กองทัพไทย ทหาร ธงชัยเฉลิมพล ธงไชยเฉลิม

‘ธงชัยเฉลิมพล’ สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของทหาร

‘ธงชัยเฉลิมพล’ เมื่อธงนี้โบกสะบัดอยู่ ที่ใดย่อมหมายความว่า พระเจ้าอยู่หัวฯ ประทับอยู่ ณ ที่นั้น ‘ธงชัยเฉลิมพล’ คือสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของเหล่าทหาร ให้ทุกคนมีความกล้าหาญก่อนการออกศึก และ เป็นมิ่งขวัญแก่ทหารทั้งปวงเมื่อธงนี้โบกสะบัดอยู่ ที่ใดย่อมหมายความว่า พระเจ้าอยู่หัวฯ ประทับอยู่…

Home / NEWS / ‘ธงชัยเฉลิมพล’ สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของทหาร

‘ธงชัยเฉลิมพล’ เมื่อธงนี้โบกสะบัดอยู่ ที่ใดย่อมหมายความว่า พระเจ้าอยู่หัวฯ ประทับอยู่ ณ ที่นั้น

‘ธงชัยเฉลิมพล’ คือสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของเหล่าทหาร ให้ทุกคนมีความกล้าหาญก่อนการออกศึก และ เป็นมิ่งขวัญแก่ทหารทั้งปวงเมื่อธงนี้โบกสะบัดอยู่ ที่ใดย่อมหมายความว่า พระเจ้าอยู่หัวฯ ประทับอยู่ ณ ที่นั้น

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กองทัพบกประกอบพิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหาร เนื่องในวันกองทัพบก ประจำปี 2562 ที่ ลานอเนกประสงค์ กองทัพภาคที่ 1 ภายใน กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์

โดยวันกองทัพบกและวันกองทัพไทย ถือว่าเป็นวันที่รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย เป็นโอกาสสำคัญที่ข้าราชการทหารจะได้กระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล เนื่องจากเป็น พิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ผู้ที่เข้ารับราชการ เพื่อความเป็นสิริมงคลตลอดชีวิตการรับราชการ

ซึ่งธงไชยเฉลิมพลหรือธงชัยเฉลิมพลนั้น เดิมเรียกว่า ” ธงประจำทัพ ” มีความหมายอย่างยิ่งสำหรับทหารทุกนายเพราะถือว่าเป็นตัวแทน จอมทัพ เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของเหล่าทหารหาญยามออกรบ และเป็นมิ่งขวัญแก่ทหารทั้งปวงเมื่อธงนี้โบกสะบัดอยู่ ที่ใดย่อมหมายความว่า พระเจ้าอยู่หัวฯ ประทับอยู่ ณ ที่นั้น จำเป็นที่ทหารทั้งหลายจะต้องติดตามธงนั้นจนถึงที่สุด และต้องคุ้มครองป้องกันธงชัยเฉลิมพลไว้ด้วยชีวิตตนเอง เพราะถ้าธงตกถึงเงื้อมมือศัตรูย่อมหมายถึงการสูญสิ้นซึ่งจอมจตุรงค์ สำหรับธงชัยเฉลิมพลจะมีลักษณะคล้ายธงชาติ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นผู้ทรงประกอบพระราชพิธีด้วยพระองค์เอง

สำหรับ ธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหาร องค์พระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นพระราชทานแก่หน่วยทหารเป็นคราวๆละหลายธง โดยประกอบพิธีสำคัญทางศาสนา พระราชพิธีตรึงหมุด ธงชัยเฉลิมพล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีนี้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ท่ามกลางพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ชั้นผู้ใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรึงธงแต่ละผืนติดกับด้ามธง โดยทรงตอกฆ้อนเงินลงบนตะปูทองเหลืองอย่างแน่น ธงหนึ่งมีรูตะปูประมาณ 32-35 ตัว ที่ส่วนบนของคันธงจะมีลักษณะเป็นปุ่มโลหะกลึงกลมสีทองภายในกลวง ปุ่มกลมนั้นทำเป็นฝาเกลียวปิด-เปิดได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงบรรจุเส้นพระเจ้า (เส้นพระเกศาของพระเจ้าอยู่หัว) พร้อมด้วยพระพุทธรูปที่ได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ชื่อ พระยอดธง ลงในปุ่มกลมแล้วทรงปิดฝาเกลียวขันแน่น ทรงเจิมแป้งกระแจะจันทน์ที่ยอดธงทุกคัน พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา แล้วจึงทำพิธีมอบธงชัยเฉลิมพลให้กับหน่วยต่าง

สำหรับธงชัยเฉลิมพลนั้นเป็นสัญลักษณ์สำคัญของสถาบันสูงสุด อันได้แก่ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และความหมายของธง และความหมายสำคัญของธงชัยเฉลิมพล มี 3 ประการ คือ 1. ผืนธง หมายถึง ชาติ 2.บนยอดธงบรรจุพระพุทธรูป หมายถึง พุทธศาสนา3.เส้นพระเจ้าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หมายถึง องค์พระมหากษัตริย์

ส่วนประกอบของธงมีดังนี้

1. ยอดคันธง เป็นรูปช้างสามเศียรภายใต้พระมหามงกุฎ ทำด้วยโลหะสีทอง

2. คันธง กว้างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 เซนติเมตร ยาว 2.43 เมตร

3. คันธงระหว่างฐานช้างสามเศียรกับมุมบนของธง มีแถบธงชาติเป็นโบหูกระต่ายห้อย ชายทั้งสองยาวเลยมุมธงด้านล่าง ปลายชายแถบทั้งสองเป็นครุย

4. คันธงตอนที่ตรงกับธงมีสักหลาดสีแดงต่อกับริมธงหุ้มรอบคันธง มีหมุดทำด้วยโลหะสีทอง 15 หมุด หมุดที่ 1 เป็นรูปประเทศไทย หมุดที่ 2 เป็นรูปเสมาธรรมจักร หมุดที่ 3 เป็นรูปพระปรมาภิไธยย่อ หมุดที่ 4 เป็นรูปรัฐธรรมนูญ หมุดต่อไป เป็นรูปเครื่องหมาย กองทหารเรือ หมุดที่ 1 อยู่บนสุด หมุดต่อไป เรียงลงมาตามลำดับ

ดังนั้น การปฏิบัติต่อธงชัยเฉลิมพลทุกขั้นตอน ต้องเป็นไปตามพิธีการ ระเบียบแบบแผนที่วางไว้อย่างเข้มงวดกวดขัน และผู้ถือธงจะต้องได้รับการเลือกสรรอย่างดี หากเปรียบในสมัยโบราณผู้ที่จะต้องนำธงชัยเฉลิมพลออกร่วมทำการรบ พลประจำธงจะต้องเป็นผู้ที่แข็งแรง มีความสามารถ และต้องรักษาธงชัยเฉลิมพลไว้ได้ ด้วยชีวิต