ข่าวสดวันนี้ เยียวยา แพรวา 9 ศพ

ทนายเดชาตั้งข้อสงสัย หรือเหยื่อ “แพรวา 9 ศพ” จะตายฟรี ?

ขณะที่เพจทนายคลายทุกข์ ชี้ญาติของผู้เสียชีวิตทั้ง9 ศพ แม้จะมีคำพิพากษาแต่กลับไม่ได้เงิน พร้อมกระตุ้นจิตสำนึก4จำเลยต้องหันมาเยียวยาผู้เสียหายบ้าง นายเดชา กิตติวิทยานันท์ ทนายชื่อดังเจ้าของเพจ ทนายคลายทุกข์ ได้แสดงความเห็นทางกฎหมายผ่านโซเชียล กรณีแฮทแทคแพรวา 9 ศพติดอันดับ1 ของเทรนด์ทวีตเตอร์ของไทย ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นปี…

Home / NEWS / ทนายเดชาตั้งข้อสงสัย หรือเหยื่อ “แพรวา 9 ศพ” จะตายฟรี ?

ประเด็นน่าสนใจ

  • โลกโซเชียลลุกฮือ หลังมีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุแพรวา 9 ศพ ได้ออกมาเรียกร้องความรับผิดชอบจากครอบครัวของนางสาวแพรวา
  • ผู้รอดชีวิตรายนี้ระบุว่า ตนไม่ได้รับเหลียวแลหลังเกิดเหตุมาตลอด 9 ปี

ขณะที่เพจทนายคลายทุกข์ ชี้ญาติของผู้เสียชีวิตทั้ง9 ศพ แม้จะมีคำพิพากษาแต่กลับไม่ได้เงิน พร้อมกระตุ้นจิตสำนึก4จำเลยต้องหันมาเยียวยาผู้เสียหายบ้าง

นายเดชา กิตติวิทยานันท์ ทนายชื่อดังเจ้าของเพจ ทนายคลายทุกข์ ได้แสดงความเห็นทางกฎหมายผ่านโซเชียล กรณีแฮทแทคแพรวา 9 ศพติดอันดับ1 ของเทรนด์ทวีตเตอร์ของไทย ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นปี 2553 เด็กสาวอายุ17 ปี ขับรถเก๋งซีวิคไม่มีใบขับขี่แล้วเกิดขับไปชนกับรถตู้โดยสาร ที่มีผู้โดยสารนั่งมาทั้งหมด 14 คน ซึ่งเป็นบุคลากรต่างๆของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคนอื่นๆกระเด็นตกลงมาจากโทลเวย์ บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด9 ศพ และยังมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจขาดการเยียวยาจากครอบครัวของเด็กสาววัย 17 ปี ตั้งแต่เกิดเรื่องจนถึงปัจจุบัน ผ่านไป 9 ปี ศาลฏีกาเพิ่งตัดสินไปเมื่อ2 เดือนที่ผ่านมา มีคำพิพากษาสั่งให้ชดเชยค่าเสียหาย ซึ่งค่าเสียหายส่วนใหญ่เป็นการขาดไร้อุปการะ เนื่องจากจากคนตายมีหน้าที่ตามกฏหมายต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ ลูกเมีย รวมแล้วประมาณ 10 ล้านบาท ก็ปรากกฏว่าหลังได้รับคำบังคับมา30วันแล้ว จำเลยทั้ง4 ประกอบด้วยคนขับรถชน คือนางสาวแพรวา ที่ปัจจุบันบรรลุนิติภาวะแล้ว พ่อและแม่แพรวา รวมทั้งผู้ที่ให้ยืมรถต้องร่วมกันชำหระหนี้

ทนายเดชา เผยต่อด้วยว่า จนถึงวันนี้ 9 ปี ครอบครัวของเหยื่อกลับไม่ได้รับการเยียวยาเลย แต่คำพิพากษาคดีแพ่งศาลฏีฏาก็ได้รับความเสียหายไม่มีทางออก นี่คือปัญหาของสังคม ซึ่งทางแก้คือต้องไปสืบทรัพย์ของจำเลยทั้ง 4 ยึดมาให้ได้ ถ้ามีการโอนหนี ก็ต้องดำเนินคดีอาญาโกงเงินเจ้าหนี้ หรือเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลในทรัพย์สินต่างๆ นี่คือเป็นปัญหาการฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่ง ได้คำพิพากษามาแต่ไม่ได้เงิน เท่ากับว่า คำพิพากษานั้นไม่ศํกดิ์สิทธิ์ จนสังคมต้องตั้งคำถามว่า หรือจะตายฟรี ทั้งนี้อยู่ที่จิตสำนึกของจำเลยทั้ง4ในคดี ว่าจะดิ้นรนหาเงินมาเยียวยาให้กับญาติคนตายทั้ง 9คนหรือไม่

ด้านผู้ใช้ทวิตเตอร์ ชื่อว่า tintin ระบุว่า เป็นหนึ่งในผู้ประสบเหตุบนรถตู้โดยสารคันที่เกิดเหตุในวันนั้นแต่ยังโชคดีที่รอดเสียชีวิต ตอนนั้นได้รับบาดเจ็บสาหัส ไหปลาหัก 3 ท่อน เข่าซ้ายแตก แขนขวาหัก ต้องนอนรักษาตัวบนเตียงขยับไปไหนไม่ได้นานถึง 2 เดือน และต้องฝึกเดินใหม่อีก 2 ปี โพสต์ข้อความระบุว่า แม้จะรู้ว่าเป็นเหตุที่ไม่มีใครอยากให้เกิดและไม่ได้ตั้งใจ แต่ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา ผู้ก่อเหตุกับครอบครัวไม่ได้สนใจคดีใดๆ เลย มาศาลแค่เพียงครั้งแรกที่เป็นภาพออกสื่อ และก็ไม่เคยมาอีก ส่งทนายความมาแทนทุกครั้ง

ขณะที่ในโซเชียลยังได้โพสต์ประโยคหนึ่งของแม่คนขับรถตู้โดยสาร ที่เป็นหนึ่งในผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น ถูกหยิบนำมาเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ กับคำพูดที่ว่า “อยากจะได้เงินก็ออกแรงหน่อย” ซึ่งญาติของเหยื่อก็ยังไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ และยังรู้สึกเสียใจทุกครั้งที่คดีมาถึงชั้นศาลแพ่ง จนไปถึงชั้นศาลฏีกา แต่คู่กรณีฝ่ายผู้ก่อเหตุไม่เคยปรากฏตัวมาฟังคำพิพากษาคดีเลยสักครั้ง

นอกจากนี้ โลกโซเชียลได้มีการแชร์หมายศาลคดีดังกล่าว โดยในหมายศาลที่เผยแพร่ ระบุว่าแพรวาได้เปลี่ยนชื่อ ใช้ อรชรหรือแพรวา หรือบัวบูชา เทพหัสดิน ณ อยุธยา หรือ น.ส.รวินภิรมย์ อรุณวงศ์

ทั้งนี้ในโซเชียลยังได้มีการทวีต ย้อนถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น พร้อมทวงถามความยุติธรรมในคดีให้กับเหยื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในวันนั้น บางคนมีการขุดคุ้ยการใช้ชีวิตในอดีตถึงปัจจุบันของผู้ก่อเหตุอีกครั้ง พร้อมกับเผยว่าผู้ก่อเหตุได้มีการเปลี่ยนชื่อแล้ว 2-3 ครั้ง หลังจากเกิดอุบัติเหตุครั้งนั้น รวมทั้งมีการแชร์ภาพพิธีมงคลสมรสของนางสาวแพรวากับแฟนหนุ่ม ซึ่งเป็นนักการเมือง เมื่อไม่นานมานี้ด้วย

ย้อนกลับไปที่เหตุการณ์รถตู้สาธารณะถูกชนบนทางยกระดับอุตราภิมุข ที่ถูกขนานนามเรียกชื่อว่าเหตุการณ์ แพรวา9ศพ เกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 27 ธันวาคม 2553 บนทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ บริเวณใกล้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นอุบัติเหตุรถเก๋งพุ่งมาชนรถตู้ชนจนกระเด็นไปปะทะขอบทางอย่างแรง ทำให้ร่างผู้โดยสารกระเด็นออกจากรถ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 คน และบาดเจ็บอีก 5 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ขณะที่ผู้ก่อเหตุได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยและยังมีสติรับรู้ดีหลังเกิดเหตุ ซึ่งคดีดังกล่าวกลายเป็นที่สนใจของสังคมในช่วงเวลานั้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากหลายฝ่ายมองว่าคดีนี้อาจจะไม่ได้รับความยุติธรรมและความโปร่งใสในกระบวนการทางกฎหมาย

ในส่วนของรูปคดี ต้องแยกเป็น 2 ส่วน คือคดีอาญาและคดีแพ่ง

  • คดีอาญา

ยังคงดำเนินการเรื่อยมาถึงปัจจุบันและยังไม่สิ้นสุด แม้ศาลจะมีคำพิพากษาให้ผู้ก่อเหตุจำคุกเป็นเวลา 2 ปี รอลงอาญา 3 ปี คุมประพฤติจำเลย 3 ปี พร้อมกับบำเพ็ญประโยชน์เป็นเวลา 48 ชั่วโมง และห้ามจำเลยขับรถยนต์จนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปี ในส่วนนี้ถือว่าจบไปแล้ว

  • คดีแพ่ง

ส่วนนี้แหละที่เป็นปัญหา โดยเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2562 ในชั้นฎีกาของศาลแพ่งได้อ่านคำพิพากษา ให้ฝ่ายจำเลยทั้ง 4 คน คือ จำเลยที่ 1 คือคนที่ชน ส่วนจำเลยที่ 2 และ 3 คือ พ่อแม่ของคนที่ชน ส่วนจำเลยที่ 4 คือ คนที่ให้ยืมรถไปขับ โดยศาลอ่านคำพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าเสียหายไร้อุปการะ บุคคลที่เลี้ยงดู บุคคลที่มีชีวิตอยู่ ศาลฎีกาได้แก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยยืนยันให้ฝ่ายจำเลยชดใช้ค่าเสียหายเหมือนที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษามาแล้ว ให้ชดใช้ผู้เสียหายทุกคนก็คือ 26 ล้านบาท และคดีถึงที่สุดแล้ว อย่างไรก็ตามในวันพิพากษาฝ่ายจำเลยแม้แต่ทนายความ ก็ไม่มาฟังคำพิพากษา

ทั้งนี้โจทก์ จะต้องส่งหรือให้ทางศาลไปปิดหมายให้รับทราบคำพิพากษา จากนั้น 30 วันจะต้องนำเงินค่าเสียหายมาชำระ หรือมาวางต่อกับศาล แต่ถ้าปิดหมาย ก็ใช้แค่ 15 วัน แต่นับตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค. 2562 มาถึงวันนี้ ยังไม่มีความคืบหน้าจากฝ่ายจำเลย จึงเป็นที่มาที่ฝ่ายผู้เสียหายออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง