ข่าวสดวันนี้ รถไฟความเร็วสูง

เตรียมเสนอโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา”

การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมนำโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” เสนอที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอนุมัติการดำเนินโครงการปลายเดือนนี้ นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3…

Home / NEWS / เตรียมเสนอโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา”

ประเด็นน่าสนใจ

  • การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมนำโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” เสนอที่ประชุมฯ
  • ระยะทางในโครงการราว 220 กิโลเมตร คิดเป็นวงเงิน 224,544 ล้านบาท
  • จะมีการลงนามกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ผู้ชนะการประมูล

การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมนำโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” เสนอที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอนุมัติการดำเนินโครงการปลายเดือนนี้

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กิโลเมตร วงเงิน 224,544 ล้านบาท ว่า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา คณะกรรมการผู้ชำนาญการ หรือ คชก. เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA โครงการดังกล่าวแล้ว และในวันที่ 24 มิถุนายนนี้ จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มีพลเอก ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน

คาดว่าจะลงนามกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ผู้ชนะการประมูล ได้ไม่เกินต้นเดือนกรกฎาคมนี้ จากเป้าหมายที่คณะกรรมการอีอีซี (กพอ.) คาดไว้ ว่าจะลงนามสัญญาได้ในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ นั้นต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข EIA จะต้องได้รับอนุมัติก่อนตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 14 มิถุนายนนี้ คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะหารือกับกลุ่มซีพีฯ เรื่องการส่งมอบพื้นที่ ตั้งแต่ดอนเมือง -อู่ตะเภา โดยเฉพาะเรื่องการบุกรุกพื้นที่ พื้นที่เช่า พื้นที่ทับซ้อนกับโครงการรถไฟไทย-จีน รถไฟไทย-ญี่ปุ่น และช่วงสถานีจิตรลดา ที่เป็นคลองแห้ง ทับซ้อนกับสายสีแดง การรื้อย้ายเสาตอม่อโฮปเวลล์ เป็นต้น ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการจัดการ ก่อนส่งมอบ โดยพื้นที่ มีเวลาส่งมอบให้ภายใน 5 ปี