ข่าวสดวันนี้ แบคทีเรียกินเนื้อคน

สังเวยแล้ว 1 ศพ หลังแบคทีเรียกินเนื้อคนระบาดในจังหวัดน่าน

วันนี้ 24 กรกฎาคม 2562 โรคเนื้อเน่าและหนังเน่า หรือแบคทีเรียกินเนื้อคน ที่กำลังระบาดไปทั่วในพื้นที่จังหวัดน่าน พบสถานการณ์รุนแรง ล่าสุดเสียชีวิตแล้ว 1 ราย หลังติดเชื้อมีแผลเน่าลุกลามที่เท้า และมีอาการแทรกซ้อนติดเชื้อในกระแสเลือด ความดันต่ำ และมีอาการหนัก…

Home / NEWS / สังเวยแล้ว 1 ศพ หลังแบคทีเรียกินเนื้อคนระบาดในจังหวัดน่าน

ประเด็นน่าสนใจ

  • โรคแบคทีเรียกินเนื้อคนระบาดในจังหวัดน่าน
  • มีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวแล้ว 1 ราย
  • ขณะนี้มีผู้ป่วยทยอยเข้ารักษาตัวอย่างต่อเนื่อง

วันนี้ 24 กรกฎาคม 2562 โรคเนื้อเน่าและหนังเน่า หรือแบคทีเรียกินเนื้อคน ที่กำลังระบาดไปทั่วในพื้นที่จังหวัดน่าน พบสถานการณ์รุนแรง ล่าสุดเสียชีวิตแล้ว 1 ราย หลังติดเชื้อมีแผลเน่าลุกลามที่เท้า และมีอาการแทรกซ้อนติดเชื้อในกระแสเลือด ความดันต่ำ และมีอาการหนัก 2 ราย ย้ายเข้ารักษาที่ห้องไอซียู แพทย์และพยาบาลต้องดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด ขณะที่วันนี้ยังมีผู้ป่วยส่งต่อเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลน่านเพิ่มอีก 1 ราย แพทย์ย้ำเตือนทำนา ทำไร่ หรือจับปลาหนองน้ำ ถ้ามีแผลตามร่างกาย ขอให้รีบขึ้นจากโคลน รีบล้างแผลโดยให้น้ำสะอาด หากมีอาการคัน ผื่นแดง รีบพบแพทย์รักษาทันที

นายแพทย์ พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน ได้เปิดเผย ขณะนี้โรคเนื้อเน่าและหนังเน่า หรือแบคทีเรียกินเนื้อคน สถานการณ์แนวโน้มรุนแรง และกำลังระบาดไปทั่วทั้งจังหวัดน่าน ล่าสุดมีผู้ป่วยส่งตัวมารักษาเพิ่มอีก 1 ราย จากอำเภอสันติสุข โดยรวมมีผู้ป่วยเข้ารักษาแล้ว 26 ราย เสียชีวิต 1 ราย อาการหนัก 2 ราย และอยู่ในระหว่างพักฟื้น 5 ราย ซึ่งโรคดังกล่าวนี้ เป็นโรคที่ติดเชื้อจากทางผิวหนังลุกลามเข้าสู่กล้ามเนื้อจนเป็นแผลพุพอง และมีหนองลามเข้าไปถึงกล้ามเนื้อใต้ผิวหนัง ซึ่งบางรายต้องทำการผ่าตัด หรือกรีดเนื้อเปิดแผล เพื่อเอาล้างเอาหนอง เนื้อที่เน่าตายออก แต่หากลุกลามอาจถึงขั้นต้องตัดขาทิ้ง

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้แจ้งประกาศเตือนไปยังทุกอำเภอให้เร่งประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชน ผู้มีอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน และออกหาปลาตามหนองน้ำต่างๆ หากมีประวัติลุยโคลน และมีบาดแผล ให้รีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาด เช็ดให้แห้งและปิดแผล แล้วรีบมาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือโรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อให้ตรวจรักษาต่อไป

สำหรับการรักษาแพทย์จำเป็นต้องตัดเนื้อตายออกให้หมด และให้ยาปฎิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งถ้าเชื้อยังไม่ลุกลามเข้ากระแสเลือด ผลลัพธ์ของการรักษาจะค่อนข้างดี สำหรับผู้ป่วยบางรายที่ไม่ได้ลงนา หรือไม่มีบาดแผลก็อาจจะติดเชื้อดังกล่าวได้ โดยการเกา หรือมีบาดแผลถลอกเล็กน้อย เชื้อสเตรปโตคอคคัส หรือสแตปฟิโลคอคคัสที่อยู่บริเวณผิวหนังอาจจะเข้าไปในแผลแล้วเกิดการติดเชื้อ ถ้าผู้ใดมีผิวหนังบวมแดงอย่างรวดเร็ว แล้วมีตุ่มพุพองที่ผิวหนัง ขอให้รีบมาตรวจรักษาก่อนที่อาการจะลุกลามจนถึงขั้นเสียชีวิตได้