ข่าวMono29 คนจน คนรวย ความเหลื่อมล้ำ มหาเศรษฐี

เปิดอันดับผลงานประเทศที่ลดความเหลื่อมล้ำ คนรวย-คนจน ปี61

จัดอันดับประเทศที่ลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง คนรวย-คนจนได้ดีสุดไปจนถึงแย่สุด ในปี 2561 เดนมาร์กครองแชมป์ทำงานได้ดีที่สุดในโลก รายงานดัชนีพันธกรณีลดความเหลื่อมล้ำ (The Commitment to Reducing Inequality Index-CRI) ของกลุ่มอ๊อกซ์แฟมที่เผยแพร่เมื่อปลายปีที่แล้ว ได้จัดอันดับประเทศที่ทำผลงานได้ดีสุดไปจนถึงแย่สุด โดยมุ่งเน้นผลงานของรัฐบาลใน…

Home / NEWS / เปิดอันดับผลงานประเทศที่ลดความเหลื่อมล้ำ คนรวย-คนจน ปี61

จัดอันดับประเทศที่ลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง คนรวย-คนจนได้ดีสุดไปจนถึงแย่สุด ในปี 2561 เดนมาร์กครองแชมป์ทำงานได้ดีที่สุดในโลก

รายงานดัชนีพันธกรณีลดความเหลื่อมล้ำ (The Commitment to Reducing Inequality Index-CRI) ของกลุ่มอ๊อกซ์แฟมที่เผยแพร่เมื่อปลายปีที่แล้ว ได้จัดอันดับประเทศที่ทำผลงานได้ดีสุดไปจนถึงแย่สุด โดยมุ่งเน้นผลงานของรัฐบาลใน 3 เรื่อง คือ การใช้จ่ายด้านสังคม ภาษี และสิทธิแรงงาน

ประเทศที่ทำผลงานได้ดีที่สุดจากทั้งหมด 157 ประเทศ คือ เดนมาร์ก ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องนโยบายภาษี การใช้จ่ายด้านสังคม และการปกป้องแรงงาน ซึ่งเดนมาร์กปกป้องสิทธิแรงงานหญิงในที่ทำงานได้ดีที่สุดในโลก ส่วนอันดับ 2-10 ได้แก่ เยอรมนี ฟินแลนด์ ออสเตรีย นอร์เวย์ เบลเยียม สวีเดน ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก

ขณะที่ 10 อันดับจากท้ายตารางไล่จากอันดับ 157 มาถึง 148 ได้แก่ ไนจีเรีย อุซเบกิสถาน เฮติ ชาด เซียร์ราลีโอน ภูฏาน มาดากัสการ์ ลาว สิงคโปร์ และบังกลาเทศ โดยประเทศเหล่านี้ขาดการเอาจริงเอาจังที่จะลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนและคนรวย

สิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่ร่ำรวยแต่กลับทำผลงานเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำได้ไม่ดี แม้สิงคโปร์จะปรับขึ้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาร้อยละ 2 แต่อัตราสูงสุดสำหรับกลุ่มที่มีรายได้สูงสุดก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 22 ส่วนเม็ดเงินใช้จ่ายด้านสังคมก็ไม่สูงนัก

โดยงบประมาณร้อยละ 39 ถูกจัดสรรให้ด้านการศึกษา สาธารณสุข และการปกป้องสังคม เทียบกับเกาหลีใต้อยู่ที่ร้อยละ 50 ขณะที่การจ่ายค่าจ้างระหว่างเพศหญิงและชายก็ไม่เท่าเทียม และไม่มีกฎหมายห้ามเลือกปฏิบัติต่อเพศหญิงด้วย สำหรับประเทศที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดในการลดความเหลื่อมล้ำ คือ เกาหลีใต้ นามิเบีย และอุรุกวัย

อย่างกรณีของเกาหลีใต้ ประธานาธิบดีมูน แจ อิน ได้เพิ่มอัตราภาษีที่จัดเก็บจากคนรวย รวมทั้งเพิ่มเม็ดเงินสำหรับคนยากจน และปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ทำผลงานเรื่องนี้ได้ดีสุดในภูมิภาคเอเชีย โดยอยู่ในอันดับ 11