วัคซีนโควิด-19

สธ. กรณีผู้ป่วยเสียชีวิตจากเส้นเลือดโป่งพอง ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน

ดยผู้ป่วยเสียชีวิตจากเส้นเลือดแดงแตก ซึ่งเป็นโรคเดิมที่ได้รับการรักษาอยู่ก่อนหน้าแล้ว และมีความเสี่ยงในการเสียชีวิต

Home / NEWS / สธ. กรณีผู้ป่วยเสียชีวิตจากเส้นเลือดโป่งพอง ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน

ประเด็นน่าสนใจ

  • กรณีมีการรายงานผู้เสียชีวิต หลังจากได้รับวัคซีน โดยผลสรุปเบื้องต้นพบว่า การเสียชีวิตไม่เกี่ยวข้องกับการได้รับวัคซีนแต่อย่างใด
  • โดยผู้ป่วยเสียชีวิตจากเส้นเลือดแดงแตก ซึ่งเป็นโรคเดิมที่ได้รับการรักษาอยู่ก่อนหน้าแล้ว และมีความเสี่ยงในการเสียชีวิต
  • ย้ำ ให้ประชาชนรับข้อมูล และเข้าใจให้ชัดเจน ซึ่งในกรณีนี้เป็นการติดตามผลหลังการได้รับวัคซีน หากมีผู้เสียชีวิต หรือมีอาการใด ๆ ก็จำเป็นที่จะต้องรายงานเข้าระบบและมีการตรวจสอบตามมา
  • ย้ำ วัคซีนที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ มีความปลอดภัย โดยเฉพาะมีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้ติดโควิด-19 และป้องกันไม่ให้มีอาการป่วยรุนแรงได้ดีมาก

วันนี้ ( 26 มี.ค.) กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์โควิด-19 เกี่ยวกับกรณีที่มีผู้ป่วยเส้นเลือดในท้องโป่งพอง เสียชีวิตหลังจากได้รับวัคซีนโควิด-19 โดยผลการสอบสวนเบื้องต้นระบุว่า ผุ

ผู้ป่วยชาย มีโรคประจำตัวอยู่เดิม คือ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ โป่งพอง ได้รับการผ่าตัดเมื่อช่วยปลายเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งภายหลังการผ่าตัด แพทย์ได้อนุญาตให้กลับบ้านได้ หลังจากนั้น ผู้ป่วยมีความเสี่ยง จึงเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม และเดินทางกลับบ้าน

โดยผู้ป่วยรายนี้ ในช่วงวันที่1และ 3 หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ระบุว่า มีอาการเป็นปรกติดี จนกระทั่งในวันที่ 7 หลังจากฉีดวัคซีน ทางเจ้าหน้าที่ ก็ได้ติดต่อกลับไป เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้แจ้งรายงานผลกลับมา พบว่า ผู้เสียชีวิตรายนี้ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ด้วยอาการแน่นหน้าอก วิงเวียนศรีษะ และเป็นลม

หลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คนไข้มีอาการทรุดลง ก่อนที่ในวันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา ก็เสียชีวิตลง โดยแพทย์ได้สรุปการเสียชีวิตว่า ผู้ป่วยมีอาการหลอดเลือดแดงโป่งพอง และมีอาการแตกหรือรั่ว จากโรคเดิม ซึ่งในการสรุปเบื้องต้น พิจารณาแล้วว่า ไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด

นพ. ทวี โชติพทยสุนนท์ ยังกล่าวถึงโรคเส้นเลือดแดงใหญ่ นี้ว่า โดยปรกติร่างกายคนเราจะมีเส้นเลือดแดงใหญ่ ที่ทำหน้าที่นำเลือดแดงไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ผ่านลงทางช่องอก – ช่องท้อง ก่อนแตกแขนงไปยังเส้นเลือดแดงขนาดเล็กในร่างกาย ซึ่งเส้นเลือดแดงนี้ มีขนาดใหญ่ เหมือนกับท่อเมน ของท่อน้ำประปา

ซึ่งความผิดปรกติของหลอดเลือดแดงที่โป่งพองนี้ จะเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ / ผู้ที่มีอายุมาก เนื่องจากเนื้อเยื่อเสื่อมสลายลงไปตามวัย หรืออาจจะเกิดจากโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ หรือผู้มีความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง เช่นผู้สูบบุหรี่ มีส่วนน้อยที่เป็นความพิการมาตั้งแต่กำเนิด

ปัญหาของโรคนี้ คือเป็นโรคที่ไม่มีอาการ และส่วนใหญ่ตรวจเจอโดยบังเอิญ จากอาการเจ็บหน้าอก เจ็บท้องอย่างเฉียบพลัน เป็นต้น ซึ่งเมื่อพบ ก็จะมีการผ่าตัด และโอกาสเสี่ยงก็มีสูงเนื่องจากแรงดันเลือดในเส้นเลือดแดงนั้นมีมาก ทำให้ต้องมีโอกาสหลอดเลือดแดงแตกได้

ในกรณีผู้ป่วยรายนี้ ในช่วงวันที่ 7 – 8 หลังรับวัคซีน ก็มีอาการจุกที่ลิ้นปี่ เหนื่อย ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากการรั่วซึม หรือแตกของเส้นเลือดแดง ดังนั้น จึงเป็นเหตุบังเอิญที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการฉีดวัคซีน ทำให้มีความเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน ดังนั้นในผลสรุปเบื้องต้น จึงไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แต่อย่างใด

เป็นการรายงานตามปรกติ

ซึ่งในการรายงานผู้เสียชีวิตที่เกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีการติดตามผลหลังจากการฉีดวัคซีน และมีการรายงาน โดยในกรณีนี้ เป็นระบบปรกติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ที่จะต้องมีการติดตามผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่ว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนจะมีอาการไม่พึงประสง หรืออาการข้างเคียงหรือไม่

ซึ่งเมื่อพบว่า มีผู้เสียชีวิต ก็จำเป็นต้องมีรายงานเข้ามา เพื่อตรวจสอบข้อมูลการเสียชีวิต โดยในภายหลังหากผลการตรวจสอบก็จะได้เป็นข้อสรุปยืนยันอีกครั้งหนึ่ง โดยในกรณีนี้ จึงได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตแต่อย่างใด

ส่วนกรณีที่มีผู้มีอาการแพ้ในประเทศไทยนั้น จากกว่า 1 แสนโดส มีบางส่วนที่มีอาการไม่พึงประสงและอาการแพ้จำนวนหนึ่ง โดยเมื่อคำนวนแล้วพบกว่า อัตราการแพ้มีเพียง 0.001% เท่านั้น

ย้ำ รับข้อมูล – เข้าใจข้อมูล และตัดสินใจ

ในกรณีนี้ ถือว่า ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วว่า มีการเสียชีวิต หรืออาการแพ้เกิดขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ระบบสาธารณสุขของไทย ไม่ได้มีการปิดบังข้อมูลแต่อย่างใด ในขณะเดียวกัน ขอให้มีความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น ว่าประเทศไทยมีการติดตามผลการฉีดวัคซีน และการแพ้ หรือ เสียชีวิตที่เกิดขึ้นนั้น เกี่ยวข้องกับการรับวัคซีนหรือไม่ อย่างไร ก่อนที่จะตัดสินใจ ฉีด หรือไม่ฉีดวัคซีน

ซึ่งในกรณีนี้ ก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า การเสียชีวิตที่เกิดขึ้นนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการได้รับวัคซีน โดยในขณะนี้ ก็ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากการได้รับวัคซีน จึงอยากจะย้ำว่า การรับวัคซีนในขณะนี้ มีความปลอดภัย ช่วยป้องกันโควิด-19 และวัคซีนส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพเกือบ 100% ในการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการรุนแรง ถึงขนาดที่เสียชีวิต หรือต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ