ประเด็นน่าสนใจ
- นิด้าโพลเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ท่านอยากไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นหรือยัง”
- ผลสำรวจชี้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.29 ระบุว่า อยากไปใช้สิทธิมาก
- ส่วนเหตุผลในการเลือกประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.41 ระบุว่า พิจารณาจากผลงานที่ผ่านมาในการทำประโยชน์เพื่อท้องถิ่น รองลงมา
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ท่านอยากไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นหรือยัง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,254 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการอยากไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น (นายก อบจ. นายกเทศมนตรี นายก อบต. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเมืองพัทยา)
การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาค สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความต้องการของประชาชนในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น (นายก อบจ. นายกเทศมนตรี นายก อบต. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเมืองพัทยา) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.29 ระบุว่า อยากไปใช้สิทธิมาก รองลงมา ร้อยละ 18.66 ระบุว่า ค่อนข้างอยากไปใช้สิทธิ ร้อยละ 12.05 ระบุว่า ไม่อยากไปใช้สิทธิเลย ร้อยละ 8.61 ระบุว่า ไม่ค่อยอยากไปใช้สิทธิ และร้อยละ 2.39 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านการพิจารณาของประชาชนในการตัดสินใจเลือกผู้บริหารท้องถิ่น(นายก อบจ. นายกเทศมนตรี นายก อบต. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเมืองพัทยา) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.41 ระบุว่า พิจารณาจากผลงานที่ผ่านมาในการทำประโยชน์เพื่อท้องถิ่น รองลงมา ร้อยละ 33.17 ระบุว่า พิจารณาจากนโยบายการบริหารและการพัฒนาท้องถิ่นของผู้สมัคร ร้อยละ 31.58 ระบุว่า พิจารณาจากประวัติพฤติกรรมส่วนบุคคล ร้อยละ 27.59 ระบุว่า พิจารณาจากคุณสมบัติประวัติส่วนบุคคล เช่น อายุ การศึกษา อาชีพ ร้อยละ 6.70 ระบุว่า พิจารณาจากพรรคการเมืองที่ผู้สมัครสังกัด ร้อยละ 4.23 ระบุว่า พิจารณาจากชื่อเสียงของผู้สมัคร ร้อยละ 3.99 ระบุว่า พิจารณาจากความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับผู้สมัคร เช่น เป็นพ่อ-แม่ ลูก-หลาน ญาติพี่น้อง-เพื่อน ร้อยละ 3.43 ระบุว่า พิจารณาว่าใครเป็นผู้สนับสนุนผู้สมัคร ร้อยละ 0.16 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ เลือกตามคนในครอบครัว และไม่พิจารณาจากอะไรเลยเพราะตั้งใจจะกาบัตรให้เสีย และร้อยละ 3.83 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความต้องการของประชาชนในการปรับเปลี่ยนผู้บริหารท้องถิ่น (นายก อบจ. นายกเทศมนตรี นายก อบต. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกเมืองพัทยา) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 30.94 ระบุว่า ไม่อยากเปลี่ยนผู้บริหารท้องถิ่นทุกตำแหน่ง รองลงมา ร้อยละ 26.48 ระบุว่า อยากเปลี่ยนผู้บริหารท้องถิ่นในบางตำแหน่ง ร้อยละ 25.60 ระบุว่า อยากเปลี่ยนผู้บริหารท้องถิ่นทุกตำแหน่ง ร้อยละ 13.64 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ และร้อยละ 3.34 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.77 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.84 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.26 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.49 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.64 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 49.12 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.88 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 7.02 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 16.75 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.77 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.53 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 19.93 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.53 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.39 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.72 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 22.65 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.41 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.58 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 30.94 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 31.26 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.17 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.13 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.99 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.51 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 11.00 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.96 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.69 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.75 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 18.02 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.35 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.39 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.76 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 16.51 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.01 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.27 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 9.17 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.94 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.66 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.44ไม่ระบุรายได้