วาทะที่สร้างความเกลียดชัง เฮทสปีช

วาทะที่สร้างความเกลียดชัง กับผลกระทบต่อสังคม

วาทะที่สร้างความเกลียดชัง หรือ “เฮทสปีช” กลายเป็นการโจมตีกลุ่มคนที่เห็นต่างภายใต้ฐานความอคติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเราอาจจะได้เห็นแฮทแท็กต่างๆ ในทวิตเตอร์ที่ค่อนข้างร้อนแรงสำหรับเรื่องราวในแวดวงการเมือง ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าอาจเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในรูปแบบของ “เฮทสปีช ” หรือ วาทะที่สร้างความเกลียดชังได้ คำจำกัดความที่ใช้เรียกแทนผู้เห็นต่างจากเพียงคำพูดที่เคยเป็นการกล่าวถึงกัน ถูกพัฒนามาใช้อย่างกว้างขวางในรูปแบบต่างๆ บนสังคมออนไลน์ในยุคที่เทคโนโลยีเป็นสิ่งใกล้ตัวของมนุษย์มากที่สุด…

Home / NEWS / วาทะที่สร้างความเกลียดชัง กับผลกระทบต่อสังคม

ประเด็นน่าสนใจ

  • รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นิยามคำว่าวาทะที่สร้างความเกลียดชัง เป็นความเกลียดชังที่อยู่ภายในใจของแต่ละบุคคล

วาทะที่สร้างความเกลียดชัง หรือ “เฮทสปีช” กลายเป็นการโจมตีกลุ่มคนที่เห็นต่างภายใต้ฐานความอคติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคม

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเราอาจจะได้เห็นแฮทแท็กต่างๆ ในทวิตเตอร์ที่ค่อนข้างร้อนแรงสำหรับเรื่องราวในแวดวงการเมือง ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าอาจเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในรูปแบบของ “เฮทสปีช ” หรือ วาทะที่สร้างความเกลียดชังได้

คำจำกัดความที่ใช้เรียกแทนผู้เห็นต่างจากเพียงคำพูดที่เคยเป็นการกล่าวถึงกัน ถูกพัฒนามาใช้อย่างกว้างขวางในรูปแบบต่างๆ บนสังคมออนไลน์ในยุคที่เทคโนโลยีเป็นสิ่งใกล้ตัวของมนุษย์มากที่สุด ซึ่งบางคำพูดถูกใช้เป็นการยุยงจนกลายเป็น “เฮทสปีช” หรือ วาทะสร้างความเกลียดชัง

ดร.ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อธิบายความหมายของคำ “เฮทสปีช” อย่างเข้าใจง่ายว่า เป็นความเกลียดชังที่อยู่ภายในใจของแต่ละบุคคล ถูกถ่ายทอดผ่านการสื่อสาร และกลายเป็นการโจมตีกลุ่มคนที่เห็นต่างภายใต้ฐานความอคติ

“เฮทสปีช” แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การแสดงความเกลียดชังอย่างไม่มีวัตถุประสงค์ และไม่ตั้งใจ ขั้นที่ 2 โน้มน้าวใจให้ผู้อื่นเกลียดชังกลุ่มเป้าหมายโดยการลดคุณค่าในสายตาผู้อื่น และขั้นที่ 3 เป็นการโน้มน้าวหรือยั่วยุให้มีการใช้ความรุนแรงไปจนถึงการขับไล่ให้ไม่มีที่ยืนในสังคม

ภายใต้สังคมประชาธิปไตย การใช้สิทธิ์ในการโต้แย้งพูดคุยอย่างมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้น

ด้านมุมมองความคิดจากคนรุ่นใหม่มองว่า ในปัจจุบันสังคมออนไลน์ได้ถูกใช้เป็นพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางมากขึ้น จนในบางครั้งบางข้อความ หรือ บางคำพูดกลายเป็นสิ่งที่ทำร้ายผู้อื่นทั้งจากความตั้งใจ และไม่ตั้งใจ

นอกจากวาทะที่สร้างความเกลียดชังทางการเมืองที่ถูกพูดถึงเป็นวงกว้างแล้ว ในการชีวิตในสังคมยังมีวาทะสร้างความเกลียดชังในด้านอื่นๆ อีกมากที่สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้น อาทิ ปัจจัยทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และสีผิว การยอมรับในความต่างจึงเป็นอีกหนึ่งจุดร่วมที่ทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้