ประเด็นน่าสนใจ
- ป.ป.ช. ชี้มูล น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ มีกระทำฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง จากการยืดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิชอบ
- จากถือครองที่ดินเขาสนฟาร์ม ในอ.จอมบึง จ.ราชบุรี
วันนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีการเปิดแถลงกรณีข้อกล่าวของนางสาวปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส. พรรคพลังประชารัฐฯ ว่า มีกระทำฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง จากการยืดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิชอบ โดยในเรื่องนี้มีผู้กล่าวหายื่นเรื่องเข้ามาที่ ป.ป.ช. ซึ่งทางป.ป.ช. เข้าตรวจสอบ พบว่าได้มีนส.ปารีณา ได้ยื่นบัญชีทรัพย์สินก่อนหน้านี้ โดยถือครองที่ดิน 853 ไร่ ในอ.จอมบึง ราชบุรี
โดยนายนิวัติไชย เกษมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงกรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติว่า กรณี นางสาวปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ยืดถือ ครอบครอง และใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐโดยมิชอบดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราณฎรกระทำการอันเป็นการขัดกัน ระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันถือว่าเป็นลักษณะร้ายแรง และกรณีเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกระทำการใดที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ต่อการดำรงค์ตำแหน่ง อันถือว่ามีลักษณะร้ายแรงตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงค์ตำแหน่งในองค์กรอิสระรวมทั้งผู้ว่าตรวจการเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมและองค์กรอิสระ พ.ศ.2561 ข้อ 11 ข้อ 17 ประกอบข้อ 27 วรรคสอง ให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยต่อไป
…
ประเด็นที่ดินเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่
สำหรับพื้นที่ในหมู่ 6 ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี นั้น มีลำดับการประกาศพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ดินที่อยู่ในการครอบครองของน.ส.ปารีณา ดังนี้
- ปี 2512 มีการกำหนดให้เป็นเขตป่าไม้ถาวร
- ปี 2521 กำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน
- ปี 2527 ประกาศกฏกระทรวง ประกาศให้ พื้นที่ป่าสงวนฝั่งซ้ายแม่น้ำภาชี โดยครอบคลุมพท. หมู่ 6 ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี
- 4 พ.ค. 2536 ครม.ให้ป่าไม้ส่งมอบให้กับสำนักงานปฏิรูปที่ดิน (สปก. 4-01 ) เพื่อจัดสรรที่ดินและออกเอกสารสิทธิ์ตามพ.ร.ก.ปฎิรูปที่ดินเท่านั้น
- 1 มี.ค. 2537 ครม. ให้มีการดำเนินการปฏิรูปที่ดิน โดยออกเอกสารสิทธิ์ให้กับเกษตรกรที่มีคุณสมบัติเรื่อยมา (ต้องมีคุณสมบัติเท่านั้น)
- 7 ก.ค. 2537 คปจ. มีประกาศให้เกษตรกรยื่นขอสิทธิ์กับสำนักงานปฏิรูปที่ดิน เพื่อออกเอกสารสิทธิ์ เรื่อยมาตามหลักเกณฑ์
สำหรับที่ดินเขาสนฟาร์ม จากการตรวจสอบพบว่า เป็นพื้นที่ที่ได้รับมอบจากกรมป่าไม้ พบว่า มีประชาชนถือครองพื้นที่ทำกินในพื้นที่ทำกินอยู่ก่อนการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งไม่พบเอกสารการยื่นขอรับสิทธิ์, ครอบครอง ของน.ส.ปารีณา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ที่มีการยึดถือ หรือครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่หมู่ 6 ต.รางบัว
…
- 2554 ที่ดินในพื้นที่ต.รางบัว ได้มีการกำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน โดยสปก.ราชบุรี ได้ปิดประกาศให้เกษตรกรยื่นขอเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ ซึ่งครอบคลุมถึงพท. หมู่ 6 ต.รางบัว ที่น.ส.ปารีณาครอบครองและใช้ประโยชน์ด้วย และได้มีประกาศให้ประชาชนยื่นขอเข้าใช้ประโยชน์เรื่อยมาจนถึงปี 2562 ซึ่งเป็นพื้นที่ครอบคลุมไปถึงบริเวณโรงเรือนเลี้ยงไก่ ของเขาสนฟาร์มด้วย
ซึ่งในประเด็นนี้ พื้นที่ดังกล่าวมีประกาศเป็นพื้นที่ดินของรัฐ มีการประกาศเป็นพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน แม้ว่าจะประกาศให้เป็นพื้นที่ปฏิรูปที่ดินแล้ว แต่ยังถือเป็นพื้นที่ดินของรัฐ และที่ผ่านมา ไม่ปรากฎว่า น.ส. ปารีณา ได้มีการยื่นเอกสารคำขอใช้พื้นที่แต่อย่างใด
ประเด็นการยึดถือครอบครองที่ดิน
ในการตรวจสอบพบว่า 2545 – 2546 พบร่องรอยการทำเกษตรกรรม และอาคารสิ่งปลูกสร้าง โดยนายทวี ไกรคุปส์ ได้เข้ามาครอบครองทำประโยชน์ ทำฟาร์มปศุสัตว์ (เลี้ยงหมู-ไก่) และตั้งแต่ปี2546 นายทวี เป็นคู่สัญญาในการซื้อไฟฟ้า เพื่อประกอบการเลี้ยงสัตว์ ในพท.ดังกล่าว
ต่อมา นางสาวปารีณา ก็ได้เข้ามาเป็นคู่สัญญา ในการซื้อไฟฟ้า เพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์ต่อจากบิดา คือนายทวี ไกรคุปต์ เรื่อยมา
…
ปี 2549 – 2556 อบต.รางบัวได้ทำสำรวจ-จัดเก็บภาษีที่ดิน หรือ ภบท. 5 โดยพื้นที่ดังกล่าวได้มีการออก ภบท.5 จำนวน 29 แปลง ของนางสาวปารีณา นั่นเอง
ปรากฎว่า ในการถือครองภบท. 5 นั้นไม่ใช้เอกสารสิทธิ์ในการครอบครองที่ดิน เป็นเพียงการจัดเก็บภาษีของท้องถิ่น ไม่สามารถแสดงได้ว่า เป็นการแสดงสิทธิครอบครองที่ดินได้ หลังจากนั้นพบว่า มีการกระจายที่ดินให้กับผู้อื่น โดยพบว่า เป็นคนงาน – คนรู้จัก ของน.ส.ปารีณานั่นเอง
หลังจากนั้น 16 มี.ค. 2555 ได้มีการแจ้งเปลี่ยนรายชื่อผู้เสียภาษี และโอนกลับมาเป็นชื่อของนางสาวปารีณา ไกรคุปต์ ทั้งหมด 29 แปลง ซึ่งในจุดนี้ ปปช. ตั้งขอสังเกตุว่าสาเหตุที่ต้องกระจายที่ดินออกไปนั้น เกิดขึ้นหลังจากที่มีการประกาศการปฏิรูปที่ดิน น่าจะมีการเตรียมการสำหรับให้มีการยื่นคำร้อง ขอปฏิรูปที่ดิน เนื่องจากข้อกำหนดของสำนักงานปฏิรูปที่ดิน คือถือครองที่ดิน สปก. ได้ไม่เกินคนละ 50 ไร่ เท่านั้น
พ.ศ.2546 – 2562 นั้น นางสาวปารีณา เป็นผู้ชำระภาษีโรงเรียน-ที่ดิน เพื่อประกอบกิจการเลี้ยงไก่
ปี 2555 – 2563 นางสาวปารีณา ก็เป็นผู้ยื่นเอกสารขอประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสูขภาพ และประกอบกิจการเลี้ยงปศุสัตว์ ทั้งในชื่อส่วนตัวและนิติบุคคล
…
2557 ได้ยกเลิกการเก็บภาษี ภบท.5 เนื่องจากกรมการปกครองแจ้งให้ยกเลิกการเก็บภาษี ภบท. 5 ไม่ถูกต้อง แต่นางสาวปารีณาก็ยังคงมีการครอบครองและประกอบกิจการเลี้ยงไก่เรื่อยมา
หลังจากนั้นนางสาวปารีณา ได้เข้ามาเป็น ส.ส. แต่ยังคงมีการประกอบกิจการ และได้รับรายได้จากการประกอบกิจการดังกล่าว เมื่อมีการตรวจสอบโดยกรมป่าไม้ และ สปก.ราชบุรี ในเดือน พ.ย. 2562 หลังจากที่มีการดำรงตำแหน่ง ส.ส. แล้ว
ในภายหลังนางสาวปารีณา ได้คืนที่ดินให้กับสปก. ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากที่หน่วยงานของรัฐมีการตรวจสอบ รวมถึงหลังจากเข้ารับตำแหน่งส.ส.แล้ว ดังนั้นนางสาวปารีณาได้เข้ารับตำแหน่งหน้าที่ ส.ส.
ประเด็นความผิด
ซึ่งตามพ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรมฯ นั้นที่ได้มีประกาศใช้แล้วในปี 2561 โดยให้มีผลบังคับใช้รวมถึงส.ส. ด้วย
ประเด็นขอพิจารณาว่าผิดจริยธรรมร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงนั้น ได้มีการพิจารณาตามข้อกล่าวหานั้น พบว่า การถือครองที่ดินดังกล่าวนั้น เป็นพื้นที่สปก. เป็นที่ดินของรัฐ ต้องได้รับอนุญาต ซึ่งไม่ปรากฎว่า นางสาวปารีณาไม่ได้ยื่นเอกสารคำร้องไว้แต่อย่างใด
ดังนั้นการครอบครองที่ดินดังกล่าวนั้นถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และเป็นการรบกวนการถือครองที่ดินของรัฐ รวมถึงการที่ผู้ถือครองที่ดินเพิกเฉย ไม่ขอเข้าสู่การปฏิรูปที่ดิน-ส่งมอบที่ดินคืนให้ สปก. โดยกล่าวอ้างสิทธิ ภบท. 5 นั้นถือว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ให้ที่ดินที่มีการยืดถึงครอบครองมีการเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินตามเจตนารมย์ของกฎหมาย เป็นการปิดโอกาสผู้อื่นไม่ให้สามารถขอเข้ารับสิทธิดังกล่าว โดยมุ่งหวังในการประกอบปศุสัตว์
พฤติการดังกล่าวถือเป็นการไม่เคารพกฎหมาย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายกับทรัพยากรธรรมชาติในที่ดินดังกล่าว ประเมินเป็นจำนวนเงินประมาณ 36 ล้านบาทเศษ ในฐานะที่ดำรงตำแหน่งเป็น ส.ส. จำเป็นต้องมีพฤติปฏิบัติตนในการเป็นแบบอย่างที่ดีในการเคารพข้อกฎหมาย มากกว่าการคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ดังนั้นการกระทำดังกล่าวถึงถือว่าเป็นการทำลายความเชื่อมั่นและความศรัทธาของประชาชน
…
คณะกรรมการได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
- พฤติการ เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไข ทั้งที่รู้ว่าตนเองไม่มีสิทธิ ขาดคุณคุณสมบัติ
- เพิกเฉย ไม่ยื่นขอเอกสารเพื่อเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดิน
- ไม่ส่งคืนพื้นที่ให้กับสำนักงานปฏิรูปที่ดิน โดยอ้างสิทธิตาม ภบท.5
- ให้ผู้อื่นถือสิทธิ์ ครอบครองเพื่อกันสิทธิ์ครอบครองไม่ให้ผู้อื่นได้เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว
- มีการถูกดำเนินดคี ตามความผิดในพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ร.บ. น้ำบาดาล พ.ร.บ.ป่าสงานฯ
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เป็นพฤติการเป็นการยึดถือครองที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือ กระทบต่อการดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกร การจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรผู้ยากจน ส่งผลต่อกระทบพื้นที่ป่าไม้ ที่สำคัญ
ดังนั้นจึงถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.มาตรฐานทางจริยธรรม อันมีความผิดร้ายแรง โดยได้เสนอเรื่องต่อศาลฏีกาโดยตรง