ประเด็นน่าสนใจ
- พูดคุยกับ ‘น้องดิว’ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ต้อนรับประชาชน ศูนย์บริการประชาชน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทศโนโลยี ซึ่งถือเป็นประตูด่านแรกในการให้บริการประชาชน
- ด้วยบุคลิคหน้าตาที่ดูดี น่ารัก จึงเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนและบุคคลทั่วไปที่มาติดต่อราชการ
วันที่ 10 ก.ค. ที่ ศูนย์บริการประชาชน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทศโนโลยี ( บก.ปอท.)น.ส.จิณณ์ณิชา พูลสวัสดิ์ หรือน้องดิว อายุ 27 ปี เจ้าหน้าที่เอ้าท์ซอร์ส ผู้ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัมพันธ์สาวสวยน่ารักประจำ ปอท. ปราการด้านแรกที่ต้องเจอกับผู้เสียหาย ที่ถูกคุกคามในระบบคอมพิวเตอร์หลายรูปแบบ
ซึ่งน้องดิว แนะนำตัวกับผู้สื่อข่าวว่า ตนเรียนจบจากมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์น คณะศิลปศาสตร์ เอกอังกฤษธุรกิจ จบเกรดเฉลี่ย 3.64 จากนั้นเธอก็เริ่มต้นทำงานในตำแหน่งล่ามภาษาอังกฤษ ให้กับ ปอท. ตั้งแต่ปลายปี 2561 ได้รับคัดเลือกมานั่งเตอร์ต้อนรับประชาชนที่มาใช้บริการ ปอท. ด้วยความที่มีบุคคลิกดี หน้าตาน่ารัก ผู้ร้องทุกข์ส่วนใหญ่มักจะเข้ามาสอบถามข้อสงสัยอเป็นประจำ จึงทำให้พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท.ฐานะโฆษก บก.ปอท. ให้เธออยู่ในตำแหน่งประชาสัมพันธ์ควบคู่ไปด้วย
น้องดิว เล่าต่อว่า ในแต่ละวันเธอต้องรับเรื่องราวร้องทุกข์หลากหลายรูปแบบ อันดับแรกเธอต้องคัดเเยกเรื่องเข้าเเต่ละกองกำกับการ 1 – 2 และ 3 ตามฐานความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยแบ่งเป็นกองกำกับ 1 ในกรณีถูกเเฮ็ค เช่น เฟสบุ๊ก ไลน์ อีเมล กองกำกับ 2 กรณีฉ้อโกง เช่น การสั่งซื้อของออนไลน์จากเฟสบุ๊ก ไลน์ เว็บไซต์ ที่มีการโอนเงินไปเเล้วไม่ได้รับของ กองกำกับ 3 กรณีความผิดฐานหมิ่นประมาท ที่มีการโพสต์โดยใช้ถ้อยคำ คลิป หรือรูปภาพทำให้เสียหายต่อชื่อเสียงเเละสร้างความอับอายต่อผู้เเจ้ง ทั้งนี้เธอยังต้องเป็นล่าม และแปลเอกสารในการประชุมจากหน่วยงานอื่นๆ ความรู้ 2 ภาษาที่ฝึกปรือมาจากสถาบันช่วยให้เธอทำงานให้ ปอท.ได้อย่างดี
ตลอดการทำงานน้องดิวเคยเจอเครสที่แปลกสุด เครสที่ผู้แจ้งมีความผิดปกติทางจิต แล้วมีจินตนาการว่ามีคนนำรูปภาพโป๊เปลือยไปลง จากที่เธอตรวจสอบเบื้องต้น นั้นไม่พบหลักฐานอะไรเลย จากนั้นผู้เสียหายก็ยังไม่ยอม เธอจึงต้องเเจ้งทางร้อยเวรให้มาตรวจสอบ ร้อยเวรก็ยังหาหลักฐานไม่เจอ จากการพูดคุยจะพบว่าผู้เสียหายนั้นพูดจาไม่รู้เรื่อง นอกเหนือจากนี้กรณีที่ฐานความผิดไม่เข้า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เธอจะต้องชี้เเจงให้ผู้เสียหายเข้าใจ เเต่ผู้เสียหายอาจจะไม่มีความเข้าใจในกฎหมายเบื้องต้น บางรายอาจจะโวยวายหรือไม่พอใจ เธอก็พยายามพูดเเละค่อยๆบอก เพื่อให้เข้าใจเพิ่มขึ้น เพราะหลายครั้งผู้เสียหายเกิดความโมโหหรือเครียดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ด้าน พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ รอง ผบก.ปอท.และ โฆษก บก.ปอท. เปิดเผยว่า สำหรับ พื้นที่แจ้งความร้องทุกข์ที่ บก. ปอท. เราพยายามทำให้ผู้ที่ได้รับความเสียหาย เข้ามาแล้วรู้สึกผ่อนคลาย มีหนังสือให้อ่าน มีทีวีให้ดูเล่น มีฝ่ายประชาสัมพันธ์ ที่คอยต้อนรับ และรับเรื่องโดยจะให้คำปรึกษาต่างๆ ว่าผู้เสียหายเจออะไรมาบ้าง และจะมาคัดแยกประเภทว่าเรื่องราวดังกล่าวนั้น ขึ้นอยู่กับหน่วยงานความรับผิดชอบใด
โดยปัจจุบัน ปัญหาบนสื่อโซเชียลค่อนข้างมีมากขึ้น หลายคนต้องศึกษากฎหมายพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ให้มากขึ้นเช่นกัน กรณีง่ายๆ มีการกล่าวหากันทางไลน์ เฟซบุ๊กสร้างความเดือดร้อนให้ฝั่งตรงข้าม หรือ ไลฟ์สดโชว์ภาพวาบหวิว เราอาจมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว แต่บางกรณี อาจะเข้าค่ายความผิดทาง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และบางกรณีทางฝ่ายคู่กรณีไม่ทราบด้วยซ้ำว่าทำผิดอะไร บางข้อความ เราอาจพิมพ์ลงไปเพราะบันดาลโทสะ แต่อาจมีความผิด โดยทางฝ่ายประชาสัมพันธ์เราจะพยายามให้ข้อมูลและรายละเอียด ช่วยเหลือผู้เสียหายให้ได้มากที่สุด ตามกระบวนการของกฎหมาย