เหรียญรามรามา เหรียญรามา

เจาะประเด็น “เหรียญรามาฯ” จากวิวาทะ #ตัดพี่ตัดน้อง

หลังจากที่เมื่อวานนี้ (25 ก.ค. ) ในการแถลงนโยบายรัฐบาลวันแรก ซึ่งฝ่ายค้านได้ทำหน้าที่ของการอภิปรายอย่างดุเดือด จนนำไปสู่ช่วงเดือดที่สุดของการอภิปรายในช่วงค่ำ เมื่อ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ได้ลุกขึ้นอภิปราย โดยเอ่ยถึงประเด็นที่มา ประวัติของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี…

Home / NEWS / เจาะประเด็น “เหรียญรามาฯ” จากวิวาทะ #ตัดพี่ตัดน้อง

หลังจากที่เมื่อวานนี้ (25 ก.ค. ) ในการแถลงนโยบายรัฐบาลวันแรก ซึ่งฝ่ายค้านได้ทำหน้าที่ของการอภิปรายอย่างดุเดือด จนนำไปสู่ช่วงเดือดที่สุดของการอภิปรายในช่วงค่ำ เมื่อ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ได้ลุกขึ้นอภิปราย โดยเอ่ยถึงประเด็นที่มา ประวัติของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จนนำไปสู่วิวาทะเดือด #ตัดพี่ตัดน้อง อย่างที่ทราบข่าวไปแล้ว

โดยในระหว่างการปะทะคารมระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ได้มีการเอ่ยถึง “เหรียญรามาฯ” ดังนั้น ทีมงาน MThai จึงจะขอเจาะประเด็นดังกล่าว

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี (The Honourable Order of Rama)

สำหรับเหรียญรามาฯ หรือชื่อเต็มว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ เพื่อพระราชทานให้แก่ผู้ซึ่งทำความชอบพิเศษเป็นประโยชน์ยิ่งแก่ราชการทหาร ไม่ว่ายามสงบหรือยามสงคราม ตามที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควร แบ่งเป็น ๖ ชั้น

  • ชั้นที่ ๑ เสนางคะบดี (ส.ร.)
    ประกอบด้วย
    • ๑. ดวงตรา สำหรับห้อยสายสะพายสีดำ ริมมีริ้วแดง
    • ๒. ดารา สำหรับประดับอกเสื้อเบืองซ้าย
  • ชั้นที่ ๒ มหาโยธิน (ม.ร.)
    ประกอบด้วย
    • ๑. ดวงตรา สำหรับห้อยแพรแถบสวมคอ
    • ๒. ดารา สำหรับประดับอกเสื้อเบื้องขวา
  • ชั้นที่ ๓ โยธิน (ย.ร.) ดวงตรา
    สำหรับห้อยแพรแถบสวมคอ
  • ชั้นที่ ๔ อัศวิน (อ.ร.) ดวงตรา
    สำหรับห้อยแพรแถบประดับอกเสื้อเบื้องซ้าย
  • ชั้นที่ ๕ เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร (ร.ม.ก.)
    ประดับเช่นเดียวกับชั้นที่ ๔
  • ชั้นที่ ๖ เหรียญรามมาลา (ร.ม.)
    ประดับเช่นเดียวกับชั้นที่ ๔ สายสะพายรามาธิบดี สะพายบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ลำดับชั้นต่างๆ

ในพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ จะต้องมีการประกอบด้วยพิธีการถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ใหม่ และผู้ที่ได้รับพระราชทานมาก่อน จะร่วมในพระราชพิธีเฉพาะพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เหรียญรามมาลา เข็มกล้ากลางสมร

สำหรับเหรียญราชอสริยาภรณ์ ที่ได้มีการกล่าวถึงในการประชุมสภาเมื่อวานนี้นั้น เป็นการระบุถึง เหรียญรามมาลา เข็มกล้ากลางสมร หรือ Member of “The Rama Medal for Gallantry in Action” of the Honourable Order of Rama.

ซึ่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ ทั้งพล.อ.ประยุทธ์ และ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ต่างเคยได้รับพระราชทานมาแล้วด้วยกันทั้ง 2 คน โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับพระราชทานเมื่อปี 2533 โดยคาดว่า น่าจะเป็นเหตุการณ์จากเมื่อครั้งสมรภูมิเขาพนมปะ

ในครั้งนั้นเป็นเหตุปะทะกันระหว่างทหารไทยและทหารเวียดนาม ที่ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2524-2526 ที่กองทัพเวียดนามและเขมรเฮง สำรินสู้รบกัน ทำให้มีกองกำลังบางส่วนของกัมพูชาได้รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ประเทศไทย ทางภาคตะวันออก โดยในช่วงเวลาประมาณเดือนเมษายน 2526 ในพื้นที่ของเขาพนมปะ อ.ตาพระยา ที่ถูกทหารเวียดนามเข้ายึดพื้นที่ มีกองพลทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 เป็นหน่วยหลักในการเข้าผลักดันข้าศึกให้ออกนอกพื้นที่ของประเทศไทย

โดยหนึ่งในทหารในครั้งนั้นมีชื่อของ ร้อยเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (ยศในขณะนั้น) ได้ร่วมในภารกิจนั้นด้วย ก่อนที่จะมีร้อยโทอุดมเดช สีตบุตร (ยศในขณะนั้น) เข้าพื้นที่ปฎิบัติภารกิจเข้าสนับสนุนในครั้งนั้นด้วย

ซึ่งทำให้ทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.อุดมเดช ได้รับเหรียญกล้าหาญและเครื่องอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ในปี 2533 นั่นเอง โดยพล.อ.อุดมเดช ได้รับการขนานนามว่าเป็น “วีรบุรุษเขาพนมปะ”

ภาพพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเครื่องแบบพร้อมประดับเหรียญรามรามาฯ บริเวณหน้าอกด้านซ้าย

ทางด้านของพ.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หรือแต่เดิมชื่อว่า “เสรี เตมียเวส” (เปลี่ยนชื่อหลังจากเหตุการณ์ระเบิดห้องทำงาน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองปราบปราม ปีพ.ศ. 2534) หลายคนรู้จักในนามของ “วีรบุรุษนาแก”

ด้วยบุคลิกที่เป็นคนตรงๆ กล้าได้กล้าเสีย กล้าลุย จึงได้ของลง “พื้นที่สีแดง” ในช่วงที่ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่ สภ.อ.นาแก และด้วยความเป็นสายลุย จึงทำให้ได้รับการขนานนามจากชาวบ้านว่า “วีรบุรุษนาแก” ซึ่งไม่ใช่เพียงเพราะสู้เก่งหรือปราบโจรเก่งเพียงอย่างเดียว แต่มาจากการลงพื้นที่ แก้ไขปัญหาทุกข์สุขให้กับประชาชนในพื้นที่นั่นเอง

หลังจากนั้นก็ได้รับมอบหมายงานใหญ่ๆ สำคัญๆ อีกจำนวนไม่น้อย ซึ่งหากคดีใดมีชื่อของ พ.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส เข้าทำคดีก็การันตีได้ว่า คดีนั้นใหญ่แน่นอน เช่น คดีจับกุม “กำนันเป๊าะ” หนึ่งในผู้กว้างขวางในภาคตะวันออกจนเป็นคดีดังไปทั้งประเทศในขณะนั้นเลยทีเดียว

ด้วยผลงานเด่นๆ โดยเฉพาะที่ สภ.อ.นาแก จึงทำให้พ.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ได้รับพระราชทานเหรียญรามมาลา เข็มกล้ากลางสมร มาประดับหน้าอกเช่นเดียวกัน

พ.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ที่ประดับเหรียญรามรามา บริเวณอกด้านซ้าน
(ภาพจาก รร.เตรียมทหาร)

ป๋าเปรม, บิ๊กจิ๋ว ก็ได้รับเหรียญรามรามา เช่นกัน

สำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีนั้น ยังมีทหาร-ตำรวจอีกหลายท่านที่ได้รับพระราชทานเหรียญรามรามา ในชั้นต่างๆ ซึ่งหากนับเฉพาะที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบัน เช่น

ชั้นที่ ๑ เสนางคะบดี

  • พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
  • พลเอก เทียนชัย ศิริสัมพันธ์

ชั้นที่ ๒ มหาโยธิน

  • พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก
  • พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

ชั้นที่ ๓ โยธิน

  • พลเอก อิทธิ สิมารักษ์ เป็นต้น

ชั้นที่ ๔ อัศวิน

  • พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์
  • พลเอก สุนทร คงสมพงษ์

ชั้นที่ ๕ เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร

  • พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา
  • พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
  • พลตำรวจเอก สมเพียร เอกสมญา เป็นต้น

ชั้นที่ ๖ เหรียญรามมาลา

  • พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
  • พลโท อุดมเดช สีตะบุตร เป็นต้น