเกิดขึ้น

ซึ่งกรณีนี้นักกฏหมายแนะนำว่า สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ทั้งทางร่างกาย และ จิตใจ หากตรวจแล้วพบว่าเป็นการวินิจฉัยที่ผิดพลาดจริง ติดตามได้จากรายงานของ คุณ สานนท์ เจริญพันธุ์

ใบหน้าของนางมณีรัตน์ คงหอม หลังทราบผลตรวจเชื้อHIVจากสภากาชาดไทย ที่ผลออกมาไม่พบเชื้อในตัวเธอ หลังจากที่ 5 ปีที่ผ่านมาเธอต้องทนทุขกับการที่ทราบว่าในตัวเธอมีเชื้อ HIV ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกในสังคมไทยที่พบการตรวจที่ผิดพลาดของแพทย์

นักกฏหมายแนะนำประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการผิดพลาดของแพทย์ ว่า จะต้องพิสูจน์ว่ามีการผิดพลาดในการตรวจ ขั้นตอนใด อย่างไร เพื่อนำหลักฐานไปเบิกความต่อศาล หาผู้รับผิดชอบในความผิดพลาด

ผู้กระทำผิดจะมีความผิดฐานประมาทจนทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฏหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา420 ซึ่งหากเป็นการประมาทของแพทย์ โรงพยาบาลก็จะต้องเป็นผู้จ่ายค่าเสียหาย

จากนั้นจะไปเอาผิดกับแพทย์ที่ตรวจอย่างไรก็เป็นเรื่องของโรงพยาบาล ซึ่งตามกฏหมายหากเป็นโรงพยาบาลของรัฐ จะจ่ายค่าเสียหายไม่เกิน 4 แสนบาท และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะพิจารณาจ่ายเพิ่มเติมตามแต่ละกรณีไป

ซึ่งการตรวจผิดพลาดของแพทย์ไม่มีความผิดทางอาญา หากการกระทำนั้นไม่ทำให้ถึงแก่ความตาย หรือเป็นการกลั่นแกล้งให้ผลตรวจออกมาผิดจนกระทบการใช้ชีวิต ซึ่งในกรณีการกลั่นแกล้งจะถูกยึดใบประกอบวิชาชีพด้วย

ทั้งนี้ หากเป็นกรณีการตรวจเชื้อ HIV ผิดพลาด สามารถฟ้องร้องค่าเสียหายได้ถึงหลักล้านบาท ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ในการฟ้องร้องตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งการฟ้องร้องสามารถฟ้องหน่วยงานที่ปฏิบัติงานได้เท่านั้น

จากข่าวการตรวจผิดพลาดหลายครั้งของแพทย์ อาจเป็นเหตุให้หลายคนไม่มั่นใจในผลตรวจ นายแพทย์ อำนาจ กุสลานันท์ อุปนายกแพทยสภา แนะนำว่า ให้ตรวจซ้ำเพื่อความแน่ใจ หากเป็นการตรวจเชื้อ HIV จะมีการตรวจที่ละเอียดกว่าเดิมเพื่อยืนยันอีก2-3ครั้ง หรือ เปลี่ยนสถานที่ตรวจ เพื่อเปลี่ยนเครื่องมือ

สุดท้ายผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพัธุ์ ควรตรวจทันทีหลังได้รับความเสี่ยงมาก หากไม่พบในการตรวจครั้งแรก ควรตรวจซ้ำอีกครั้งหลังผ่านไป 6 สัปดาห์ 3 เดือน และ 9 เดือน หากไม่พบการติดเชื้อก็จะถือว่าปลอดภัย

สรวิศ พุ่มมะเดื่อ ถ่ายภาพ
สานนท์ เจริญพันธุ์ MONO29 รายงาน