ฮุนเซน แสดงความไม่พอใจ กรณีผู้นำสิงคโปร์โพสต์ไว้อาลัย ‘ป๋าเปรม’ พาดพิงเวียดนามบุกกัมพูชา
จากกรณีที่ นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Lee Hsien Loong ถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความไว้อาลัย พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ที่ได้ถึงแก่อสัญกรรมไปเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2562 โดยข้อความในช่วงหนึ่งได้มีการพาดพิงถึงเวียดนามว่า
ความเป็นผู้นำของ พล.อ. เปรม ได้ประโยชน์ต่อภูมิภาค ร่วมกันเพื่อต่อต้านการบุกรุกของเวียดนามและรัฐบาลกัมพูชาที่ขึ้นมาทำหน้าที่แทนเขมรแดง ประเทศไทยอยู่บนการเผชิญหน้ากับกองกำลังของเวียดนามที่ข้ามพรมแดนเข้ามาในกัมพูชา พล.อ. เปรม ไม่ยอมรับ และทำงานกับอาเซียนเพื่อต่อต้านการบุกรุกของเวียดนาม
จากการโพสต์ของนายลี เซียนลุง สร้างความไม่พอใจให้กับเวียดนามและได้ออกแถลงการณ์ระบุว่าข้อความดังกล่าวไม่สะท้อนประวัติศาสตร์ออกมาอย่างรอบด้าน ทำให้สาธารณะมีความเห็นเชิงลบต่อเวียดนาม ขณะที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2562 สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ยังได้โพสต์ถึงกรณีดังกล่าวอีกว่า
รู้สึกเสียใจอย่างยิ่งที่ นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กในวันที่ 31 พฤษภาคม แสดงความเสียใจต่อ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งเขากล่าวว่า พลเอกเปรม ในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกับสมาชิกอาเซียน (ขณะนั้นมีอยู่ 5 ประเทศ) มาร่วมกันเพื่อต่อต้านการรุกรานกัมพูชาของเวียดนามและรัฐบาลกัมพูชาที่เข้ามาแทนที่เขมรแดง
คำแถลงของเขาสะท้อนให้เห็นถึงตำแหน่งของสิงคโปร์ในเวลานั้น เพื่อสนับสนุนระบอบการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และความปรารถนาที่จะกลับคืนสู่กัมพูชา สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพการประชุมไตรภาคีที่นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลผสมของประชาธิปไตยกำพปูชาซึ่งได้ยืดเยื้อสงครามและความทุกข์ทรมานของชาวกัมพูชาอีก 10 ปี
เป็นการกระทำต่อการอยู่รอดของชาวกัมพูชา คำพูดของเขายังเป็นการดูถูกการเสียสละของอาสาสมัครทหารเวียดนามที่ช่วยในการปลดปล่อยกัมพูชาจากระบอบการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คำแถลงของเขาเปิดเผยต่อชาวสิงคโปร์และโลกที่ผู้นำของสิงคโปร์มีส่วนในการสังหารหมู่ชาวกัมพูชาอย่างแท้จริง ในที่สุดฉันจะถามว่า นายลี เซียนลุง พิจารณาคดีของผู้นำเขมรแดงอย่างถูกกฎหมายหรือไม่
ความเป็นมาเวียดนามบุกกัมพูชา
เป็นความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและกัมพูชาประชาธิปไตย เริ่มขึ้นด้วยการปะทะตามพรมแดนทางบกและทางทะเลของเวียดนามและกัมพูชาระหว่าง พ.ศ. 2518 ถึง 2520 ต่อมาในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2521 เวียดนามเริ่มปฏิบัติการรุกรานกัมพูชาเต็มขั้นและยึดครองประเทศได้หลังล้มล้างรัฐบาลเขมรแดง
ในช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 เวียดนามได้เริ่มรุกรานกัมพูชาโดยข้ามเส้นเขตแดนเข้าไปโจมตีกัมพูชา แม้ว่ากัมพูชาจะได้รับความช่วยเหลือจากจีนก็สู้เวียดนามไม่ได้ ในท้ายที่สุดวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2521 เวียดนามได้รุกรานเข้าสู่กัมพูชาเต็มรูปแบบโดยใช้ทหาร 150,000 คนและใช้กองทัพอากาศสนับสนุนกองทัพปฏิวัติกัมพูชาสามารถต้านทานกองทัพเวียดนามได้เพียงสองสัปดาห์ ก็พ่ายแพ้
กองทัพฝ่ายเขมรแดงถอยทัพไปทางตะวันตกของกัมพูชา ในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2522 กองทัพเวียดนามเข้าสู่พนมเปญได้ พร้อมกับสมาชิกแนวร่วมประชาชาติฯ และได้จัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาโดยเฮง สัมรินเป็นประมุขรัฐ และแปน โสวัณเป็นเลขาธิการทั่วไปของพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา
เขมรแดงนำโดย เลขาธิการทั่วไปของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา อดีตพรรคการเมืองของกัมพูชาบุกเวียดนามและสังหารชาวเวียดนามนับหมื่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตามการร้องขอของนักปฏิวัติชาวกัมพูชา ทหารเวียดนามได้เดินขบวนไปยังกรุงพนมเปญในเดือนมกราคม พ.ศ. 2522 ในระหว่างการต่อต้านชายแดนทางตะวันตกเฉียงใต้เพื่อปลดปล่อยเมืองหลวงจากระบอบการปกครองของเขมรแดง
พล.อ.เปรม กับเหตุการณ์เวียดนามบุกไทย
เหตุปะทะชายแดนไทย-เวียดนามเกิดขึ้นเมื่อกำลังทหารเวียดนามบุกเข้ากัมพูชาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2521 เพื่อล้มล้างระบอบเขมรแดง กำลังทหารกัมพูชาส่วนใหญ่ได้อพยพมาอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศที่ติดกับชายแดนไทย โดยมีกลุ่มชาวกัมพูชาที่ต่อต้านการยึดครองของเวียดนาม
ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2523 เวียดนามได้ส่งกองกำลังมากกว่า 2 กองร้อยล้ำเข้ามาในดินแดนไทยเข้าโจมตี การปะทะกันดังกล่าวก่อให้เกิดการบาดเจ็บและล้มตายทังสองฝ่าย จากนั้นกองทัพเวียดนามและกำลังของของเฮง สัมริน ล่วงเข้าดินแดนไทยลึก 500 เมตร ที่หมู่บ้านสะแดง อำเภอตราพระยา จังหวัดปราจีนบุรี และได้ปะทะกับทหารไทย ทำให้ทหารไทยบาดเจ็บเสียชีวิตอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2529
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 เมื่อ 23 เมษายน พ.ศ. 2523 ใจความสำคัญคือใช้การเมืองนำการทหารมุ่งเน้นขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคม และปฏิบัติต่อผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์หรือผู้หลงผิดที่เข้ามอบตัว หรือที่จับได้อย่างเพื่อนประชาชนร่วมชาติ ชี้แจงเพื่อให้ได้เข้าใจถึงนโยบายของรัฐบาลในปัญหานี้อย่างถ่องแท้ช่วยเหลือให้ใช้ชีวิตใหม่ร่วมกันต่อไปในสังคมอย่างเหมาะสม
คำสั่งนี้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากท่าทีทหารสายแข็งที่ดำเนินมาแต่รัฐบาลฝ่ายขวาธานินทร์ กรัยวิเชียร (ครองอำนาจ 2519 ถึง 2520) มาสู่สายกลางมากขึ้นซึ่งให้ความสำคัญมาตรการทางการเมืองเหนือการปฏิบัติทางทหารอย่างเป็นทางการ
กำหนดให้มีการจัดการความอยุติธรรมทางสังคม และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองและกระบวนการประชาธิปไตย มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมสอดคล้องกับคำสั่งอนุญาตให้ผู้แปรพักตร์ผละขบวนการก่อการกำเริบ ซึ่งเมื่อประกอบกับการเสื่อมลงของการสนับสนุนจากต่างชาติ นำไปสู่การเสื่อมลงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ที่มา Samdech Hun Sen, Cambodian Prime Minister
ที่มา wikipedia