คดีหวยบนดิน ศาลฎีกา

จำคุก “ทักษิณ ชินวัตร” 2 ปี ในคดีออกหวยบนดิน โดยมิชอบ เมื่อปี 46

วันนี้ (6 มิ.ย. ) ศาลฎีา แผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้อ่านคำพิพากษาในคดีโครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว หรือที่ส่วนใหญ่ รู้จักในชื่อของ “หวยบนดิน”…

Home / NEWS / จำคุก “ทักษิณ ชินวัตร” 2 ปี ในคดีออกหวยบนดิน โดยมิชอบ เมื่อปี 46

ประเด็นน่าสนใจ

  • ศาลฎีกาฯ ตัดสินจำคุก ทักษิณ ชินวัตร 2 ปี ไม่รอลงอาญา
  • ฐานความผิดตามมาตรา 157
  • โดยการออกหวยบนดินนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. สำนักงานสลากฯ โดยมิได้มีการแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน

วันนี้ (6 มิ.ย. ) ศาลฎีา แผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้อ่านคำพิพากษาในคดีโครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว หรือที่ส่วนใหญ่ รู้จักในชื่อของ “หวยบนดิน” ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ระหว่างปี 2546 – 2549

โดยในคดีนี้ นายทักษิณ ชินวัตรเป็นจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอีก 46 คน ได้ร่วมกันกระทำการออกสลากพิเศษ เลขท้าย 2 ตัว และ 3 ตัว โดยมิชอบ หลังจากนั้นในปี 2551 นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ได้มีคำสั่งให้ จำหน่ายคดีจำเลยที่ 1 ไว้ชั่วคราวเนื่องจากหลบหนี

ต่อมาในปี 2561 ปปช. ได้ยื่นคำร้องให้นำคดีดังกล่าวกลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง หลังจากมีการแก้ไข พ.ร.ป. ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการรื้อฟื้นคดีที่ได้มีการจำหน่วยไว้ชั่วคราว กลับมาพิจารณาใหม่ได้

ศาลฯ วินิจฉัย จำเลยมีความผิดตามฟ้อง

ในคดีนี้ ศาลฎีกาฯ ได้มีคำวินิจฉัยว่า จำเลย (นายทักษิณ ชินวัตร) ทราบอยู่ก่อนแล้วว่า การออกสลากหวยบนดินนั้น เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และยังปรากฎข้อเท็จจริงว่า ได้มีการสั่งให้ จำเลยร่วมในคดี ซึ่งมีผอ.สำนักงานสลากกินแบ่งในขณะนั้นร่วมอยู่ด้วย ดำเนินการออกสลากหวยบนดิน โดยเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลพ.ศ. ๒๕๑๗ เพราะไม่อยู่ในวัตถุประสงค์ของสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

อีกทั้งการอนุมัติให้ดำเนินการออกสลากหวยบนดินนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ จึงตัดสินให้จำคุก นายทักษิณ ชินวัตร เป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ตามความผิด ป.อาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83

เกี่ยวกับ พ.ร.ป. ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐

มาตรา ๓๑

การพิจารณาและไต่สวนพยานหลักฐานให้กระทําโดยเปิดเผย เว้นแต่มีความจําเป็น เพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะสําคัญ ให้ศาลมีคําสั่งให้พิจารณาเป็นการลับได้ เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปโดยไม่ชักช้า ศาลมีอํานาจไต่สวน พยานหลักฐานลับหลังจําเลยได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) จําเลยไม่อาจมาฟังการไต่สวนพยานหลักฐานได้เนื่องจากความเจ็บป่วยหรือมีเหตุจําเป็นอื่น อันมิอาจก้าวล่วงได้ เมื่อจําเลยมีทนายและจําเลยได้รับอนุญาตจากศาลที่จะไม่มาฟังการพิจารณา และสืบพยาน
(๒) จําเลยเป็นนิติบุคคลและศาลได้ออกหมายจับผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นแล้ว แต่ยังจับตัวมาไม่ได้
(๓) จําเลยอยู่ในอํานาจศาลแล้วแต่ได้หลบหนีไปและศาลได้ออกหมายจับแล้วแต่ยังจับตัว มาไม่ได้
(๔) ในระหว่างพิจารณาหรือไต่สวน ศาลมีคําสั่งให้จําเลยออกจากห้องพิจารณาเพราะเหตุขัดขวาง การพิจารณา หรือจําเลยออกไปจากห้องพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
(๕) จําเลยทราบวันนัดแล้วไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์ แห่งความยุติธรรมจําเป็นต้องไต่สวนพยานหลักฐานใดในนัดนั้นโดยไม่เลื่อนคดี

กรณีตาม (๓) ในกรณีที่ต้องมีการส่งหนังสือ คําสั่ง หรือหมายอาญาของศาลให้ส่งไปยังทนายความ ของจําเลยแทน

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐