น้ำขังรอการระบาย น้ำท่วม วิธีแก้น้ำท่วม

เปิดแผนรับมือน้ำท่วมกรุง เล็งทำธนาคารน้ำใต้ดิน แก้ปัญหาระยะยาว

ช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเต็มตัว แน่นอนว่าปัญหาที่จะตามมาก็คือ น้ำท่วมขังในจุดอ่อนทั่วเมืองหลวง ทำให้กรุงเทพมหานครต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ทั้งนี้ ฝนตก น้ำท่วม และ การจราจรติดขัดหลายชั่วโมงต่อเนื่อง กลายเป็นสถานการณ์ที่คนกรุงเทพฯ ต้องเผชิญซ้ำซากทุกปีในช่วงฤดูฝน แม้ว่าที่ผ่านมากรุงเทพมหานครจะพยายามแก้ไขปัญหา ทั้งแบบเฉพาะหน้าและการวางแผนระยะยาวก็ตาม แต่ภาพสะท้อนที่เห็นได้ชัดเจน…

Home / NEWS / เปิดแผนรับมือน้ำท่วมกรุง เล็งทำธนาคารน้ำใต้ดิน แก้ปัญหาระยะยาว

ช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเต็มตัว แน่นอนว่าปัญหาที่จะตามมาก็คือ น้ำท่วมขังในจุดอ่อนทั่วเมืองหลวง ทำให้กรุงเทพมหานครต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน

ทั้งนี้ ฝนตก น้ำท่วม และ การจราจรติดขัดหลายชั่วโมงต่อเนื่อง กลายเป็นสถานการณ์ที่คนกรุงเทพฯ ต้องเผชิญซ้ำซากทุกปีในช่วงฤดูฝน แม้ว่าที่ผ่านมากรุงเทพมหานครจะพยายามแก้ไขปัญหา ทั้งแบบเฉพาะหน้าและการวางแผนระยะยาวก็ตาม

แต่ภาพสะท้อนที่เห็นได้ชัดเจน คือ เหตุการณ์ช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา หลายพื้นที่เกิดน้ำรอระบาย ซึ่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ได้ออกมาชี้แจ้งว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เกิดจากระบบไฟฟ้าในอุโมงค์ระบายน้ำบางซื่อขัดข้อง และไม่มีระบบปั่นไฟสำรอง จึงทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ในช่วงเวลานั้น ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขอน้อมรับทุกคำวิพากษ์วิจารณ์ และพร้อมจะเดินหน้าแก้ไขปัญหาเพื่อคนกรุงจนกว่าจะหมดวาระ

สำหรับแนวทางเร่งด่วนในการแก้ไขจุดบกพร่องที่อุโมงค์ระบายน้ำบางซื่อ พลตำรวจเอกอัศวิน เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาและจัดหาเครื่องปั่นไฟสำรอง กำลังไฟสูง 6,600 โวลต์ เพื่อป้องกันปัญหาไฟตก ไฟดับในอนาคต และประสานเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงให้เตรียมพร้อมแก้ไขสถานการณ์ในช่วงฝนตกหนักตลอด 24 ชั่วโมง

นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างที่เป็นมาตการระยะยาวแก้ปัญหาฝนถล่ม คือ ธนาคารน้ำใต้ดิน หรือ วอเตอร์แบงค์ ซึ่งเป็นบ่อรับน้ำใต้ดินความลึก 11 เมตร ใช้ระบบแก้มลิงกักเก็บน้ำ โดยหลังจากฝนหยุดตก ระบบสูบน้ำขนาด 1.25 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะสูบน้ำจากบ่อลงคลองใกล้เคียง และการก่อสร้างท่อระบายน้ำด้วยการดันท่อลอด หรือ pipe jacking 14 โครงการ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ 1 โครงการ อีกทั้งการทำพื้นที่แก้มลิง 26 แห่งทั่วกรุงเทพ

ส่วนแผนระยะสั้น คือการขุดลอกทำความสะอาดคูคลอง / การติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ /การซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำให้พร้อมใช้งาน อย่างไรก็ตาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุว่า สถิติจุดอ่อนน้ำท่วมปี 2561 ลดลงจาก 17 จุด เหลือ 14 จุด แต่หากโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปีหน้า เชื่อว่าจุดอ่อนน้ำท่วมซ้ำซากจะค่อยๆ คลี่คลายลง