กสทช. เพิ่มขีดความสามารถ 1414 Plus
โทรคมนาคมเพื่อคนตาบอดและผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งฟังค์ชั่นการใช้งานและแอพพลิเคชั่น
บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคทุกรูปแบบ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ สำนักงาน กสทช. ได้สนับสนุนการนำเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมมาพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อส่งเสริมให้คนตาบอดและผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลและพัฒนาตนเองผ่านโครงข่ายโทรคมนาคมโดยคำนึงถึงรูปแบบของสื่อและช่องทางบริการที่คนตาบอดและผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์จะสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้โดยสะดวกซึ่งให้บริการข้อมูลข่าวสาร จำนวน 4 ช่องทางบริการ
- บริการ 1414 สายด่วนข่าวสารความรู้
- บริการ Tab2Read ห้องสมุดหนังสือเสียงออนไลน์
- บริการ Tab Radio วิทยุบริการการอ่าน
- บริการเสียงบรรยายภาพ (Audio Description : AD)
โดยได้พัฒนาระบบเพื่อเพิ่มศักยภาพของทุกบริการได้แก่ มีการนำระบบ VoIP เข้ามาใช้ในบริการสายด่วน1414 แทนระบบเดิมที่ทำงานอยู่บน ISDN มาทำงานบนIP เพื่อรองรับกับบริการใหม่ๆเช่น HD-Voice, WiFi Callingและการขยายบริการในอนาคตออกแบบและพัฒนาฟังก์ชั่นเพิ่มเติมเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นพัฒนาให้ระบบสามารถรองรับเทคโนโลยีและการพัฒนาใหม่ ๆมีความเสถียรปลอดภัยมีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลแบบอัตโนมัติ สำหรับข้อมูลหนังสือ ฐานข้อมูลสมาชิกข้อมูลเชิงสถิติและข้อมูลดิบรวมถึงการดูแลการเชื่อมต่อระหว่างระบบต่าง ๆ ให้สามารถเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีการนำเทคโนโลยี HTML5 เดิมมาใช้งานร่วมกับ CSS3 ในการออกแบบอินเตอร์เฟซและหน้าเว็บในบริการ ห้องสมุดออนไลน์ Tab2Read ปรับปรุงเทคโนโลยีข้อมูลของเว็บไซต์ให้รองรับโปรโตคอล HTTPSทั้งการใช้งานผ่านเว็บ www.TAB2Read.com และแอพพลิเคชั่น TAB2Read Mobile เพื่อรับ-ส่งข้อมูลที่ได้มาตรฐานสากล รองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลหนังสือเสียงแบบ DAISY Online Delivery Protocol version 2.0.2 เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหนังสือเสียงระหว่างห้องสมุด โดยจะมีการทดลองร่วมให้บริการกับห้องสมุดของต่างประเทศที่ให้บริการแก่คนตาบอดด้วยมาตรฐานนี้
ปัจจุบันมีกลุ่มนักเรียนนักศึกษาตาบอดเข้ามาใช้บริการ Tab2read เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนอกจากความต้องการในการใช้บริการตำราเรียน หนังสือทางวิชาการ และหนังสือประเภทต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและยังมีความต้องการในเรื่องของสื่อรูปแบบใหม่ ๆ นอกเหนือจากหนังสือเสียง เช่น สื่ออักษรเบรลล์ที่จะทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงเนื้อหา รายละเอียดและสาระสำคัญของหนังสือบางประเภทโดยเฉพาะหนังสือทางวิชาการ ได้สะดวกกว่าสื่อประเภทหนังสือเสียง จึงได้เพิ่มการจัดให้มีบริการหนังสืออักษรเบรลล์ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์เบรลล์ไฟล์ ผ่านบริการห้องสมุดออนไลน์ tab2read โดยผู้ใช้บริการสามารถนำอิเล็กทรอนิกส์เบรลล์ไฟล์นี้ไปอ่านผ่านเครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์แบบอิเล็กทรอนิกส์ Refreshable braille display หรือนำไปสั่งพิมพ์เป็นฮาร์ทก๊อบปี้ผ่านทางเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ Braille Printer ได้
สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง ในบริการวิทยุบริการการอ่าน Tab Radio เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมจากผู้ฟังสะท้อนปัญหาความต้องการร่วมมือกับองค์กรด้านคนตาบอดในต่างประเทศโดยเฉพาะองค์กรในภูมิภาคอาเซียน เพื่อผลิตและกระจายเสียงรายการในภาคภาษาต่างประเทศเรียนรู้สถานการณ์ ประสบการณ์ บทเรียนตลอดจนความก้าวหน้าของงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอดในต่างประเทศ และเผยแพร่การดำเนินงานและประสบการณ์ของงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอดในประเทศไทยสู่นานาชาติเสริมสร้างความร่วมมือในงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอดระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ
พัฒนา software และ application เพื่อผลิตบริการเสียงบรรยายภาพในรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อผสมอื่นๆ ในบริการเสียงบรรยายภาพ AD of Thailand เพื่อจัดบริการผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น internet website โรงภาพยนตร์ และแหล่งเรียนรู้ทั้งหลาย
นอกจากนี้ยังได้พัฒนาการผลิตสื่อทางเลือกอย่างหนังสือเสียงในระบบ Daisy เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตทั้งในด้านการคัดเลือกเนื้อหาที่เหมาะสม พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และห้องบันทึกเสียงตลอดจนการควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และผลิตสื่ออักษรเบรลล์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Braille)ให้บริการควบคู่ไปกับสื่อประเภทหนังสือเสียงผู้ใช้บริการสามารถนำสื่อประเภท e-Braille ไปแสดงผลผ่านเครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Refreshable Braille Display) ซึ่งต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตหรือพิมพ์เป็นเอกสารอักษรเบรลล์แบบ Hard Copy ผ่านเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ (Braille Embosser, Braille Printer)
ในส่วนของความร่วมมือกับอาสาสมัคร กสทช. ได้อำนวยความสะดวกให้กับอาสาสมัครที่ต้องการจะร่วมผลิตหนังสือเสียงสามารถใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์ในการบันทึกเสียงผ่านแอพพลิเคชั่น Read for the Blind ได้ ซึ่งได้รับความสนใจจากอาสาสมัครเป็นจานวนมาก จึงพัฒนา Read for the Blind เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขยายกาลังการผลิตหนังสือเสียงสำหรับให้บริการต่อไป