กระดาษกรอง สัตว์ทะเล

วิจัยออสเตรเลียชี้ ‘กระดาษกรอง’ ช่วยเผยสายพันธุ์สัตว์ทะเล

องค์การวิจัยฯ ของออสเตรเลีย ระบุ กระดาษกรองเซลลูโลสที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร สามารถตรวจจับร่องรอยดีเอ็นเอของพืชและสัตว์ที่หลงเหลืออยู่ในสิ่งแวดล้อม

Home / NEWS / วิจัยออสเตรเลียชี้ ‘กระดาษกรอง’ ช่วยเผยสายพันธุ์สัตว์ทะเล

ประเด็นน่าสนใจ

  • องค์การวิจัยฯ ของออสเตรเลีย ระบุ กระดาษกรองเซลลูโลสที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร สามารถตรวจจับร่องรอยดีเอ็นเอของพืชและสัตว์ที่หลงเหลืออยู่ในสิ่งแวดล้อม
  • ช่วยให้เรารู้ล่วงหน้าถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้
  • แค่นำกระดาษกรองไปจุ่มลงในมหาสมุทร

แคนเบอร์รา, 23 ก.พ. (ซินหัว) — วันอังคาร (23 ก.พ.) องค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพของออสเตรเลีย (CSIRO) เผยแพร่งานวิจัยที่ระบุว่ากระดาษกรองเซลลูโลสที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร สามารถตรวจจับร่องรอยดีเอ็นเอของพืชและสัตว์ที่หลงเหลืออยู่ในสิ่งแวดล้อมหรืออีดีเอ็นเอ (eDNA)

ซินดี้ เบสซีย์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลจากแพลตฟอร์มวิทยาศาสตร์แห่งอนาคตด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การฯ ระบุว่ากระดาษชนิดดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีขั้นต่ำในการตรวจสอบสิ่งมีชีวิตตามแนวปะการังและอุทยานทางทะเล และช่วยให้เรารู้ล่วงหน้าถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้

ก่อนหน้านี้การเก็บอีดีเอ็นเอจำเป็นต้องใช้ปั๊มชนิดพิเศษเพื่อกรองตัวอย่าง แต่กระดาษชนิดดังกล่าวเป็นวิธีที่รุนแรงน้อยกว่าการลากอวน และปลอดภัยมากกว่าการให้นักดำน้ำประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ

“วิธีใหม่ของเราแสดงให้เห็นว่าไม่จำเป็นต้องกรองน้ำทะเลเพื่อเก็บอีดีเอ็นเออีกต่อไป ซึ่งช่วยลดระยะเวลาและเป็นตัวเลือกสำหรับบางพื้นที่หากอุปกณ์และพลังงานมีอยู่จำกัด” เบสซีย์กล่าว “งานวิจัยหลายชิ้นเกี่ยวกับการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพหรือการกระจายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต จำเป็นต้องมีตัวอย่างมากกว่านี้หากต้องกรองอีดีเอ็นเอจากน้ำทะเล”

ทีมนักวิจัยเก็บตัวอย่างจากพื้นที่ทางทะเลที่แตกต่างกัน 2 แห่ง นอกชายฝั่งของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย โดยออลลี เบอร์รี ผู้อำนวยการแพลตฟอร์มฯ กล่าวว่า “ผลการวิจัยนั้นน่าทึ่งมาก” ซึ่งมีการเปิดให้ประชาชนเข้าชมตัวอย่างเสมือนจริงของสิ่งมีชีวิตที่เราตรวจพบ รวมถึงลำดับอีดีเอ็นเอที่เราได้ระหว่างการวิจัยนี้

เบอร์รีทิ้งท้ายว่าเป็นเรื่องน่าทึ่งที่เราสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพได้มากมาย แค่นำกระดาษกรองไปจุ่มลงในมหาสมุทร

ที่มา : Xinhua