ข่าวสดวันนี้ ฝนเทียม

อาจารย์เจษฯ ยันชัด ฝนเทียมทำได้ จริงไม่ใช่สิ่งลวงโลก

วานนี้ (22 ก.ค. 2562) รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ยืนยันว่า ฝนเทียมทำได้จริงตามหลักวิทยาศาสตร์ แต่การทำฝนเทียมแต่ละครั้งต้องอาศัยหลายปัจจัยถึงจะสัมฤทธิ์ผล…

Home / NEWS / อาจารย์เจษฯ ยันชัด ฝนเทียมทำได้ จริงไม่ใช่สิ่งลวงโลก

ประเด็นน่าสนใจ

  • ฝนเทียมยันทำได้จริง
  • การทำฝนเทียมจะได้ผลต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย
  • ฝนเทียมไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

วานนี้ (22 ก.ค. 2562) รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ยืนยันว่า ฝนเทียมทำได้จริงตามหลักวิทยาศาสตร์ แต่การทำฝนเทียมแต่ละครั้งต้องอาศัยหลายปัจจัยถึงจะสัมฤทธิ์ผล ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด

“ฝนเทียมไม่ใช่เรื่องลวงโลก แต่มีข้อจำกัดในการใช้” (แล้วก็ไม่ได้อันตรายต่อสิ่งแวดล้อมด้วยนะ)

เห็นเป็นดราม่ากันอยู่ในเพจการเมือง ที่มีใครก็ไม่รู้มาโคว้ตว่า “ฝนเทียมเป็นเรื่องลวงโลกไม่สามารถทำได้จริง ถ้าทำได้ คงทำไปแล้ว ไม่แล้งหนักมากอย่างตอนนี้” … คือมันทำได้จริงนะครับ ! ไม่ใช่เรื่องลวงโลก และเขาก็พยายามทำกันอยู่ด้วย แต่มันมีข้อจำกัดมากในการทำ โดยเฉพาะในพื้นที่แล้ง ที่มีความชื้นอากาศต่ำ และไม่สามารถทำให้เกิดการก่อตัวของเมฆฝนได้ง่าย

การทำฝนเทียม เป็นกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ ที่เลียนแบบการเกิดฝนในธรรมชาติ โดยต้องหาก้อนเมฆที่พอจะเกิดฝนได้ แล้วเร่งให้เกิดการควบแน่นของเมฆขึ้นด้วย 3 ขั้นตอน คือ ก่อกวน, เลี้ยงให้อ้วน, และโจมตี

การทำฝนเทียมมักทำใน 2 สภาวะ คือ “การทำฝนเมฆเย็น” เมื่อเมฆมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส และ “การทำฝนเมฆอุ่น” เมื่อเมฆมีอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส (ทั้งสองสภาวะนี้ จะใช้สารเคมีต่างกัน)

สารเคมีที่ใช้ทำฝนเทียมนั้นมีหลายอย่าง ถ้าเป็นสารเคมีประเภททำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ก็ได้แก่ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมออกไซด์ ส่วนสารเคมีประเภททำให้อุณหภูมิต่ำลง จะได้แก่ ยูเรีย แอมโมเนียไนเตรด น้ำแข็งแห้ง ส่วนสารเคมีที่ทำหน้าที่ดูดซับความชื้น ได้แก่ เกลือ เป็นต้น

สาเหตุของการทำฝนเทียม

การทำฝนเทียมนั้น ได้รับการคิดค้น พัฒนา และนำมาใช้กันในต่างประเทศ มาตั้งแต่่ปี ค.ศ. 1946 แล้ว และมีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย เช่น การเกษตร ดับไฟป่า หรือกระทั่งเพื่อป้องกันการตกของฝนในวันที่กำหนด เช่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ประเทศจีน

สำหรับประเทศไทยเรานั้นมีหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ และได้พยายามขึ้นบินทำฝนเทียมเป็นประจำอยู่แล้ว ทุกปี แต่อุปสรรคที่สำคัญก็คือเรื่องของสภาพอากาศ ที่อาจจะทำให้การสร้างฝนเทียมไม่ได้ผลหรือไม่เต็มประสิทธิภาพ ถ้าแห้งแล้งมากเกินไป ความชื้นต่ำเกินไป ลมแรงเกินไป ก็จะไม่สามารถทำให้เมฆก่อตัวได้

สรุปได้ว่า การที่ปีนี้แล้งจัดนั้น จะไปโทษแต่ว่าฝนเทียมเป็นเรื่องลวงโลกไม่ได้ เขาพยายามกันแล้ว มันอาจจะไม่สำเร็จเพียงพอต่อการเติมน้ำลงไปในแหล่งน้ำต่างๆ

ยันไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

แถมต่อด้วยเรื่อง “ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” ที่มีหลายคนเป็นห่วงว่า ฝนเทียมนั้นอาจมีการใช้สารซิลเวอร์ไอโอไดด์หรือเกลือไอโอดีนของโลหะเงิน แล้วพอตกลงมาสู่พื้นดินจะเป็นอันตรายหรือเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตด้านล่างนั้น ..

ผลการวิจัยในปัจจุบันจากหลายๆ องค์กร และโดยเฉพาะของ The Weather Modification Association (WMA) ยืนยันว่า ไม่เคยมีรายงานพบผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการทำฝนเทียมด้วยการใช้สารซิลเวอร์ไอโอไดด์นี้แต่อย่างไรครับ

ข้อมูลเรื่อง ฝนเทียม จาก https://th.m.wikipedia.org/…/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0…

ข้อมูลเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จาก https://web.archive.org/…/www.weathermodif…/AGI_toxicity.pdf

(เพิ่มเติม)
Q : การทําฝนหลวงมีฝนตกทุกครั้งหรือไม่
A : จากการติดตามประเมินผลในแต่ละปีพบว่า การทําฝนหลวงสามารถทําให้ฝนตกในพื้นที่ เป้าหมายได้ไม่ต่ํากว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของวันที่ขึ้นปฏิบัติการ
จาก http://www.royalrain.go.th/royalrain/faqs