กัญชา ปลูกกัญชา

คู่มือการขออนุญาตปลูก ‘กัญชา’ สำหรับเกษตรกร

เกษตรกรสามารถขออนุญาตปลูกกัญชาได้ โดยการรวมกลุ่มกันจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน/วิสาหกิจเพื่อสังคม/สหกรณ์การเกษตรและขออนุญาตร่วมกับหน่วยงานของรัฐ

Home / NEWS / คู่มือการขออนุญาตปลูก ‘กัญชา’ สำหรับเกษตรกร

คุณสมบัติของเกษตรกรที่จะขออนุญาตปลูกกัญชา

เกษตรกรสามารถขออนุญาตปลูกกัญชาได้ โดยการรวมกลุ่มกันจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน/วิสาหกิจเพื่อสังคม/สหกรณ์การเกษตรและขออนุญาตร่วมกับหน่วยงานของรัฐ

ขั้นตอนการขอจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน

Q : เกษตรกรรวมกลุ่มกันขอจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อปลูกกัญชาได้หรือไม่?

A : ไม่ได้ เพราะกัญชายังจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5

ถ้าเช่นนั้นต้องทำอย่างไร ?

  1. เกษตรกรรวมตัวกันเพื่อจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ในกิจการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อปลูกกัญชาโดยเฉพาะ
  2. จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนดำเนินการในกิจการตามที่ยื่นขอ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่เพื่อรับใบรับรองการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน
  3. วิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนแล้วร่วมกับหน่วยงานของรัฐ (ที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์หรือเกษตรศาสตร์หรือมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางเกษตรกรรม เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม หรือมีหน้าที่ในการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด)
  4. ยื่นขออนุญาตผลิต (ปลูก) ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา
  5. เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นำใบอนุญาตให้ผลิต (ปลูก) ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา ยื่นขอเพิ่มกิจการ
    วิสาหกิจชุมชน ณ สำนักงานเกษตรอำเภอ ที่วิสาหกิจชุมชนจดทะเบียน

การขออนุญาตปลูกกัญชา

ขั้นตอนการขออนุญาตปลูกกัญชา

  1. ยื่นคำขอฯ พร้อมเอกสารหลักฐาน ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่สถานที่ปลูกตั้งอยู่
  2. ตรวจประเมินสถานที่ขออนุญาตปลูกกัญชา
  3. เข้าประชุมของคณะกรรมการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาให้ความเห็น (กรณีพื้นที่ปลูกตั้งอยู่ต่างจังหวัด)
  4. เข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรอง
  5. เข้าที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
  6. ออกใบอนุญาต

เอกสารประกอบการขออนุญาต

เอกสารของวิสาหกิจชุมชุน

  1. หนังสือจดวิสาหกิจชุมชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้านของวิสาหกิจชุมชน (กรณีสถานที่ปลูกตั้งอยู่ที่วิสาหกิจชุมชน)

เอกสารอื่น ๆ

  1. โครงการการปลูกกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเพื่อการศึกษาวิจัย
  2. มาตรการรักษาความปลอดภัย
  3. คำสั่งกำหนดรายชื่อผู้ที่สามารถเข้า-ออกในพื้นที่เพาะปลูกกัญชา พร้อมแนบหนังสือรับรองตนเองว่าไม่มีประวัติหรือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
  4. แนวทางการปฏิบัติงาน (SOP) การขนส่ง การทำลาย
  5. ผลการสอบประวัติการถูกดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
    ของผู้ดำเนินกิจการ ซึ่งตรวจสอบโดย ศูนย์ตรวจสอบประวัติบุคคล
    กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

แผนการปลูกและการใช้ประโยชน์

การขออนุญาตปลูกกัญชา ผู้ขออนุญาตต้องมีความชัดเจนว่าจะปลูกจำนวนเท่าไหร่ ได้ผลผลิตเท่าไหร่ และจะนำผลผลิตดังกล่าวไปจำหน่ายให้กับใคร (ปริมาณการปลูก ต้องสอดคล้องกับแผนการผลิต แผนการจำหน่าย และแผนการใช้ประโยชน์) โดยต้องกำหนดผู้รับซื้อที่แน่ชัด (มี contract farming)

การเตรียมสถานที่การปลูก

การจัดเตรียมสถานที่ปลูก สามารถดำเนินการปลูกได้ทั้งในรูปแบบ

  • การปลูกกัญชากลางแจ้ง (Outdoor Cultivation)
  • การปลูกกัญชาในโรงเรือน (Semi-Outdoor Cultivation)
  • การปลูกกัญชาในระบบปิด (Indoor Cultivation)

ซึ่งแต่ละรูปแบบมีข้อดี – ข้อด้อย แตกต่างกันไป ดังนี้

การปลูกกัญชากลางแจ้ง (Outdoor Cultivation)

ข้อดี ได้แก่

  • ต้นกัญชาสามารถได้รับแสงธรรมชาติได้เต็มที่
  • ต้นทุนการดำเนินการต่ำ
  • เหมาะกับกัญชาสายพันธุ์ไทย

ข้อด้อย ได้แก่

  • ไม่สามารถคุมศัตรูพืช แมลง หรือโรคพืชได้
  • ไม่สามารถคุมแสง อุณหภูมิ
  • การปลูกและเก็บเกี่ยวได้แค่1 ครั้งต่อปี
  • ได้ผลผลิตน้อยถ้าปลูกไม่ตรงตามฤดูกาล

การปลูกกัญชาในโรงเรือน (Semi-Outdoor Cultivation)

ข้อดี ได้แก่

  • ต้นกัญชาสามารถได้รับแสงธรรมชาติได้เต็มที่
  • ต้นทุนการดำเนินการต่ำกว่าการปลูกในระบบปิด
  • สามารถคุมสภาพแวดล้อมและศัตรูพืชได้บางส่วน

ข้อด้อย ได้แก่

  • สามารถควบคุมคุณภาพผลผลิตได้แต่ต้องใช้เทคนิคต่างๆและ
  • อาศัยความเชี่ยวชาญ

การปลูกกัญชาในระบบปิด (Indoor Cultivation)

ข้อดี ได้แก่

  • มีการควบคุมระยะเวลาในการให้แสง น้ำ สารอาหาร
  • ได้ผลผลิต (ช่อดอก ใบ) ที่มีคุณภาพ ปริมาณสูง
  • สามารถคุมสภาพแวดล้อมและศัตรูพืชได้
  • วางแผนการปลูก และเก็บเกี่ยวได้ทั้งปี
  • การปลูกและเก็บเกี่ยวได้แค่2 ครั้งต่อปี

ข้อด้อย ได้แก่

  • ต้นทุนการดำเนินการสูง
  • ผู้ปลูกต้องมีความเชี่ยวชาญ
  • ด้านเทคนิคการปลูกเช่น การควบคุมระบบแสงไฟเทียม ระบบน้ำ ระบบอากาศ

ข้อกำหนดด้านสถานที่ปลูก แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อดังนี้

1.ข้อกำหนดด้านสถานที่ เช่น สถานที่เพาะปลูกต้องมีที่อยู่ที่ตั้งชัดเจน โครงสร้างพื้นที่ต้องจัดทำแนวเขตชัดเจนปิดกั้นทั้ง 4 ด้านของพื้นที่ปลูก สามารถป้องกันการเข้าถึงของบุคคลภายนอก จำกัดจำนวนประตูเข้าออกพื้นที่และประตูควรทำจากวัสดุที่แข็งแรงทนทาน มีการจัดทำป้ายแสดงว่าเป็นสถานที่ผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 และมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ชอบด้วยกฎหมายหรือหนังสือให้ความยินยอมจากผู้ให้เช่าหรือผู้ให้ใช้ที่ดิน (กรณีขอเช่าหรือขอใช้ที่ดินของบุคคลอื่น)

2.ข้อกำหนดด้านการรักษาความปลอดภัย เช่น ภายในพื้นที่ปลูกรวมทั้งบริเวณประตูทางเข้าออกมีระบบกล้องวงจรปิด โดยจัดให้มีการสำรองไฟล์ข้อมูลในอุปกรณ์รูปแบบอื่น ๆ ได้ไว้อย่างน้อย 6 เดือน มีระบบรักษาความปลอดภัยในการผ่านเข้าออกพื้นที่เช่นกุญแจล็อคเปิดปิด เครื่องทาบบัตร เครื่องสแกนลายนิ้วมือ และกำหนดบัญชีรายชื่อบุคคลผู้ที่มีสิทธิ์เข้าออกพื้นที่ รวมทั้งรายชื่อบุคคลผู้รับผิดชอบ พร้อมช่องทางการติดต่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

3.ข้อกำหนดด้านการเก็บรักษา เช่น จัดเตรียมสถานที่ที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ผลผลิตที่ได้หลังจากการเก็บเกี่ยว และส่วนที่เหลือของกัญชาเพื่อรอการทำลาย โดยมีการแยกเก็บเป็นสัดส่วนไม่ปะปนกับวัสดุอื่น ๆ พร้อมทั้งกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบเฉพาะในการควบคุมสถานที่จัดเก็บ

4.ข้อกำหนดด้านการควบคุมการใช้ เช่น ดำเนินการปลูกกัญชาตามมาตรฐานการปลูกโดยมีรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานิ(SOP) ในการควบคุมการปลูกและการเก็บเกี่ยวจัดให้มีการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ที่ได้มาตรฐานในทุกรอบการเพาะปลูกกัญชา มีการจัดทำบัญชีรับจ่ายและรายงานการดำเนินการตามแบบที่กฎหมายกำหนด รวมถึงมีมาตรการในการควบคุมการขนส่งและการทำลายกัญชา

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>>คลิก<<<