ประเด็นน่าสนใจ
- ประวัติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เปิดประวัติ พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 หรือที่รู้จักกันในนาม บิ๊กตู่ ได้เดินทางเข้าสู่รั้วทหาร ที่ โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12 และนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ “ทหารเสือราชินี” จากนั้นได้เติบโตในสายงาน เรื่อยมา
โดยดำรงตำแหน่งเสนาธิการ รองผู้บังคับการ จนไปถึงผู้บังคับการกรม จนได้ย้ายไปรับตำแหน่ง รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ หรือในนาม “บูรพาพยัคฆ์” และพัฒนาสายงานอย่างต่อเนื่องจนเป็น รองแม่ทัพภาคที่ 1
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2553 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ได้มีกำหนดเกษียณอายุราชการ ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีความสนิทสนมมากที่สุด ได้ขึ้นมารับตำแหน่ง เป็นผู้บัญชาการทหารบก ต่อจาก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา
ตลอดระยะการทำงาน ผู้บัญชาการทหารบกได้ผ่านเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองมากมาย จนกระทั่งการชุมนุมของ กปปส. นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่มีการชุมนุมยืดเยื้อยาวนานมากว่า 6 เดือน ได้มีการเรียกร้องให้ทหารแสดงจุดยื่น แต่ พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้แสดงจุดยื่นและ หน้าที่ของทหารอย่างเป็นกลาง
จนกระทั่งวันที่ 15 พฤษภาคม 2557 พล.อ.ประยุทธ์ ได้แถลงการณ์ 7 ข้อ ระบุถึงสถานการณ์ที่มีแนวโน้มการเกิดจลาจล ทำให้ทหารต้องออกมาระงับอย่างเต็มรูปแบบ และได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ทั่วราชอาณาจักร เพื่อรักษาความสงบ และจัดตั้ง กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ขึ้นมาดูแลสถานการณ์ เพื่อเป็นตัวกลางในการนำผู้ขัดแย้งมาหาทางออกให้กับประเทศ แต่สุดท้ายก็หาข้อสรุปไม่ได้
ทำให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศยึดอำนาจจัดตั้งคสช.เพื่อบริหารประเทศ จากนั้นได้มีการกำหนดแผนโรดแมป 3 ขั้นและให้มีการจัดตั้ง สนช.เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีเพื่อบริหารประเทศ จนในที่สุด วันที่ 21 ส.ค. สภานิติบัญญัติ หรือ สนช.ได้มีมติเอกฉันท์เลือก พล.อประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่29
ล่าสุด หลังการเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค. 2562 วันนี้การประชุมรัฐสภา เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทยในวันนี้ ซึ่งสมาชิกรัฐสภาขานชื่อลงมติเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตจากพรรคพลังประชารัฐ เป็น นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย โดยได้คะแนนเสียง 500 เสียง แซงหน้า นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ แคนดิเดตชิงนายกรัฐมนตรีจาก 7 พรรคร่วมฝ่ายประชาธิปไตยที่ได้คะแนนเสียง 244 เสียง