ข่าวภูมิภาค ที่ราชพัสดุ เกาะเต่าลุ้น เอกสารสิทธิ์ที่ดิน

ชาวบ้านเกาะเต่าลุ้น!! เอกสารสิทธิ์ที่ดินไม่ใช่ที่ราชพัสดุทั้งเกาะ

รองผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบกองทัพภาคที่4 ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบ เพื่อหาข้อเท็จจริงกรณีชาวบ้านร้องเรียนที่ราชพัสดุแปลงเกาะเต่า เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบกองทัพภาคที่4 ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบ เพื่อหาข้อเท็จจริงกรณีชาวบ้านร้องเรียนที่ราชพัสดุแปลงเกาะเต่า พร้อมด้วยคณะทำงานประกอบด้วย นายเกริกไกร…

Home / NEWS / ชาวบ้านเกาะเต่าลุ้น!! เอกสารสิทธิ์ที่ดินไม่ใช่ที่ราชพัสดุทั้งเกาะ

รองผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบกองทัพภาคที่4 ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบ เพื่อหาข้อเท็จจริงกรณีชาวบ้านร้องเรียนที่ราชพัสดุแปลงเกาะเต่า

เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบกองทัพภาคที่4 ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบ เพื่อหาข้อเท็จจริงกรณีชาวบ้านร้องเรียนที่ราชพัสดุแปลงเกาะเต่า พร้อมด้วยคณะทำงานประกอบด้วย นายเกริกไกร สงธานี นายอำเภอเกาะพะงัน นายอุดร สีลาพันธ์ ธนารักษ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทหารมณฑลทหารบกที่45 ฝ่ายปกครองอำเภอเกาะพะงัน และตัวแทนภาคประชาชนเกาะเต่า ได้ร่วมสรุปผลการตรวจสอบที่ราชพัสดุแปลงเกาะเต่า ที่ห้องประชุมแบนด์ไดร์ฟวิ่ง รีสอร์ท ต.เกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี

จากที่ผ่านมาสถานะของที่ดินเกาะเต่าตามกฎหมาย มีสถานะเป็นที่ราชพัสดุทั้งเกาะ ชาวบ้านเกาะเต่าซึ่งเป็นผู้บุกเบิกและทายาทผู้บุกเบิกเกาะเต่า ได้โต้แย้งและยืนยันว่าชาวบ้านมีการบุกเบิกครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินเกาะเต่ามาก่อนปีพ.ศ. 2480 ซึ่งมีการร้องเรียนขอความเป็นธรรมมาโดยตลอด และจากการร้องเรียนนี้ทางนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมแก้ไขปัญหาที่ดินเกาะเต่า เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2561 และแต่งตั้ง คณะทำงานตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริงที่ดินแปลงเกาะเต่า กรณีราษฎรร้องเรียนที่ราชพัสดุ เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2561 เพื่อรวบรวมหลักฐานข้อเท็จจริงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับที่ดินเกาะเต่าเพื่อพิสูจน์ว่า “เกาะเต่าเป็นที่ราชพัสดุทั้งเกาะหรือไม่อย่างไร

พ.ท.ดุสิต เกสรแก้ว หัวหน้าชุดเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดิน กองบัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่44 ได้รายงานสรุปหลังจากการประมวลข้อพิจารณาตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือราชการ การพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ การสำรวจทางแปลงที่ดิน การพิสูจน์อายุพืชผลอาสิน และการสอบบันทึกถ้อยคำราษฎรผู้สูงอายุตั้งแต่วันที 1 ก.ย.-_30 พ.ย. 2561 สรุปความได้ว่า

1.เกาะเต่าไม่ปรากฎหลักฐานการประกาศหรือพระราชกฤษฏีกาสงวนหวงห้ามพื้นที่เกาะเต่า

2.ทะเบียนที่ราชพัสดุแปลงเกาะเต่าไม่ถูกต้อง

-ที่มาของทะเบียนที่ราชพัสดุแปลงเกาะเต่าไม่ถูกต้องกรมธนารักษ์ลงรายการในทะเบียนที่ราชพัสดุแปลงเกาะเต่า โดยไม่มีหลักฐานการได้มาและใช้ประโยชน์ที่ดินเกาะเต่าจากกรมราชทัณฑ์

-ทะเบียนที่ราชพัสดุแปลงเกาะเต่าไม่ถูกต้อง ตามระเบียบการปกครองและจัดประโยชน์ที่ดินปลูกสร้างที่ราชพัสดุ พ.ศ.2485 และระเบียบสารบรรณ พ.ศ.2485

-รายการในระเบียนที่ราชพัสดุแปลงเกาะเต่า ปีที่กรมราชทัณฑ์นำส่งขึ้นทะเบียน พ.ศ.2478 ไม่ถูกต้อง และข้ออ้างของกรมธนารักษ์ว่า กรมราชทัณฑ์ใช้เรือนจำเกาะเต่ากักขังนักโทษทางการเมืองเมื่อปี พ.ศ.2476 ไม่ถูกต้อง

-อาณาเขตในทะเบียนที่ราชพัสดุแปลงเกาะเต่า ลงรายการโดยไม่มีหลักฐานจากกรมราชทัณฑ์และเป็นการลงทะเบียนคนละคราวกัน

3.กรมราชทัณฑ์ไม่ได้ใช้ประโยชน์เกาะเต่าทั้งเกาะเป็นที่กักขังนักโทษ ใช้เฉพาะพื้นที่เรือนจำบริเวณแม่หาด จำนวน 25 ไร่เศษเท่านั้น

4.การแจ้งการครอบครองที่ดินแปลงเกาะเต่า(ส.ค.1)ของกระทรวงการคลัง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิใดๆต่อกระทรวงการคลัง และถือเป็นการกระทำที่ปิดกั้นโอกาสการใช้สิทธิ์ของราษฎร

5.จากผลการสอบปากคำผู้สูงอายุซึ่งเป็นทายาทของผู้เข้ามาจับจองหรือเป็นผู้มาจับจองที่เกาะเต่าจำนวน 47 คน บรรพบุรุษของราษฎรเริ่มเข้ามาจับจองที่ดินเกาะเต่าทำสวนมะพร้าวก่อนปี พ.ศ.2480โดยราษฎรได้ครอบครองที่ดินติดต่อจากบรรพบุรุษของตนซึ่งเสียชีวิตไปแล้วมาจนถึงปัจจุบัน และผลการสุ่มตรวจพิสูจน์อายุต้นมะพร้าวอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2477-2485 จำนวน 5 ต้น ระห่วางปี พ.ศ.2486-2487 จำนวน 6ต้น ระห่วางปี พ.ศ.2488-2490 จำนวน 8 ต้น และระห่วางปี พ.ศ.2491-2495 จำนวน 15 ต้น

ทางด้าน พล.ต.เกรียงไกร ศรีรักษ์ ประธานคณะทำงานฯ กล่าวว่า จากการทำงานของคณะทำงานได้ข้อสรุปขั้นต้นว่า ที่ราชพัสดุพื้นที่เกาะเต่าน่าจะเป็นเฉพาะส่วนหนึ่งไม่ใช่ทั้งเกาะ ซึ่งหลังจากนี้จะต้องส่งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงมาไปให้คณะกรรมการระดับจังหวัดเข้าสู่การพิจารณา แต่ผลจะออกมาอย่างไรก็ตามสิทธิ์ของชาวบ้านในการทำกินในที่ที่ครอบครองอยู่ก็ยังคงมีอยู่ แต่จะออกมารูปแบบไหนก็เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎ ถ้าหากพิสูจน์ว่าเป็นที่ราชพัสดุทั้งหมด ทางกรมธนารักษ์ก็จะให้ชาวบ้านที่ครอบครองอยู่ดำเนินการเช่าเพื่อที่จะทำมาหากินต่อไป แต่ถ้าปรากฎว่าที่ราชพัสดุไม่ใช่ทั้งเกาะ สิทธิการครอบครองของพี่น้องประชาชนขึ้นอยู่ว่าจะเป็นเอกสารสิทธิ์ชนิดใด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากการประชุมเสร็จได้มีตัวแทนชาวบ้านกว่า 200 คน ได้มามอบดอกกุหลาบสีแดงให้กับพล.ต.เกรียงไกร ศรีรักษ์ และคณะทำงาน เพื่อแสดงความขอบคุณในครั้งนี้อีกด้วย